PAST 2016
|
EXHIBITIONS
|
DEC
6 -29 December 2016
Art Centre, Silpakorn University (Wang Thapra)
“ภาพพิมพ์ประวัติศาสตร์ 3 มหาราช แห่งกรุงรัตนโกสินทร์”
จัดโดย ภาควิชาภาพพิมพ์ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
“The Historical Art Prints of Three Great Kings of Rattanakosin”
Organized by Graphic Arts Department, the Faculty of Painting, Sculpture and Graphic Arts, Silpakorn University
Art Centre, Silpakorn University (Wang Thapra)
“ภาพพิมพ์ประวัติศาสตร์ 3 มหาราช แห่งกรุงรัตนโกสินทร์”
จัดโดย ภาควิชาภาพพิมพ์ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
“The Historical Art Prints of Three Great Kings of Rattanakosin”
Organized by Graphic Arts Department, the Faculty of Painting, Sculpture and Graphic Arts, Silpakorn University
OCT
|
|
SEP
|
|
8 – 25 กันยายน 2559 เวลา 10.00 – 16.00 น. (ไม่เว้นวันหยุด) ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม โดยจะมีพิธีเปิดนิทรรศการและมอบรางวัลในวันที่ 15 กันยายน 2559 (วันศิลป์ พีระศรี) The 33rd Exhibition of Contemporary Art by Young Artists 8 - 25 September 2016 10am - 4pm (everyday) at the Art and Cultural Centre Commemorating the 6th Cycle Birthday Anniversary of His Majesty the King Silpakorn University, Sanamchandra Palace Campus, Nakornpathom Opening exhibition and awards presentation on 15 September 2016 (Silpa Bhirasri Day) |
AUG - SEP
4 August - 3 Septeber 2016
|
11 August - 3 Septeber 2016
|
หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ศิลปิน : จิตติ เกษมกิจวัฒนา นิพันธ์ โอฬารนิเวศน์ นพไชย อังควัฒนะพงษ์ วันทนีย์ ศิริพัฒนานันทกูร ภัณฑารักษ์รับเชิญ : กมลวรรณ์ บุญโพธิ์แก้ว The Art Centre Silpakorn University co-organised with the Faculty of Sociology and Anthropology, Thammasat University
Artists : Chitti Kasemkitvatana Nipan Oranniwesna Nopchai Ungkavatanapong Wantanee Siripattananuntakul Guest Curator : Kamolwan Boonphokaew ศิลปะและมานุษยวิทยา แม้จะมีความแตกต่างทางปฏิบัติการและกระบวนการในการทำงาน แต่สิ่งที่ทั้งสองศาสตร์มีเป็นพื้นฐานร่วมกันก็คือต่างคนต่างสะท้อนให้เห็นสภาวการณ์ที่กำลังเป็นอยู่ และสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในสังคม
"เราทุกกลุ่มล้วนเป็นคนอื่นสำหรับคนอีกกลุ่มเสมอ" คำกล่าวของแมคอีวิลเลย์ (McEvilley, 1992:11) นักวิจารณ์ศิลปะสัญชาติอเมริกันถูกนำมาเปิดประเด็นสนทนาระหว่างนักมานุษยวิทยาฝึกหัดและศิลปินที่มีภูมิหลังและวิธีการทำงานสร้างสรรค์ที่แตกต่างกัน 4 คน ว่าด้วยบรรยากาศในสังคมไทยที่ถูกนิยามอย่างไม่เป็นทางการว่า นี่คือช่วงเวลาของการเปลี่ยนผ่านทางสังคมและการเมือง ในขณะที่คนฝั่งหนึ่งกำลังยื้อยุดฉุดรั้ง ย่อมมีคนอีกฝั่งที่รอคอยให้วันคืนเดิมๆ ผ่านพ้นไปเพื่อที่จะพบกับวันใหม่ การหลงอยู่ในวังวนของการเปลี่ยนผ่านกำลังทำให้ผู้คนต่างมองคนในวัฒนธรรมเดียวกันกลายเป็นคนอื่นไป ไม่ว่าจะเป็นโลกทางสังคม หรือเป็นโลกศิลปะ ณ เวลานี้สิ่งที่กำลังขึ้นคือการรื้อฟื้นกลไกการแบ่งแยกแบ่งกลุ่ม โดยที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองเป็นตัวชี้วัด กลไกการติดป้าย การจำแนก--การสร้างความเป็นพวกพ้อง/ความเป็นศัตรูกำลังกลับมา และผลที่ตามมาก็คือการพยายามสนับสนุน กู่ก้องเสียงของคนพวกเดียวกันให้ดัง ในขณะที่เสียงของคนอื่นกลับถูกละเลย Human AlieNation คือนิทรรศการศิลปะที่ต้องการสะท้อนให้เห็นถึงสภาวะที่ผู้คนในสังคมร่วมสมัยต้องเผชิญผ่านการตีความสภาวะความแปลกแยกของศิลปินทั้ง 4 คน พร้อมกับเปิดให้เห็นปฏิบัติการในการทำงานศิลปะและการทำงานทางมานุษยวิทยาในการสะท้อนความเป็นการเมืองทางวัฒนธรรมที่แฝงฝังอยู่ในสังคมไทย The fields of art and anthropology, despite their different working processes and approaches to practice, share one fundamental commonality: their ability to reflect situations and movements that are currently occurring in society.
“Every group is other to every other group.” This statement by Thomas McEvilley, an American fine art critic, here serves as the point of departure for a dialogue between an anthropologist-in-training and four artists with different backgrounds and creative specialties. The topic of the dialogue is the current condition of Thai society, which is loosely described as a period of social and political transition.During this time of transformation, a group of people on one side tries hard to hold on to the way things have been, while those on another eagerly anticipate the passing of old days and the arrival of new. Ironically, by sharing the condition of being lost inside the labyrinth of cultural change, all are driven to view those living in the same culture as the other. In both the social and art worlds, there is a current effort to revive the mechanism of peer grouping based on political ideology. The act of social labelling, categorizing, and delineation as 'friend' or 'enemy' is experiencing a resurgence. The consequence is the promotion of the voice of the in-group to be heard louder, while that of all others is increasingly ignored. Human AlieNation project not only presents such reflections on what people encounter in contemporary society from artists' interpretations and perspectives, but also reveals the collaborative practice of its creators. An anthropologist-cum-curator, joins hands with a group of artists give expression to hidden aspects of cultural politics in modern-day. |
รับรู้ และเข้าใจคนไร้บ้านผ่านการสร้างสรรค์ผลงานโดย: ไพโรจน์ พิเชฐเมธากุล และ ฐิตาภา ทินราช ภัณฑารักษ์ : 9 Dimensions (นักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาทฤษฎีศิลป์ รุ่นที่ 9 คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ) นิทรรศการ : ระหว่างวันที่ 11 สิงหาคม – 3 กันยายน 2559 ณ ห้องนิทรรศการ P1 P2 ตำหนักพรรณราย หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร (วังท่าพระ) . “มนุษย์ทุกคนล้วนเท่าเทียมกัน” หลายคนคงเคยได้ยินคำกล่าวนี้ แม้คิดว่าความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น ด้วยมนุษย์เองเป็นผู้แบ่งแยกเผ่าพันธุ์ของตนด้วยเชื้อชาติ ศาสนา และสีผิว อีกทั้งการตลาดในโลกทุนนิยมสร้างความต้องการการอุปโภคบริโภคอย่างไม่สิ้นสุด เพื่อเติมเต็มความรู้สึกสมบูรณ์แบบ และเป็นที่ยอมรับของสังคม ทำให้อำนาจการจ่ายเงิน หรือการครอบครองวัตถุกลายเป็นมาตรฐานในการกำหนดตัวตนของผู้คนในสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จนดูเหมือนว่าผู้ที่ไม่มีอำนาจในการจ่ายเงิน หรือไม่มีปัจจัยสี่ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตนั้นอยู่ห่างไกลจากศูนย์กลางของการได้รับความเอาใจใส่จากสังคม และตกอยู่ในสภาวะไร้ตัวตนในที่สุด หรือที่พวกเขามักได้รับการเรียกขานว่า คนชายขอบ อาทิ กลุ่มคนไร้บ้าน แต่สิ่งหนึ่งที่มนุษย์ทุกคนใช้ร่วมกัน คือ ดวงตะวันที่ให้แสงสว่าง และความอบอุ่น ฉะนั้นคงดีไม่น้อยหากเราพยายามมองเพื่อนมนุษย์ที่อยู่ใต้ตะวันดวงเดียวกันอย่างเข้าใจ นิทรรศการ UNDER THE SAME SUN สะท้อนการทำความเข้าใจเกี่ยวกับคนไร้บ้านผ่านผลงานศิลปะของไพโรจน์ พิเชฐเมธากุล และฐิตาภา ทินราช สองศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงานจากการพบปะ พูดคุยทำความรู้จักกับกลุ่มคนไร้บ้าน ซึ่งทำให้คนไร้บ้านที่ดูเหมือนจะไร้ตัวตนในสังคมกลับมามีตัวตนอีกครั้ง อีกทั้งช่วยจุดประกายให้เห็นถึงสิ่งที่มนุษย์พึงกระทำต่อเพื่อนมนุษย์ --------------------------------------------------------- Perceive and understand the homeless through artistic creation by: Pairoj Pichetmetakul and Titapa Thinrach. Artists: Pairoj Pichetmetakul and Titapa Thinrach. Curated by: 9 Dimentions (Master degree students in Art Theory, Faculty of Painting Sculpture and Graphic Arts, Silpakorn University). Exhibition period: between 11 August – 4 September 2016 at P1 and P2 Exhibition Rooms, Phannarai Building, the Art Centre, Silpakorn University (Wangthapra) Opening ceremony: 11 August 2016 at 6 PM. “Every individual is equivalent,” many of you might have heard this judgement, although it is not true in real life. Humans are the ones who separate their own races by nationality, religion and skin color. Moreover, the marketing in the capitalist world has created needs for consumption endlessly for humans to fulfil their sense of perfection and be accepted in society. These make powers of buying or owning materials become a standard of setting human identities inevitably. It seems like those who do not have power in buying, or do not have the four requisites are far from the center of social attention and eventually fall into a state of no identity, being what the society name “marginal people” such as the homeless. Nevertheless, a thing that we humans use together is “the sun” that gives us light and warmth. Hence, it would be great if we try to look at our human friends who are under the same sun comprehensibly. The exhibition “UNDER THE SAME SUN” reflects the understanding in the homeless through works of art by Pairoj Pichetmetakul and Titapa Thinrach, the two artists who create their works from meetings and conversations with the homeless. Their method of creating art make those homeless who seem to hold no identity get back with identities again and also inspire us to see what humans should behave toward each other. --------------------------------------------------------- |
MAY - JUNE
19 MAY to 18 JUNE 2016
Art Centre Silpakorn University (Wangthapra)
สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม
อีกคนตาแหลมคม เห็นดวงดาวอยู่พราวพราย
Two men look out through the same bars:
one sees the mud, and one the star
การแสดงออกทางศิลปะที่มีที่มาที่ไปมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพสังคมเริ่มปรากฏให้เห็นชัดขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ศิลปะเริ่มพูดเรื่องรอบตัวในสังคม ปัญหาที่เกิดขึ้น รวมถึงใช้เป็นสื่อในการพูดถึงสิ่งที่พูดไม่ได้ ผู้ชมกลายเป็นสื่อหนึ่งในผลงานที่ทำให้เกิดบทสนทนา ข้อโต้เถียงกับสิ่งต่างๆรอบตัว ผู้ชมคือตัวผันแปรที่สำคัญที่จะให้งานศิลปะชิ้นนั้นๆไปต่อสู่เป้าหมายที่แท้จริง เจตจำนงของศิลปะจะสำแดงผลออกมาได้ก็ต่อเมื่องานศิลปะนั้นๆมอบเสรีภาพต่อผู้ชม นิทรรศการนี้ จึงเป็นเสมือนการมองหาช่องทางของเสรีภาพในการแสดงออกทางศิลปะและการคิดอ่านของผู้ชม ผ่าน “ช่อง” ทางให้เราเข้าไปสู่ความหมายเนื้อแท้จริงของสิ่งต่างๆรอบตัวอย่างเสรีโดยที่มิได้เข้าไปทำลายความเชื่อหรือสิทธิที่จะเชื่อของใครๆ ชื่อนิทรรศการ สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม อีกคนตาแหลมคม เห็นดวงดาวอยู่พราวพราย คือการสื่อสารกับสังคมว่า ในทุกๆคน ทุกๆอาชีพ ทุกๆหน้าที่ ควรมีสิทธิที่จะเลือกมองไม่ว่าจะมองในมุมใดๆ จะเห็นดวงดาวพร่างพรายหรือจะเห็นเพียงโคลนตมก็ตาม สิ่งที่น่ายินดีคือการที่ยังมี “ช่อง” ให้เรามอง หากเราอยู่ในสังคมที่ปราศจาก “ช่อง” ให้มองแล้วเราก็จะไม่เห็นอะไรเลยนอกเสียจากตัวเองกับกรอบความคิดที่แบนราบ นิทรรศการในครั้งนี้คือการทดลองความเป็นไปได้ในการแสดงออกทางศิลปะและการรับชมของผู้ชมว่ามีส่วนร่วมในการตัดสินใจตีความในความคิดอ่านทางศิลปะที่มีประเด็นให้จับต้องมากมาย งานศิลปะที่เกิดขึ้นครั้งนี้มีความเกี่ยวโยงกับการนำประเด็นต่างๆทางสังคมมาสนทนากับผู้ชมอย่างเสรี โดยไม่สรุปให้ผู้ชมเดินตามความคิดนั้นๆ ศิลปะที่เกิดขึ้นไม่ได้ต้องการจะเสนออะไรเป็นพิเศษ แต่กำลังจะเป็นอะไรในที่นี้เสียมากกว่า เพราะในทุกๆสังคมที่บอกตัวเองว่า (จะ) เป็นประชาธิปไตยนั้น การแสดงออกทางศิลปะก็ควรจะเป็นประชาธิปไตยด้วยเช่นกัน นิทรรศการนี้เป็นเสมือนนิทรรศการเปิดตัว โครงการสนับสนุนศิลปินรุ่นใหม่ exposed : up-and-coming artists project ซึ่งเป็นโครงการระยะยาวที่หอศิลป์ได้สรรหาและคัดเลือกศิลปินรุ่นใหม่ที่มีแนวความคิดและแนวทางการแสดงออกที่น่าสนใจ มีความคิดริเริ่มที่แปลกใหม่ที่แตกต่างไปจากขนบธรรมเนียมเดิมของประวัติศาสตร์ศิลปะร่วมสมัยไทย จำนวน 6 คน มาทำงานร่วมกับหอศิลป์ผ่านการจัดนิทรรศการจำนวน 6 นิทรรศการภายในระยะเวลา 1 ปีจากนี้ Artistic expressions reflected from the society began to emerge and has been noticeable in the past 10 years. Art began to say about things around us, social problems, as well as have been used to say about topics that cannot be said in other ways. The audiences became part of the works creating contradictory dialogues against things. Audiences are a variable that make a work of art continue its way to the real goal. Consequently, art can express its intention when that work of art gives freedom to the audiences. The audiences must have an exit to go out and ponder. They must have freedom to see either a way or another. This exhibition is like a search of a way of freedom in artistic expression and pondering of the audiences through a “gap” that leads us to the real meanings of things freely without destroying beliefs or rights to believe of others.
The title, Two men look out through the same bars: one sees the mud, and one the stars, aims to communicate with the society that every person, in every occupation, and every duty should have a right to choose to see, no matter from what vision he/she would see, no matter if they would see the shining stars or merely the mud, what is pleasant is how there is still a “bar” for us to see through. If we lived in a society without a “bar,” we would not see anything except ourselves and a flat concept. No matter if one sees the stars or the mud, they are both places, in different positions and different times. This exhibition is an experiment on a possibility of artistic expression and perceptions of the audiences, that how they are involved in deciding and interpreting art which has many points to see. The works happening this time are connected with bringing up various social issues to talk with the audiences freely without making the audiences follow any specific idea. These art works do not want to convey anything specifically, but rather to convey what would become here unspecifically. In every society telling itself that it is (becoming) democratic, the art expressions should also be democratic as well. This exhibition is a part of exposed : up-and-coming artists project, a project supporting new generation artists whose works reflect unconventional artistic concepts and expression. Six young and emerging artists are selected to work with the Art Centre for six individual exhibitions over a one-year period. |
ศิลปิน : ดุษฎี ฮันตระกูล ลัทธพล ก่อเกียรติตระกูล มิติ เรืองกฤตยา ณัฐพล สวัสดี พรภพ สิทธิรักษ์ วิริยะ โชติปัญญาวิสุทธิ์ ภัณฑารักษ์ : กฤษฎา ดุษฎีวนิช Artists : Dusadee Huntrakul Latthapon Korkiatarkul Miti Ruangkritya Nuttapon Sawasdee Phornphop Sittirak Viriya Chotpanyavisut Curator : Kritsada Duchsadeevanich |
APRIL
นิทรรศการเนื่องในวันนริศ 2559
21 เมษายน ถึง 4 พฤษภาคม 2559
ณ หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ
นิทรรศการ "สาส์นสมเด็จ" ลายพระหัตถ์สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และ
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ณ ห้องนิทรรศการชั้น 1 หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ
นิทรรศการภาพถ่ายนานาชาติ ครั้งที่ 12 "เย็น"
The 12th International Photographic Exhibition "Cool"
ณ ห้องนิทรรศการหลัก หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ
MARCH
นิทรรศการทุนสร้างสรรค์ศิลป์ พีระศรี ครั้งที่ 15
15 MARCH - 5 APRIL 2016
The 15th Silpa Bhirasri Creativity Grants
Opening exhibition on Tuesday 15 March 2016 at 18.00
(with artist's talk at 16.00) at the Main Hall of the Art Centre, Silpakorn University Wangthapra พิธีเปิดนิทรรศการวันอังคารที่ 15 มีนาคม 2559 เวลาหกโมงเย็น (พร้อมกิจกรรมเสวนาโดยศิลปินทั้ง 7 เวลาสี่โมงเย็น) ณ ท้องพระโรง หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ นิทรรศการทุนสร้างสรรค์ศิลป์ พีระศรี ครั้งที่ 15 ในครั้งนี้เป็นการแสดงผลงานศิลปกรรมของ 7 ศิลปินที่ได้รับทุนสร้างสรรค์ศิลป์ พีระศรี ให้ดำเนินการวิจัย ค้นคว้า และสร้างสรรค์ผลงานศิลปะในระยะเวลา 1 ปี ซึ่งผลงานของศิลปินทั้ง 7 ต่างมีรูปแบบเฉพาะตนและมีความแตกต่างหลากหลายกันไป This exhibition comprises art works from 7 selected artists who have been granted the Silpa Bhirasri Creativity Grants to research, conduct, and create art works within one year. Each works reflect individual style of expression in different forms of art. |
JANUARY
นิทรรศการ Please do not leave me โดย อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ
|
อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ ศิลปินที่สร้างสรรค์ผลงานมาอย่างยาวนานและเป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติ ชีวิตการทำงานที่กำลังก้าวข้ามผ่านวัยเกษียณอายุราชการเข้าสู่บทบาทที่เปลี่ยนแปลงไปของเขา ไปสู่เส้นทางใหม่ การเดินทางใหม่ในฐานะคนทำงานศิลปะเต็มตัว การมองโลกใหม่บนพื้นฐานของความจริง ชีวิตจริง ศิลปะจริงๆที่เชื่อมโยงกับชีวิตและพื้นฐานของสังคม
ในผลงานต่างๆของอำมฤทธิ์ เขามักนำการตีความในเชิงพุทธศาสนา ปรัชญาชีวิต และความเป็นไปในบริบททางสังคม ณ ขณะนั้น มาสร้างสรรค์ผลงานที่แสดงออกถึงการสรุปความคิดแบบรวบยอดผ่านการใช้สื่อสมัยใหม่ ไม่ว่าจะเป็น วีดีโอ วัสดุสำเร็จรูป หรือแม้กระทั่งการที่ใช้ผู้ชมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของผลงาน สื่อสมัยใหม่ถูกนำมาใช้ไม่ใช่เพียงเพื่อแสดงความเท่าทันต่อเทคโนโลยี แต่เป็นดั่งเครื่องมือที่เหมาะสมที่ถ่ายทอดสารที่ต้องการสื่อให้ชัดเจน โดยอาศัยผู้ชมเป็นส่วนหนึ่งของงาน มิใช่ส่วนเกินจากงาน
ผลงานในนิทรรศการครั้งนี้ คือการพินิจถึงตัวเอง ตัวตน และบริบทรอบข้างในการดำเนินงานทางศิลปะมาตลอดชีวิต โดยนำประสบการณ์ทางศิลปะที่ผ่านมานำมาผสานกับความคิดที่เป็นปัจจุบันขณะ ผสมปนเป และนำพาศิลปะให้ก้าวไปสู่สิ่งใหม่ด้วยวิกฤติทางสถานะและบทบาทใหม่ของมนุษย์ที่ย่างเข้าสู่อายุ 61
Amrit Chusuwan, an established artist whose works have been exhibited and known internationally. Although at the age that has reached the “breaking” period of a (bureaucratic) working person, Amrit chose to walk across the border of art to the new way of journey. It is a new perspective on the world based on truth, real life and real art that are connected to life and fundamental of the society.
Regularly, his works encompass the interpretation of Buddhist teachings, life philosophy, as well as contemporary social issues and presented through the use of new media including videos, readymades or even involving the audiences to the works. Those media are not the representation of up-to-date interest, but are appropriate tools to convey his idea by significantly involving audiences as "a part" of the works, not "apart" from the works.
Works exhibiting in this exhibition is a consideration of oneself, identity, and environmental context of progressing in art that has long been implemented throughout Amrit’s life. Previous experiences in art combined with present thoughts, intermingled, and lead to a new thing with a crisis in the new status and the new role of a human who is about to reach the age of 61.
ในผลงานต่างๆของอำมฤทธิ์ เขามักนำการตีความในเชิงพุทธศาสนา ปรัชญาชีวิต และความเป็นไปในบริบททางสังคม ณ ขณะนั้น มาสร้างสรรค์ผลงานที่แสดงออกถึงการสรุปความคิดแบบรวบยอดผ่านการใช้สื่อสมัยใหม่ ไม่ว่าจะเป็น วีดีโอ วัสดุสำเร็จรูป หรือแม้กระทั่งการที่ใช้ผู้ชมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของผลงาน สื่อสมัยใหม่ถูกนำมาใช้ไม่ใช่เพียงเพื่อแสดงความเท่าทันต่อเทคโนโลยี แต่เป็นดั่งเครื่องมือที่เหมาะสมที่ถ่ายทอดสารที่ต้องการสื่อให้ชัดเจน โดยอาศัยผู้ชมเป็นส่วนหนึ่งของงาน มิใช่ส่วนเกินจากงาน
ผลงานในนิทรรศการครั้งนี้ คือการพินิจถึงตัวเอง ตัวตน และบริบทรอบข้างในการดำเนินงานทางศิลปะมาตลอดชีวิต โดยนำประสบการณ์ทางศิลปะที่ผ่านมานำมาผสานกับความคิดที่เป็นปัจจุบันขณะ ผสมปนเป และนำพาศิลปะให้ก้าวไปสู่สิ่งใหม่ด้วยวิกฤติทางสถานะและบทบาทใหม่ของมนุษย์ที่ย่างเข้าสู่อายุ 61
Amrit Chusuwan, an established artist whose works have been exhibited and known internationally. Although at the age that has reached the “breaking” period of a (bureaucratic) working person, Amrit chose to walk across the border of art to the new way of journey. It is a new perspective on the world based on truth, real life and real art that are connected to life and fundamental of the society.
Regularly, his works encompass the interpretation of Buddhist teachings, life philosophy, as well as contemporary social issues and presented through the use of new media including videos, readymades or even involving the audiences to the works. Those media are not the representation of up-to-date interest, but are appropriate tools to convey his idea by significantly involving audiences as "a part" of the works, not "apart" from the works.
Works exhibiting in this exhibition is a consideration of oneself, identity, and environmental context of progressing in art that has long been implemented throughout Amrit’s life. Previous experiences in art combined with present thoughts, intermingled, and lead to a new thing with a crisis in the new status and the new role of a human who is about to reach the age of 61.