PAST 2019
นิทรรศการที่ผ่านมา
Have A Nice Dream
หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร ขอชวนมาชมนิทรรศการที่สองในชุด Excavation #2 I am not an artist, but I am... เปิดให้ชม ถึง 31 ธันวาคม 2562 ณ EX SPACE หอศิลป์สนามจันทร์ ม.ศิลปากร นครปฐม นิทรรศการ “Have A Nice Dream ฝันใฝ่ ใฝ่ฝัน” โดย ชัยวัช เวียนสันเทียะ ได้นำสภาวะความฝันกับความจริงมาสนทนากับผู้ชมในพื้นที่จำลองทางความคิดว่ามีเรื่องราวอย่างไร ความฝันนั้นได้จบลงดับสูญลง หลงเหลือเเต่เศษซากตะกอนของความฝันที่ไม่เป็นจริงจนกลายสู่ความสิ้นหวังกับเรื่องต่างๆรายรอบตัว ชัยวัช เวียนสันเทียะ ผู้มีอาชีพเป็นช่างภาพประจำหอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร เเละเคยผ่านกระบวนการในผลิตงานให้แก่ศิลปินหลายท่าน ชัยวัชสนใจงานภาพถ่ายเเละศิลปะจัดวางและนำเสนอการใช้วัสดุสำเร็จรูปมาสร้างเป็นผลงานศิลปะได้อย่างน่าสนใจ นิทรรศการนี้เป็นนิทรรศการในชุด Excavation # 2 : I am not an artist, but I am …… ที่เป็นดังการทดลองที่เปิดพื้นที่ให้คนที่เคยคลุกคลี/พัวพันกับการสร้างผลงานศิลปะของศิลปินต่างๆ โดยผู้สร้างผลงานเหล่านี้มิอาจกล่าวได้ว่าเป็น “ศิลปิน” เต็มตัว หากแต่เขาหรือเธอเหล่านั้นยังประกอบอาชีพอื่นๆที่สามารถเลี้ยงชีพได้ในสังคมปัจจุบัน มาแสดงออกผ่านผลงานศิลปะร่วมสมัยในพื้นที่ EX SPACE "HAVE A NICE DREAM" by Chaiwat Wiansantia as part of Excavation # 2: I am not an artist, but I am … On view until 31 December 2019 at EX SPACE, Sanamchandra Art Gallery, Nakornpathom. The exhibition, "Have A Nice Dream" by Chaiwat Wiansantia, seeks to conceive an experimental space where dreams converse with audience members. The space challenges them to conceptualize the concept of dream. When dreams turn sour, what remains are shattered pieces that embody everyday downheartedness and disappointment with life. Chaiwat Wiansantia is a full-time photographer of the Art Centre, Silpakorn University, who has been involved in the production process of several contemporary artists. Chaiwat is interested in photography and installation art, in which he fascinatingly brings out the ready-made objects through his installation. This exhibition is a part of exhibition series, Excavation # 2: I am not an artist, but I am … , an experimental space in which those involved or engaged in creating artworks side by side with professional artists come to express thoughts through their artworks at the EX SPACE. |
dehumanization & demonization
ภายใต้นิทรรศการชุด Excavation #2 I am not an artist, but I am... ที่ว่าด้วยการเชื้อเชิญบุคคลที่เคยทำงานคลุกคลีในการผลิตผลงานศิลปะให้แก่ศิลปินคนต่างๆ และปัจจุบันดำรงชีพด้วยอาชีพอื่นๆมาแสดงออกถึงกระบวนการคิด มุมมอง และประสบการณ์ในพื้นที่ EX SPACE โดยจะเปิดตัวนิทรรศการแรกด้วย Dehumanization & Demonization นิทรรศการโดย กฤษฎา ดุษฎีวนิช ผู้มีอาชีพหลักเป็นภัณฑารักษ์และยังเคยทำงานคลุกคลีกับการผลิตและสร้างสรรค์ผลงานให้ศิลปินหลายคนมาก่อนหน้า นิทรรศการนี้จัดแสดงวันที่ 5 - 20 สิงหาคม 2562 และมีงานเปิดนิทรรศการในวันพฤหัสที่ 8 สิงหาคม ตั้งแต่เวลา 1 ทุ่ม ที่ EX SPACE หอศิลป์สนามจันทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ จ.นครปฐม นิทรรศการ dehumanization & demonization คือการทดลองปลดปล่อยพันธนาการการสื่อสารด้วยศิลปะที่ตรงไปตรงมาเพื่อกระตุ้นการหาความหมายที่แท้จริงของการสื่อสาร ตัวอักษรที่ปรากฏซ่อนทับบนเรือนร่างวัตถุ พื้นที่ เเละตัวผลงานศิลปะ เป็นดั่งการเปิดพื้นที่ให้ให้ประเด็นทางสังคม/ การเมืองแทรกซึมเข้ามาอยู่ในเรือนร่างของศิลปะ ผลที่ได้ออกมานั้นคือ กระบวนการเรียนรู้เพิ่มเติมของผู้ชมที่จะเข้าไปศึกษาวิเคราะห์สิ่งที่น่าฉงนสงสัยต่อไปโดยมิได้ปิดกั้นเสรีในการรับชม นิทรรศการนี้อยู่ภายใต้ Excavation #2 I am not an artist, but I am... ชุดนิทรรศการ ณ EX SPACE ----------------- "Excavation #2 I am not an artist, but I am" exhibition series invites people who had been working behind other artist's production and currently live their lives in any profession but artist. The first show in the series features Kritsada Duchsadeevanich, a full-time curator who had vast experience in working alongside established artists in the production of their artworks. This exhibition titled "Dehumanization & Demonization" will be on view from 5 - 20 August with the opening party on Thursday 8 August at the EX SPACE, Sanamchandra Art Gallery, Nakornpathom Dehumanization & Demonization experiments with liberating communication through straightforward arts. It aims to stimulate the decoding of communication messages, engraved upon the bodies of materials and artworks. It also opens up a space through which social and political issues seep into the bodies of artworks. The result is the emancipation of the cognitive process of an audience whose interest and curiosity are piqued. *This exhibition is part of Excavation #2 I am not an artist, but I am... exhibition series at the EX SPACE. |
EXCAVATION # 1
ขุด - ค้น by Suwitcha Dussadeevanit at EX SPACE, Sanamchandra Art Gallery, Nakornpathom Curated by Kritsada Duchsadeevanich Excavation : กระบวนการขุดค้นลงไปในพื้นผิว ที่ซึ่งวัตถุหนึ่งได้ถูกกลบทับและหลงลืมผ่านกาลเวลา เมื่อกาลเวลาผ่านไป ความสำคัญเปลี่ยนแปลง สิ่งที่หลงเหลืออยู่อาจเป็นเพียงซากของความรุ่งโรจน์เมื่อครั้งอดีต หรือเป็นแค่เพียงเศษเสี้ยวของวัตถุที่งดงาม ในครั้งนี้คือ การอุปมาถึงการผลิตผลงานศิลปะร่วมสมัยที่เป็นหลักฐานชิ้นสำคัญของยุคสมัยที่มักถูกหลงลืม ในกระบวนการผลิต เมื่อความคิดลื่นไหลถ่ายเทจากผู้คิดสู่ผู้สร้าง มักมีเศษตะกอนที่ถูกร่อนออกให้หลับใหลอยู่ภายในชอกหลืบแห่งกระบวนการผลิตนั้น ราวกับวัตถุโบราณที่รอคอยการขุด/สืบค้นเเละให้คุณค่า นิทรรศการ “Excavation ขุด-ค้น” สุวิชชา ดุษฎีวนิช ได้นำตะกอนที่ถูกร่อนออกและซ่อนอยู่ในซอกหลืบดังกล่าว มาขุด-ค้น ตั้งคำถาม สำรวจ รวมถึงทบทวนเรื่องราวความเป็นมาในมิติของกระบวนการผลิตผลงานศิลปะร่วมสมัยถึงความซับซ้อนซึ่งมิได้สะท้อนเพียงความต้องการทางความคิด หากเเต่มีเรื่องราวมากมายทับซ้อนอยู่ ไม่ว่าจะเป็นระบบเศรษฐกิจ ความอยู่รอด ความไว้เนื้อเชื้อใจ เเละความเป็นไปได้ในโลกเเห่งความจริง Excavation : an action of digging or unearthing the surface, where an object was buried and forgotten through time. When time passed and the significance changed, what remains may only be the remnants of the glorious past or only a fraction of a beautiful object. This exhibition is a metaphor for the production of contemporary art, an important evidence of the era that is often forgotten. In a production process, when the idea is transfered from the thinker to the producer, there is always sediment that has been strained and hidden quietly in the corner of that the production process. It is like an ancient artefact waiting to be excavated, searched and valued. Suwitcha Dussadeevanit brought out the sediment strained and left in that sleepy corner to excavate, question, explore, and review in the dimension of contemporary art production process. It does not only reflect the conceptual objective of the thinker, but there are many aspects overlapping, from economic system, survival needs, trust or even possibilities —————————————————————————————-- ภัณฑารักษ์: กฤษฎา ดุษฎีวนิช |
The 65th National Exhibition of Art
การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 65
การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 65
การแสดงศิลปกรรมแห่งชาตินับเป็นเวทีการประกวดระดับชาติที่มีประวัติความเป็นมายาวนานที่สุดในประเทศไทย และจัดการแสดงอย่างต่อเนื่องโดยมหาวิทยาลัยศิลปากร จนถึงปัจจุบันนับเป็นครั้งที่ 65 เพื่อเป็นการสนับสนุนและเปิดโอกาสให้ศิลปินไทยได้มีเวทีแห่งการสร้างสรรค์ในระดับชาติ โดยการส่งผลงานศิลปกรรมประเภทจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ และสื่อประสม เข้าประกวดโดยมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิร่วมตัดสิน และนำผลงานไปจัดแสดงนิทรรศการ นอกจากนี้ยังเป็นการเปิดโอกาสให้สาธารณชนได้ชื่นชมผลงานศิลปกรรมอย่างกว้างขวางทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคอีกด้วย
ในครั้งนี้มีศิลปินไทยส่งผลงานเข้าประกวด จำนวน 173 คน รวมผลงานทั้งสิ้น 229 ชิ้น จากผลการคัดเลือกและตัดสินของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทางศิลปะ ปรากฏว่ามีผลงานศิลปกรรมได้รับรางวัลประเภทต่างๆ รวมทั้งสิ้น 13 รางวัล และผลงานที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมแสดงทั้งสิ้น 52 ชิ้น โดยผลงานดังกล่าวจะมีการจัดแสดงนิทรรศการ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพฯ ในระหว่างวันที่ 5 – 27 ตุลาคม พ.ศ.2562 เปิดให้เข้าชมระหว่างเวลา 09.00 – 16.00 น. ทุกวันพุธ-อาทิตย์ (เว้นวันจันทร์และวันอังคาร) หลังจากนั้นจะนำไปจัดแสดง ณ สถาบันศิลปะในส่วนภูมิภาคต่อไป ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ นาย จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ในพิธีเปิดนิทรรศการการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 65 ซึ่งจะมีพิธีเปิดนิทรรศการในวันอังคารที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2562 เวลา 14.00 น. ทั้งนี้ ในวันดังกล่าวบุคคลทั่วไปจะสามารถเข้าชมได้หลังเสร็จสิ้นพิธี ตั้งแต่เวลา 16.00 – 18.00 น. THE 65th NATIONAL EXHIBITION OF ART The National Exhibition of Art has been established continuously to encourage Thai people to learn and understand modern art and submit works for competition. This year, the exhibition has come to its 65th. The competition and exhibition have divided artworks into four categories, which are painting, sculpture, prints and multimedia. All of the artworks have been selected by honorable jurors from various fields of fine arts. The exhibition aims to enhance the art creativity and also promote knowledge of art appreciation to the public. This year, 173 artists submitted 229 pieces of works. There are 13 pieces of work selected for award-winning entries, while 52 pieces are selected to showcase together on the exhibition. The exhibition will be on view from 5 - 27 October 2019 at the National Gallery in Bangkok, 9 am to 4 pm daily (closed on Mondays and Tuesdays).Then, they will be exhibited in provincial institutes. His Majesty the King has graciously designated His Excellency Chirayu Isarangkun Na Ayuthaya Privy Councillor as His Majesty the King’s Representative to preside over the opening ceremony of the 65th National Exhibition of Art, on Tuesday 8th October 2019 at 2 pm at the National Gallery, Chaofah Road, Bangkok. (The exhibition will open to public at 4 - 6 pm) |
The 36th Contemporary Art by Young Artists
การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์ ครั้งที่ 36
นิทรรศการจัดแสดงระหว่างวันที่ 7 – 27 กันยายน 2562
เวลา 10.00 – 16.00 น. (ไม่เว้นวันหยุด) ณ ชั้น 1 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม หลังจากจัดแสดงในส่วนกลางเสร็จสิ้น จะจัดการแสดงสัญจรไปยังภูมิภาคต่างๆทั่วประเทศ พิธีมอบเกียรติบัตรและเปิดนิทรรศการ วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน 2562 (วันศิลป์ พีระศรี) โดยได้รับเกียรติจาก นาย ชวน หลีกภัย เป็นประธานในพิธีเปิด การเเสดงศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์ได้ริเริ่มโดยมหาวิทยาลัยศิลปากรมาอย่างต่อเนื่องเพื่อมุ่งหวังส่งเสริมให้เยาวชนไทยที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี มีพื้นที่การเเสดงออกอย่างเสรีเเละสร้างสรรค์ ผ่านกระบวนการคัดเลือกผลงานที่เหมาะสมเเก่รางวัลต่างๆ จากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านศิลปะ จากหลากหลายสาขา |
Exhibition will be on view from 7 – 27 September 2019 (daily) at 10 am – 4 pm.
at the Art and Cultural Center Commemorating the 6th Cycle Birthday Anniversary of His Majesty the King Bhumibol Adulyadej, Silpakorn University, Sanamchandra Campus, Nakorn Pathom Province The opening ceremony is on 15 September 2019 (Silpa Bhirasri Day), to be presided over by Mr. Chuan Leekpai Silpakorn University has initiated the Exhibition of Contemporary Art by Young Artists in 1984 with the objectives to encourage young artists aged not more than 25 to have a space to express their creativity. All works have been selected by honorable jurors from various fields of fine arts. |
AA : Art Centre Silpakorn University Artist-in-residence
หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร ยินดีต้อนรับ Zul Mahmod ศิลปินร่วมสมัยจากประเทศสิงคโปร์ในโครงการศิลปินในพำนัก AA : Art Centre Silpakorn University Artist-in-residence ซึ่งมาพำนักและทำงาน ณ หอศิลป์สนามจันทร์ ระหว่างวันที่ 7 สิงหาคม - 16 กันยายน 2019 โดยจะสร้างสรรค์ผลงานร่วมกับงานในคลังสะสมศิลปกรรมมหาวิทยาลัยศิลปากรที่หอศิลป์ฯ จัดเก็บใน Visible Storage Gallery และเปิดแสดงนิทรรศการให้ชมเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาพำนัก ในวันที่ 16 กันยายน 2562
Art Centre Silpakorn University is pleased to welcome Zulkifle Mahmod, our artist-in-residence through the AA : Art Centre Silpakorn University Artist-in-residence project. Zul will be staying at Sanamchandra Art Gallery and working with our Silapkorn Art Collections at the Visible Storage Gallery during 7 Aug - 16 Sep 2019 which will end with an exhibition in September. Zulkifle Mahmod เป็นหนึ่งในศิลปิน sound และ media ที่โดดเด่นและอยู่แถวหน้าของวงการศิลปะร่วมสมัยของประเทศสิงคโปร์ เป็นศิลปินที่เคยร่วมงานกับหอศิลป์ฯมาก่อนในนิทรรศการ WE=ME (2013) และ พร้อมสรรพ Ready, set, go (2015) ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการศิลปะที่มีชื่อเสียงมากมายในระดับนานาชาติไม่ว่าจะเป็นมหกรรมศิลปะนานาชาติ Ogaki Biannale(2006) และ Singapre Pavillion ใน the 52nd Venice Biennale (2007) เป็นหนึ่งในห้าศิลปินที่ได้รับเลือกในนิทรรศการ 5 Stars: Art Reflects on Peace, Justice, Equality, Democracy and Progress ที่ Singapore Art Museum’s (SAM) จัดแสดงในวาระ Golden Jubilee ของสิงคโปร์ และล่าสุดได้รับรางวัล Soichiro Fukutake Prize จากผลงานของเขาใน Singapore Biennale (2016) ติดตามผลงานเพิ่มได้ที่ https://www.facebook.com/zulkiflemahmod https://www.zulmahmod.com/ |
Of Nature and Technology : Lets Dance Together (โดย Zul Mahmod สร้างสรรค์ขึ้นในโครงการ AA ศิลปินในพำนักของหอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร ) ผลงานชุดนี้มุ่งสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติและเทคโนโลยีผ่านงานจัดวางด้วยเสียง โดยตั้งคำถามว่า ธรรมชาติและเทคโนโลยีอยู่เคียงข้างกันได้หรือไม่? ผลงานชุดนี้ได้นำท่อนไม้กิ่งไม้เก่าที่ถูกทิ้งอยู่ในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยศิลปากร (วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม) และวงจรไฟฟ้าที่ให้กำเนิดเสียงมาสร้างสรรค์เป็นประติมากรรมเสียง ท่อนไม้และกิ่งไม้ต่างๆเหล่านี้ล้วนมีความทรงจำ ความลับ และเรื่องราวต่างๆมากมาย
|
Of Nature and Technology - Lets Dance Together ,by Zul Mahmod, re-examine the relationships between nature and technology through sound installation. Using discarded old tree branches found around the vicinity of Silpakorn University and electronic circuits that produced sound to create sound sculptures. These old tree branches have abundance of memories, secrets and stories.
Mon - Fri 9 am - 4 pm (closed on Public holidays) AA Art Centre Silpakorn University Artist-in-Residence is a project that select emerging artist from different practices to take a 45-day residency at the Art Centre Silpakorn University. The artist is required to create works that have a relation to the context and the environs. |
THE 18th SILPA BHIRASRI CREATIVITY GRANTS
THE 18th SILPA BHIRASRI CREATIVITY GRANTS
The Silpa Bhirasri’s Creativity Grants showcases artworks by 8 artists, selected by honorable judges for one-year creativity projects. All of these projects distinctly show inspiring processes through various techniques and styles. This grant is a significant support for the artists to strengthen their works for public and also support them to continue creating art, which benefits Thai contemporary art cycle. Especially, a grant for music is firstly opened for submission this year with the supporting by Icon Siam Company Limited and the Faculty of Music, Silpakorn University. Eight artists are as follows: TAWEEWIT KIJTANASOONTHORN PONGDEJ CHAIYAKUT WORAWIT KAEWSRINOUM SIRA SUWANASORN SUJIN SANGWANMANEENATE ANUROT CHANPHOSRI OPAS CHAROENSUK PRADIT SAENGKRAI Exhibition will be on view from 10 January to 2 February 2019 at the Main Hall, Art Centre, Silpakorn University (Wang Thapra) The opening reception is on Thursday 10 January 2019 at 6 pm to be presided over by Mr. Supoj Chaiwatsirikul Managing Director of ICONSIAM Company Limited (Artist's talk at 4pm) |
ทุนสร้างสรรค์ศิลปกรรม ศิลป์ พีระศรี ครั้งที่ 18
นิทรรศการทุนสร้างสรรค์ศิลปกรรม ศิลป์ พีระศรี นำเสนอผลงานของ 8 ศิลปินที่ได้รับคัดเลือกให้ได้รับทุนสร้างสรรค์ เพื่อดำเนินโครงการในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา โครงการที่ได้รับคัดเลือกนี้ล้วนแสดงถึงกระบวนการสร้างสรรค์อันน่าสนใจและโดดเด่น ผ่านผลงานหลากหลายรูปแบบ โดยคัดเลือกจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อสนับสนุนศิลปินที่ทำงานสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่องให้มีโอกาสในการทำงานและเผยแพร่สู่สาธารณะ อีกทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาวงการศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทย โดยในทุนสร้างสรรค์ศิลปกรรม ศิลป์ พีระศรี ครั้งที่ 18 นี้ เป็นปีแรกที่ได้ริเริ่มทุนรางวัลประเภทการประพันธ์ดนตรี จำนวน 1 รางวัล โดยได้รับการสนับสนุนจากบริษัท ไอคอนสยาม จำกัด และคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ศิลปินทั้ง 8 ผู้ได้รับทุน ได้แก่ ทวีวิทย์ กิจธนสุนทร พงศ์เดช ไชยคุตร วรวิทย์ แก้วศรีนวม ศิระ สุวรรณศร สุจิน สังวาลย์มณีเนตร อนุโรจน์ จันทร์โพธิ์ศรี โอภาส เจริญสุข ประดิษฐ์ แสงไกร จัดแสดงระหว่างวันที่ 10 มกราคม ถึง 2 กุมภาพันธ์ 2562 ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ โดยจะมีพิธีเปิดในวันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2562 เวลา 18.00 น. ได้รับเกียรติจาก คุณสุพจน์ ชัยวัฒน์ศิริกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอคอนสยาม จำกัด ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการ และสามารถร่วมเรียนรู้การทำงานของศิลปินทั้ง 8 ท่านได้ในศิลปินเสวนา เวลา 16.00 น. |