การสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมจากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ
ประเภทจิตรกรรมและภาพพิมพ์
ภาพแห่งวิถีชีวิตชนบท
|
ผลงานแสดงให้เห็นภาพของธรรมชาติ การถ่ายทอดบรรยากาศในพื้นที่ชนบท ความงามของพื้นที่ในเชิงการหวนระลึกถึง เครื่องมือเครื่องใช้ในชนบท อาชีพที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิตชนบทตามแต่ละภูมิภาค ซึ่งเป็นอีกประเด็นการสร้างสรรค์ที่พบได้มากในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ซึ่งผลงานที่แสดงประเด็นนี้สามารถพบเห็นได้เรื่อยมาตั้งแต่ในยุคต้นๆจนถึงปัจจุบัน |
ทินกร กาษรสุวรรณ “ชีวิตในชนบทไทย 3” ภาพพิมพ์โลหะร่องลึก Intaglio รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 39 ปี 2536 เนื่องด้วยศิลปินมีภูมิลำเนาในพื้นที่อีสาน ความสวยงามของวิถีชีวิตที่เรียบง่ายไม่ว่าจะเป็นกองฝาง คันนา รั้วบ้านที่ทำจากไม้ไผ่ หรือผักหญ้าที่ขึ้นริมรั้ว สิ่งที่อยู่รายรอบตัวได้ถูกผันมาเป็นรูปทรงในผลงานภาพพิมพ์ได้อย่างลงตัว สร้างบรรยากาศผลงานให้ดูอบอุ่นเรียบง่าย ดูใกล้ชิดธรรมชาติ ความเป็นชนบทที่นำเสนอมีที่มาจากชีวิตพื้นถิ่นอีสานที่มีลักษณะและเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่น่าค้นหา การใช้เทคนิคภาพพิมพ์ร่องลึก Intaglio สามารถถ่ายทอดอารมณ์บรรยากาศของภาพได้เป็นอย่างดี และสามารถใส่รายละเอียดเนื้อหาในภาพได้ ซึ่งศิลปินสามารถเลือกใช้เทคนิควิธีได้อย่างชำนาญและเหมาะสม
ในเวทีศิลปกรรมแห่งชาตินั้น แนวทางในการถ่ายทอดภาพความอุดมสมบูรณ์ของวิถีชีวิตหรือธรรมชาติตามชนบทมีให้เห็นเรื่อยมาโดยไม่ยึดกับยุคสมัย อาจกล่าวได้ว่า ผลงานในประเด็นนี้มักถ่ายทอดผ่านเทคนิคภาพพิมพ์ ในผลงาน อนุพงษ์ คชาชีวะ “อู่ข้าว อู่น้ำ หมายเลข 1” ภาพพิมพ์โลหะร่องลึก 126 x 165 ซม รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 48 แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของการเกษตร สิ่งมีชีวิต ธรรมชาติ ถ่ายทอดผ่านการเลือกสัญลักษณ์ต่างๆ ซึ่งไม่ได้เป็นการใช้ภาพเล่าเรื่องที่ชัดเจน แต่แฝงด้วยการตีความ อารมณ์ ความรู้สึกถึงความกลมกลืน สมบูรณ์
ในขณะที่ สุรศักดิ์ สอนเสนา “ป่า ก้าวย่างลมหายใจ” ภาพพิมพ์แกะไม้ 106 x 120ซม รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 60 และ “ชีวิตในธรรมชาติ (โกสุมพิสัย มหาสารคาม 2564)” ภาพพิมพ์แกะไม้ รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 67 ปี 2564 เนื่องจากพื้นเพศิลปินเป็นคนในพื้นที่อีสาน จึงนำเอาบรรยากาศและภาพความเป็นชนบทมานำเสนออย่างสม่ำเสมอ แต่เชื่อมโยงให้เห็นเรื่องราวที่มากกว่าการถ่ายทอดภาพทิวทัศน์ ซึ่งจะเห็นได้จากผลงานที่ได้รับรางวัลในครั้งที่ 67 ได้นำเสนอให้เห็นถึงวิกฤตการณ์ทางสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ โกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งมีปัญหาเรื่องวิกฤตการณ์อุทกภัยในพื้นที่ราบลุ่มอันเนื่องมาจากสถานการณ์ป่าของภาคอีสานที่มีปริมาณน้อยที่สุดในประเทศไทย ผลงานกล่าวถึงความเป็นไปที่เกิดขึ้นในพื้นที่อีสานอย่างตรงไปตรงมาและสร้างสรรค์ออกมาเป็นผลงานภาพพิมพ์แกะไม้ การเลือกใช้เทคนิคนี้ตอบสนองการให้ค่าน้ำหนัก แสงและเงา ได้อย่างชัดเจนตามความต้องการของศิลปิน และสามารถแสดงออกได้อย่างงดงามและลงตัว
ในเวทีศิลปกรรมแห่งชาตินั้น แนวทางในการถ่ายทอดภาพความอุดมสมบูรณ์ของวิถีชีวิตหรือธรรมชาติตามชนบทมีให้เห็นเรื่อยมาโดยไม่ยึดกับยุคสมัย อาจกล่าวได้ว่า ผลงานในประเด็นนี้มักถ่ายทอดผ่านเทคนิคภาพพิมพ์ ในผลงาน อนุพงษ์ คชาชีวะ “อู่ข้าว อู่น้ำ หมายเลข 1” ภาพพิมพ์โลหะร่องลึก 126 x 165 ซม รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 48 แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของการเกษตร สิ่งมีชีวิต ธรรมชาติ ถ่ายทอดผ่านการเลือกสัญลักษณ์ต่างๆ ซึ่งไม่ได้เป็นการใช้ภาพเล่าเรื่องที่ชัดเจน แต่แฝงด้วยการตีความ อารมณ์ ความรู้สึกถึงความกลมกลืน สมบูรณ์
ในขณะที่ สุรศักดิ์ สอนเสนา “ป่า ก้าวย่างลมหายใจ” ภาพพิมพ์แกะไม้ 106 x 120ซม รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 60 และ “ชีวิตในธรรมชาติ (โกสุมพิสัย มหาสารคาม 2564)” ภาพพิมพ์แกะไม้ รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 67 ปี 2564 เนื่องจากพื้นเพศิลปินเป็นคนในพื้นที่อีสาน จึงนำเอาบรรยากาศและภาพความเป็นชนบทมานำเสนออย่างสม่ำเสมอ แต่เชื่อมโยงให้เห็นเรื่องราวที่มากกว่าการถ่ายทอดภาพทิวทัศน์ ซึ่งจะเห็นได้จากผลงานที่ได้รับรางวัลในครั้งที่ 67 ได้นำเสนอให้เห็นถึงวิกฤตการณ์ทางสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ โกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งมีปัญหาเรื่องวิกฤตการณ์อุทกภัยในพื้นที่ราบลุ่มอันเนื่องมาจากสถานการณ์ป่าของภาคอีสานที่มีปริมาณน้อยที่สุดในประเทศไทย ผลงานกล่าวถึงความเป็นไปที่เกิดขึ้นในพื้นที่อีสานอย่างตรงไปตรงมาและสร้างสรรค์ออกมาเป็นผลงานภาพพิมพ์แกะไม้ การเลือกใช้เทคนิคนี้ตอบสนองการให้ค่าน้ำหนัก แสงและเงา ได้อย่างชัดเจนตามความต้องการของศิลปิน และสามารถแสดงออกได้อย่างงดงามและลงตัว
คุณค่าพิธีกรรม และความเชื่อ
|
ผลงานแสดงถึงการนำเรื่องราวของพิธีกรรมและความเชื่อ ผ่านการสร้างสรรค์ผลงาน ผลงานในกลุ่มนี้อาจรวมไปถึงผลงานที่เล่าเรื่องของการปฏิบัติทางพิธีกรรมหรือความเชื่อเฉพาะของครอบครัว หรือศาสนา ซึ่งไม่ได้ยึดโยงแค่พุทธศาสนา แต่ครอบคลุมเรื่องความเชื่อในศาสนาอื่นด้วย ซึ่งในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาตินั้นจะพบผลงานที่ว่าด้วยความเชื่อเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์มากขึ้นในช่วงทศวรรษหลัง เนื่องจากการเปิดกว้างของเนื้อหาในการสร้างสรรค์ที่มากขึ้นสอดคล้องกับบริบททางสังคมที่เรื่องราวของกลุ่มชาติพันธุ์มักถูกหยิบยกมาให้ความสำคัญในประเด็นต่างๆ |
ในผลงานภาพพิมพ์ของถาวร โกอุดมวิทย์ “สัญลักษณ์ในพิธีกรรม หมายเลข 11” ภาพพิมพ์แกะไม้และภาพพิมพ์โลหะร่องลึกบนกระดาษสา 55 x 75 ซม และ “สัญลักษณ์ในพิธีกรรม 1992/3” ภาพพิมพ์บนกระดาษสา 73.5 x 78ซม ซึ่งได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง ทั้งคู่จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 35 และการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 38 ศิลปินได้หยิบยกเรื่องราวของพิธีกรรมมานำเสนอผ่านกระบวนการของงานภาพพิมพ์ ซึ่งเป็นในลักษณะของสัญลักษณ์ที่ใช้ในพิธีกรรม และถ่ายทอดผ่านการใช้กระดาษสา และวัสดุจริง ซึ่งสะท้อนลักษณะของความเป็นวัฒนธรรมพื้นถิ่นซึ่งศิลปินสามารถถ่ายทอดเทคนิคภาพพิมพ์ที่ผสานกันทั้งสองเทคนิคได้อย่างชำนาญและโดดเด่น และถือเป็นศิลปินภาพพิมพ์คนแรกๆที่นำวัสดุอื่นมาผสานในการทำงานภาพพิมพ์ และในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 41 ประจำปี 2538 ผลงานของวรากรณ์ เมธมโนรมย์ “เรียกขวัญ หมายเลข 3” ภาพพิมพ์ร่องลึก 85 x 150 ซม ได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง ซึ่งนำเอาสัญลักษณ์ของพิธีกรรมที่มีรูปลักษณ์ที่ตรงไปตรงมาขึ้นมานำเสนอ นั่นคือ การเรียกขวัญจากพิธีกรรมทางการปลูกข้าว การนำเมล็ดข้าว ด้าย สายสิญจน์ ข้าวตอก ข้าวเปลือกมานำเสนอในรูปแบบของภาพสัญลักษณ์ที่สะท้อนแง่บวกของความรู้สึกจากการทำพิธีแรกนาขวัญเพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ชาวนาในการทำการเกษตร
ผลงานที่นำเสนอเรื่องราวของพิธีกรรมจากศาสนาอื่นเริ่มมีให้เห็นมากขึ้นในช่วงหลังผ่านฝีมือของศิลปินมุสลิม ในปี 2556 ผลงานของยะมีล๊ะ หะยี “ดุนยา (โลกปัจจุบัน) & อาคีเราะฮฺ (ปรโลก)” เย็บปัก 212 x 240 ซม ได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 59 โดยศิลปินได้ถ่ายทอดภาพหลักคำสอนทางศาสนาอิสลามต่อการประพฤติตนของสตรีมุสลิมตามที่ตัวศิลปินยึดถือ มาถ่ายทอดการดำรงตนอยู่ในหลักคำสอน ซึ่งถือเป็นผลงานที่นำเสนอภาพวัฒนธรรมของชาวมุสลิมได้แตกต่างจากผลงานที่ปรากฎในช่วงเดียวกัน โดยในยุคนี้มักเห็นผลงานจากศิลปินมุสลิมที่นำเสนอภาพความสูญเสีย ความรุนแรงจากความขัดแย้งในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ การนำเสนอภาพอิริยาบถต่างๆของสตรีมุสลิมในการปฏิบัติตามหลักคำสอนของศาสนาผ่านผ้าโปร่งแสงที่ต้องขึงกลางห้องให้สามารถมองเห็นได้จากทั้งด้านหน้าและด้านหลัง สามารถถ่ายทอดความรู้สึกศรัทธา ความสว่างใส ได้อย่างชัดเจน ในขณะที่ผลงานของธิติพรหม อ่อนเปี่ยม “บรรพบุรุษรำลึก” เย็บปัก 280 x 205 ซม รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 61 ในปี 2558 ใช้การเย็บปักผ้ามาเป็นสื่อในการนำเสนอผลงานจิตรกรรมเช่นเดียวกัน แต่นำเอาภาพการไหว้ผีปู่ย่าตามความเชื่อของวัฒนธรรมประจำถิ่นมานำเสนอประกอบกับการสะท้อนนัยความเป็นสตรีที่ทำงานฝีมือบนผืนผ้า การใช้ผ้าปักหุ้มทับภาพถ่ายบรรพบุรุษจริง การใช้สีและชนิดเนื้อผ้าที่แตกต่างกันสามารถเล่นกับระยะสายตา แสง เงา ของวัตถุ ข้าวของ ในสถานที่นั้นๆ ทำให้ภาพนั้นแสดงออกซึ่งความจริง และสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่การรับรู้ของผู้ชมได้ การใช้สื่อผ้าปักในผลงานทั้งสองนั้น สามารถเสริมความหมายของเนื้อหาที่ศิลปินต้องการจะสื่อได้อย่างสมบูรณ์ และยังแสดงถึงทักษะการปักผ้าที่แตกต่างกันทั้งสองแบบแต่สะท้อนฝีมือที่เป็นเลิศ
ผลงานที่นำเสนอเรื่องราวของพิธีกรรมจากศาสนาอื่นเริ่มมีให้เห็นมากขึ้นในช่วงหลังผ่านฝีมือของศิลปินมุสลิม ในปี 2556 ผลงานของยะมีล๊ะ หะยี “ดุนยา (โลกปัจจุบัน) & อาคีเราะฮฺ (ปรโลก)” เย็บปัก 212 x 240 ซม ได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 59 โดยศิลปินได้ถ่ายทอดภาพหลักคำสอนทางศาสนาอิสลามต่อการประพฤติตนของสตรีมุสลิมตามที่ตัวศิลปินยึดถือ มาถ่ายทอดการดำรงตนอยู่ในหลักคำสอน ซึ่งถือเป็นผลงานที่นำเสนอภาพวัฒนธรรมของชาวมุสลิมได้แตกต่างจากผลงานที่ปรากฎในช่วงเดียวกัน โดยในยุคนี้มักเห็นผลงานจากศิลปินมุสลิมที่นำเสนอภาพความสูญเสีย ความรุนแรงจากความขัดแย้งในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ การนำเสนอภาพอิริยาบถต่างๆของสตรีมุสลิมในการปฏิบัติตามหลักคำสอนของศาสนาผ่านผ้าโปร่งแสงที่ต้องขึงกลางห้องให้สามารถมองเห็นได้จากทั้งด้านหน้าและด้านหลัง สามารถถ่ายทอดความรู้สึกศรัทธา ความสว่างใส ได้อย่างชัดเจน ในขณะที่ผลงานของธิติพรหม อ่อนเปี่ยม “บรรพบุรุษรำลึก” เย็บปัก 280 x 205 ซม รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 61 ในปี 2558 ใช้การเย็บปักผ้ามาเป็นสื่อในการนำเสนอผลงานจิตรกรรมเช่นเดียวกัน แต่นำเอาภาพการไหว้ผีปู่ย่าตามความเชื่อของวัฒนธรรมประจำถิ่นมานำเสนอประกอบกับการสะท้อนนัยความเป็นสตรีที่ทำงานฝีมือบนผืนผ้า การใช้ผ้าปักหุ้มทับภาพถ่ายบรรพบุรุษจริง การใช้สีและชนิดเนื้อผ้าที่แตกต่างกันสามารถเล่นกับระยะสายตา แสง เงา ของวัตถุ ข้าวของ ในสถานที่นั้นๆ ทำให้ภาพนั้นแสดงออกซึ่งความจริง และสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่การรับรู้ของผู้ชมได้ การใช้สื่อผ้าปักในผลงานทั้งสองนั้น สามารถเสริมความหมายของเนื้อหาที่ศิลปินต้องการจะสื่อได้อย่างสมบูรณ์ และยังแสดงถึงทักษะการปักผ้าที่แตกต่างกันทั้งสองแบบแต่สะท้อนฝีมือที่เป็นเลิศ
ความงามในวัฒนธรรมอันหลากหลาย
|
ผลงานถ่ายทอดความงามของวัฒนธรรม ทั้งวัฒนธรรมไทย และวัฒนธรรมประจำถิ่นต่างๆ ผลงานในหมวดหมู่เนื้อหานี้มีแนวทางของเนื้อหาคล้ายกับหมวดหัวข้อ พิธีกรรมและความเชื่อ ศิลปินหลายคนนำเอาวัฒนธรรมประจำถิ่นมานำเสนอในรูปแบบเฉพาะตนที่แตกต่างกันไป แต่ความแตกต่างในหัวข้อนี้มักจะสะท้อนออกมาเป็นภาพของความงาม สุนทรียะที่ได้รับ หรือ ได้พบเห็นจากการใช้ชีวิต จากการได้สัมผัส หรือ ความเป็นอยู่ ส่วนหนึ่งที่พบเห็นได้คือ วัฒนธรรมของท้องถิ่นต่างๆ ซึ่งพบเห็นได้มากขึ้นในช่วง 2 ทศวรรษหลังของการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ |
ในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 63 ประจำปี 2560 ผลงานของจิระโรจน์ ศรียะพันธุ์ “สีสันในสังคมพหุวัฒนธรรมของชาวใต้ หมายเลข 2” สีอะครีลิคบนผ้าบาติก 270 x 270 ซม ได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน ศิลปินหยิบยกเอาการทำผ้าบาติกซึ่งเป็นศิลปะที่พบเห็นได้ทั่วไปทางใต้มาถ่ายทอดสีสันที่สดใสลงไปในรูปแบบของผ้าบาติกเป็นรูปสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมที่แตกต่างหลากหลาย แต่ศิลปินต้องการนำเสนอว่าวัฒนธรรมที่หลากหลายเหล่านั้นอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขในดินแดนภาคใต้ ในขณะที่ผลงานของกูซอฟียะฮ์ นิบือซา “สุขใต้ วิถี” ภาพพิมพ์ประกอบ 225 x 243ซม ได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 65 ปี 2562 ซึ่งนำเสนอความงามของการอยู่ร่วมกันของชาวไทยพุทธ ไทยมลายู และไทยเชื้อสายจีน ผลงานภาพพิมพ์แบบสามมิติที่ถ่ายทอดภาพบุคคลและเรื่องราวอย่างตรงไปตรงมา สะท้อนวิถีชีวิตในชุมชนตลาดสดที่ผู้คนจากหลากหลายวัฒนธรรมมาพบกัน การเลือกใช้ภาพพิมพ์สามมิติสามารถแสดงออกซึ่งความเหมือนจริงของเรื่องราวและตัวบุคคลได้อย่างดี นอกจากนี้ศิลปินยังใส่ลวดลายที่สะท้อนวัฒนธรรมต่างๆไว้บนวัตถุต่างๆที่ปรากฎในภาพด้วย ศิลปินไทยหลากหลายคนได้แสดงออกไปในทิศทางดังกล่าว โดยการนำอัตลักษณ์ประจำถิ่นมานำเสนอผสานจินตนาการทางการ จนมาสู่ผลงานศฺลปะที่สะท้อนความเป็นไปทางสังคม ประเพณี วัฒนธรรม
ผลงานภาพพิมพ์ตะแกรงไหมของพงษ์ศิริ คิดดี “บรรยากาศของสีแห่งความศรัทธาในดินแดนล้านนา หมายเลข 2” ภาพพิมพ์ตะแกรงไหม 163 x 123 ซม ได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 66 ในปีถัดมา ซึ่งการนำเสนอภาพความงามของสถาปัตยกรรมวัดทางล้านนา การเลือกเทคนิคภาพพิมพ์ตะแกรงไหมสามารถสะท้อนทักษะระดับสูงของศิลปินได้เป็นอย่างดี ที่สามารถรับรู้ได้จากระยะใกล้ กลาง และไกลแตกต่างกันออกไป และถ่ายทอดภาพความงามศรัทธาต่อวัฒนธรรมในดินแดนล้านนนาได้อย่างสมบูรณ์ ในขณะที่ผลงานจิตรกรรมของศักชัย อุทธิโท “มิติความดีงามของอารยธรรมแห่งบรรพชน” จิตรกรรมสีน้ำมันบนผ้าใบ 200 x 250 ซม และ 200 x 258 ซม ได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 66 ปี 2563 และการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 67 ปี 2564 ด้วยลักษณะการแสดงออกและการให้คุณค่าของวัฒนธรรมบรรพชนพื้นถิ่นอีสานนั่นคือ ผ้าทอ และนำเสนอผ่านการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมสีน้ำมันที่มีเทคนิคและรูปแบบเฉพาะตัว มีความน่าสนใจในมิติของเทคนิค ด้วยการใช้ฝีแปรงที่รวดเร็วผนวกกับการเล่าเรื่องราวที่นำเอาโครงสร้างจากศิลปวัฒนธรรมดังกล่าวมานำเสนอ อาจกล่าวได้ว่า เนื้อหาที่นำเสนออาจไม่ใช่ประเด็นหลักของผลงานในกลุ่มนี้ แต่เนื้อหาเหล่านั้นสามารถแสดงเทคนิคในการสร้างสรรค์เฉพาะตัวของศิลปินได้อย่างดี และสอดคล้องกัน และส่งเสริมให้เทคนิคที่ศิลปินเลือกใช้นั้นชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ผลงานภาพพิมพ์ตะแกรงไหมของพงษ์ศิริ คิดดี “บรรยากาศของสีแห่งความศรัทธาในดินแดนล้านนา หมายเลข 2” ภาพพิมพ์ตะแกรงไหม 163 x 123 ซม ได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 66 ในปีถัดมา ซึ่งการนำเสนอภาพความงามของสถาปัตยกรรมวัดทางล้านนา การเลือกเทคนิคภาพพิมพ์ตะแกรงไหมสามารถสะท้อนทักษะระดับสูงของศิลปินได้เป็นอย่างดี ที่สามารถรับรู้ได้จากระยะใกล้ กลาง และไกลแตกต่างกันออกไป และถ่ายทอดภาพความงามศรัทธาต่อวัฒนธรรมในดินแดนล้านนนาได้อย่างสมบูรณ์ ในขณะที่ผลงานจิตรกรรมของศักชัย อุทธิโท “มิติความดีงามของอารยธรรมแห่งบรรพชน” จิตรกรรมสีน้ำมันบนผ้าใบ 200 x 250 ซม และ 200 x 258 ซม ได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 66 ปี 2563 และการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 67 ปี 2564 ด้วยลักษณะการแสดงออกและการให้คุณค่าของวัฒนธรรมบรรพชนพื้นถิ่นอีสานนั่นคือ ผ้าทอ และนำเสนอผ่านการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมสีน้ำมันที่มีเทคนิคและรูปแบบเฉพาะตัว มีความน่าสนใจในมิติของเทคนิค ด้วยการใช้ฝีแปรงที่รวดเร็วผนวกกับการเล่าเรื่องราวที่นำเอาโครงสร้างจากศิลปวัฒนธรรมดังกล่าวมานำเสนอ อาจกล่าวได้ว่า เนื้อหาที่นำเสนออาจไม่ใช่ประเด็นหลักของผลงานในกลุ่มนี้ แต่เนื้อหาเหล่านั้นสามารถแสดงเทคนิคในการสร้างสรรค์เฉพาะตัวของศิลปินได้อย่างดี และสอดคล้องกัน และส่งเสริมให้เทคนิคที่ศิลปินเลือกใช้นั้นชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ใต้ร่มพระพุทธศาสนา สังขารและการเสื่อมสลาย
|
ผลงานในหมวดนี้คือ ผลงานที่ได้นำเอาเนื้อหาของพุทธศาสนาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายทอดคำสอนทางพุทธศาสนา หรือ การตีความทางพุทธศาสนาในเรื่องของความตาย สังขาร การเสื่อมสลาย มานำเสนอผ่านรูปกายมนุษย์ที่ตรงไปตรงมาตามแนวคิด และการนำเอาภาพแทนของธรรมชาติ และสัญลักษณ์ต่างๆมาถ่ายทอดด้วยเทคนิคทางจิตรกรรม ไปจนถึงผลงานที่สะท้อนภาพของพุทธศาสนาและพระสงฆ์ในสังคมปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งผลงานเชิงบวกและเชิงวิพากษ์ ซึ่งสามารถพบได้ตั้งแต่ในยุคแรกๆ ทั้งในจิตรกรรมและภาพพิมพ์ และถือเป็นหมวดเนื้อหาที่พบได้มากที่สุด |
ในปี 2539 ผลงานของปริญญา ตันติสุข “วัฏฏะ” สีอะครีลิคและทองคำเปลวบนผ้าใบ 150 x 190 ซม ได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 42 ซึ่งนำเอาสัญลักษณ์และทัศนธาตุ สี พื้นผิว ทองคำเปลว มาสร้างสัญญะที่แสดงถึงวัฏฏะ ความแปรเปลี่ยน และ สัจธรรมในการดำรงชีวิตที่ได้รับแรงบันดาลใจจากพุทธศาสนา ผลงานจิตรกรรมของปริญญานั้นใช้สัญลักษณ์ที่เรียบง่ายแต่ลึกซึ้ง ในขณะที่ในปี 2540 ผลงานจิตรกรรมของ ไพโรจน์ วังบอน “ภายใต้ความเปลี่ยนแปลง” สีน้ำมันบนผ้าใบ 200 x 300 ซม ได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 43กลับแสดงออกถึงเรื่องของการแปรเปลี่ยนผ่านภาพสัญลักษณ์ของธรรมชาติ ที่สะท้อนการดำรงอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์แห่งการเปลี่ยนแปลงด้วยเทคนิคเฉพาะตัวที่ใช้การเช็ดปาดสีในขณะยังไม่แห้งเพื่อสร้างพื้นผิวรูปทรงร่องรอยต่างๆให้แก่ผลงานที่สามารถสะท้อนแนวคิดและเรื่องราวเกี่ยวกับความไม่เที่ยงแท้และการเสื่อมสลายได้อย่างดี
แต่ผลงานที่สร้างแรงกระเพื่อมอย่างมากจากเรื่องราวเนื้อหาที่สัมพันธ์กับพุทธศาสนาคือ ผลงานที่เกิดขึ้นในช่วงปี 2549 และ 2550 ของอนุพงษ์ จันทร “เศษบุญ-เศษกรรม” สีอะครีลิคบนจีจร 190 x 210 ซม ได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 52 และ “ภิกษุสันดานกา” สีอะครีลิคบนจีวร 200 x 290 ซม รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 53 ซึ่งเป็นการนำเอาเรื่องราวทางพุทธศาสนาในแง่ของการวิพากษ์ความเป็นไปในวงพระสงฆ์ที่ประพฤติปฏิบัติตนไปในทางที่ผิด ผลงานได้ฉีกขนบของการนำเรื่องราวของพุทธศาสนามาถ่ายทอด หากแต่ถือได้เป็นการบันทึกปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยที่สัมพันธ์กับพุทธศาสนาได้อย่างชัดเจน และเป็นจุดเริ่มต้นที่ส่งผลต่อผลงานในเชิงวิพากษ์วิจารณ์สังคมในแง่มุมอื่นๆที่ตามมา ทำให้สังคมตื่นตัวกับการวิพากษ์วิจารณ์ศาสนา นอกจากการสื่อสารเนื้อหาในเชิงลบแล้ว ยังถือได้ว่าในแง่ของเทคนิควิธีการแสดงออกในเชิงจิตรกรรมนั้น ผลงานของอนุพงษ์ยังแสดงให้เห็นทักษะทางจิตรกรรมชั้นสูง อีกทั้งการเลือกใช้ผืนจีวรแทนผืนผ้าใบเพื่อสื่อความหมายที่สอดคล้องไปกับเนื้อหาที่ศิลปินต้องการนำเสนอได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น
ในขณะที่มีศิลปินที่นำเอาคำสอนทางพุทธศาสนามาตีความและใส่สัญลักษณ์ทางพุทธต่างๆ และเลือกเทคนิควิธีการนำเสนอที่ไม่ใช่งานจิตรกรรมสีน้ำมันหรืออะครีลิกแบบเดิมๆ ผลงานของสุพร แก้วดา “ห้วงแห่งการก่อเกิด-เสื่อมสลาย หมายเลข 6” ดินสอไขบนผ้าใบ 250 x 450ซม ได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 56 ในปี 2553 เป็นการถ่ายทอดการก่อเกิดและเสื่อมสลายด้วยการวาดเส้นด้วยดินสอไขที่มีความละเอียดอ่อน เบา และประณีต เส้นที่มีลวดลายแบบลายไทยสัมพันธ์กับความหมายที่ศิลปินต้องการสื่ออย่างชัดเจน
นอกจากนี้ยังมีศิลปินที่นำเสนอภาพจิตรกรรมแบบเหมือนจริง ถ่ายทอดเรื่องราวอย่างตรงไปตรงมา แต่นำเสนอด้วยเทคนิคจิตรกรรมชั้นสูงของตน ผลงานของประดิษฐ์ ตั้งประสาทวงศ์ “คำสอนพระพุทธ หมายเลข 1” สีน้ำมันบนผ้าใบ 260 x 180 ซม และ “แรงบันดาลใจจากคำสอนพระพุทธ (ภาวนาพุทโธ)” สีน้ำมันบนผ้าใบ 177.5 x 212.5 ซม ได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 62 ปี 2559 และรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 64 ในปี 2561 ตามลำดับ ศิลปินถ่ายทอดภาพสังขารที่ร่วงโรยในช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิตโดยนำเอาคำสอนทางพุทธศาสนามากำหนด ภาพบุคคลและความเสื่อมสลายของสังขารที่เห็นในผลงานนั้นจึงเป็นดังเครื่องเตือนใจให้ผู้ชมระลึกถึงความไม่จีรังยั่งยืนของร่างกาย
ผลงานที่ปรากฏในหมวดหมู่นี้มักจะพบได้ในผลงานจิตรกรรม เนื่องจากเหมาะสมในการเล่าเรื่องและสะท้อนแนวคิด คำสอน แรงบันดาลใจ ทางพุทธศาสนาได้ตรงกับเทคนิควิธีที่นำเสนอ พบว่า มีทั้งผลงานที่นำเสนอคำสอนในลักษณะตรงไปตรงมา ถ่ายทอดเป็นงานจิตรกรรมเหมือนจริง สะท้อนภาพในเชิงเล่าเรื่อง และ อีกส่วนคือ ผลงานที่นำเอาคำสอนมาตีความแล้วถ่ายทอดด้วยการใช้สัญลักษณ์ต่างๆ
แต่ผลงานที่สร้างแรงกระเพื่อมอย่างมากจากเรื่องราวเนื้อหาที่สัมพันธ์กับพุทธศาสนาคือ ผลงานที่เกิดขึ้นในช่วงปี 2549 และ 2550 ของอนุพงษ์ จันทร “เศษบุญ-เศษกรรม” สีอะครีลิคบนจีจร 190 x 210 ซม ได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 52 และ “ภิกษุสันดานกา” สีอะครีลิคบนจีวร 200 x 290 ซม รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 53 ซึ่งเป็นการนำเอาเรื่องราวทางพุทธศาสนาในแง่ของการวิพากษ์ความเป็นไปในวงพระสงฆ์ที่ประพฤติปฏิบัติตนไปในทางที่ผิด ผลงานได้ฉีกขนบของการนำเรื่องราวของพุทธศาสนามาถ่ายทอด หากแต่ถือได้เป็นการบันทึกปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยที่สัมพันธ์กับพุทธศาสนาได้อย่างชัดเจน และเป็นจุดเริ่มต้นที่ส่งผลต่อผลงานในเชิงวิพากษ์วิจารณ์สังคมในแง่มุมอื่นๆที่ตามมา ทำให้สังคมตื่นตัวกับการวิพากษ์วิจารณ์ศาสนา นอกจากการสื่อสารเนื้อหาในเชิงลบแล้ว ยังถือได้ว่าในแง่ของเทคนิควิธีการแสดงออกในเชิงจิตรกรรมนั้น ผลงานของอนุพงษ์ยังแสดงให้เห็นทักษะทางจิตรกรรมชั้นสูง อีกทั้งการเลือกใช้ผืนจีวรแทนผืนผ้าใบเพื่อสื่อความหมายที่สอดคล้องไปกับเนื้อหาที่ศิลปินต้องการนำเสนอได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น
ในขณะที่มีศิลปินที่นำเอาคำสอนทางพุทธศาสนามาตีความและใส่สัญลักษณ์ทางพุทธต่างๆ และเลือกเทคนิควิธีการนำเสนอที่ไม่ใช่งานจิตรกรรมสีน้ำมันหรืออะครีลิกแบบเดิมๆ ผลงานของสุพร แก้วดา “ห้วงแห่งการก่อเกิด-เสื่อมสลาย หมายเลข 6” ดินสอไขบนผ้าใบ 250 x 450ซม ได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 56 ในปี 2553 เป็นการถ่ายทอดการก่อเกิดและเสื่อมสลายด้วยการวาดเส้นด้วยดินสอไขที่มีความละเอียดอ่อน เบา และประณีต เส้นที่มีลวดลายแบบลายไทยสัมพันธ์กับความหมายที่ศิลปินต้องการสื่ออย่างชัดเจน
นอกจากนี้ยังมีศิลปินที่นำเสนอภาพจิตรกรรมแบบเหมือนจริง ถ่ายทอดเรื่องราวอย่างตรงไปตรงมา แต่นำเสนอด้วยเทคนิคจิตรกรรมชั้นสูงของตน ผลงานของประดิษฐ์ ตั้งประสาทวงศ์ “คำสอนพระพุทธ หมายเลข 1” สีน้ำมันบนผ้าใบ 260 x 180 ซม และ “แรงบันดาลใจจากคำสอนพระพุทธ (ภาวนาพุทโธ)” สีน้ำมันบนผ้าใบ 177.5 x 212.5 ซม ได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 62 ปี 2559 และรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 64 ในปี 2561 ตามลำดับ ศิลปินถ่ายทอดภาพสังขารที่ร่วงโรยในช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิตโดยนำเอาคำสอนทางพุทธศาสนามากำหนด ภาพบุคคลและความเสื่อมสลายของสังขารที่เห็นในผลงานนั้นจึงเป็นดังเครื่องเตือนใจให้ผู้ชมระลึกถึงความไม่จีรังยั่งยืนของร่างกาย
ผลงานที่ปรากฏในหมวดหมู่นี้มักจะพบได้ในผลงานจิตรกรรม เนื่องจากเหมาะสมในการเล่าเรื่องและสะท้อนแนวคิด คำสอน แรงบันดาลใจ ทางพุทธศาสนาได้ตรงกับเทคนิควิธีที่นำเสนอ พบว่า มีทั้งผลงานที่นำเสนอคำสอนในลักษณะตรงไปตรงมา ถ่ายทอดเป็นงานจิตรกรรมเหมือนจริง สะท้อนภาพในเชิงเล่าเรื่อง และ อีกส่วนคือ ผลงานที่นำเอาคำสอนมาตีความแล้วถ่ายทอดด้วยการใช้สัญลักษณ์ต่างๆ
ห้วงแห่งจิตใต้สำนึก ความฝัน และสภาวะภายใน
|
ผลงานในหมวดหมู่นี้นำเอาเรื่องราวของความเป็นปัจเจกบุคคลมาถ่ายทอด มุ่งเน้นการแสดงถึงสภาวะภายใน จิตใต้สำนึก ความฟุ้งฝันของศิลปิน พบว่า ผลงานส่วนใหญ่ในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติมักสะท้อนเรื่องราวปัจเจกของศิลปินผู้สร้างโดยคละกันไปไม่จำกัดยุคสมัย ผลงานในกลุ่มนี้ที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผลงานที่เป็นเลิศจะสามารถเลือกเทคนิควิธีการสร้างสรรค์เฉพาะที่สามารถแสดงออกเรื่องราวเหล่านี้ได้อย่างเหมาะสมและสมบูรณ์ที่สุด |
ผลงานของประสงค์ ลือเมือง “ลำนำอรหันต์” สีฝุ่น 170 x 280 ซม ได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 34 ปี 2531 สะท้อนเรื่องราวความสนุกสนาน ความสุข ความเบิกบานใจของศิลปินที่นำเสนอผ่านเส้นสายสีสันต่างๆ ราวกับตัวละครเหล่านั้นกำลังกระโดดโลดเต้นด้วยความสนุก หากแต่การนำเอาลายเส้นและรูปแบบรายละเอียดแบบจิตรกรรมท้องถิ่นและการใช้สีฝุ่นมาสร้างสรรค์ในแบบจิตรกรรมร่วมสมัยกลับส่งเสริมให้ผลงานนี้มีความโดดเด่น ในขณะที่ในปีถัดมา ผลงานของชาติชาย ปุยเปีย “ภวังค์แห่งอำนาจ” เทคนิคผสม 125 x 197 ซม ได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 35 ปี 2532 นำเสนอสภาวะภายในจิตใจของศิลปินที่เป็นราวกับอำนาจเร้นลับที่นอกเหนือตัวตนจะสามารถควบคุมได้ ซึ่งมีความตรงกันข้ามกันอย่างสิ้นเชิง ศิลปินเลือกใช้เทคนิคจิตรกรรมผสมมาถ่ายทอด ด้วยการใช้น้ำหนักของสีที่ชัดเจน หนักแน่น ทำให้สามารถสะท้อนความรู้สึกออกมาได้อย่างสมบูรณ์
ผลงานในหมวดหมู่เนื้อหานี้ที่พบเห็นได้มากคือ ผลงานประเภทภาพพิมพ์ ซึ่งอาจเนื่องจากเทคนิคทางภาพพิมพ์ที่เน้นค่าน้ำหนักและความสมบูรณ์ของงานภาพพิมพ์มักขึ้นกับความสามารถของศิลปินที่ถ่ายทอดค่าน้ำหนักออกมาได้อย่างสมบูรณ์ ดังนั้นเนื้อหาที่เกี่ยวกับการสะท้อนความรู้สึก สภาวะภายในจิตใจ หรือ แม้แต่ความฝัน จึงเป็นเนื้อหาที่พบได้มากในผลงานภาพพิมพ์ ในผลงานของประวีณ เปียงชมภู “พื้นที่สภาวะแห่งความสุขสงบของจิต หมายเลข 2” ภาพพิมพ์แกะไม้ 77 x 120 ซม รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 61 ปี 2558 และ “พื้นที่ความสงบ” ภาพพิมพ์แกะไม้ 109 x 130 ซม รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 67 ปี 2564 ถ่ายทอดความรู้สึกภายในจิตใจของศิลปินผ่านเทคนิคภาพพิมพ์แกะไม้ได้อย่างสมบูรณ์ บรรยากาศที่เบาบางที่ศิลปินต้องการนำเสนอ ได้นำมาถ่ายทอดผ่านการแกะไม้ด้วยเทคนิคเฉพาะบุคคลในการขูด ขัด และ แกะไม้เพื่อให้เกิดลักษณะของความบางเบา ไม่คมชัดเป็นน้ำหนักขาวและดำอย่างผลงานแกะไม้ทั่วไป โดยศิลปินยังคงยึดเนื้อหาเดิมที่มุ่งถ่ายทอดพื้นที่เฉพาะซึ่งแสดงสภาวะของความสงบแต่กลับค่าน้ำหนักจากอ่อนไปเข้มได้อย่างดี ในขณะที่ผลงานของ ลดากร พวงบุปผา “ยามฝัน นิรันดร์” ภาพพิมพ์ร่องลึก 134 x 174 ซม รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 67 ปี 2564 เช่นกัน เป็นผลงานภาพพิมพ์ที่นำเสนอเรื่องราวผ่านจินตนาการที่ศิลปินได้ผสานระหว่างจินตนาการของตนเองกับจินตนาการของผู้เป็นแม่ ผสมผสานสิ่งที่ผู้เป็นแม่คิดออกมาเป็นผลงานที่ถ่ายทอดภาพที่ราวกับอยู่ในดินแดนแห่งจินตนาการและความฝัน
ผลงานในหมวดหมู่เนื้อหานี้ที่พบเห็นได้มากคือ ผลงานประเภทภาพพิมพ์ ซึ่งอาจเนื่องจากเทคนิคทางภาพพิมพ์ที่เน้นค่าน้ำหนักและความสมบูรณ์ของงานภาพพิมพ์มักขึ้นกับความสามารถของศิลปินที่ถ่ายทอดค่าน้ำหนักออกมาได้อย่างสมบูรณ์ ดังนั้นเนื้อหาที่เกี่ยวกับการสะท้อนความรู้สึก สภาวะภายในจิตใจ หรือ แม้แต่ความฝัน จึงเป็นเนื้อหาที่พบได้มากในผลงานภาพพิมพ์ ในผลงานของประวีณ เปียงชมภู “พื้นที่สภาวะแห่งความสุขสงบของจิต หมายเลข 2” ภาพพิมพ์แกะไม้ 77 x 120 ซม รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 61 ปี 2558 และ “พื้นที่ความสงบ” ภาพพิมพ์แกะไม้ 109 x 130 ซม รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 67 ปี 2564 ถ่ายทอดความรู้สึกภายในจิตใจของศิลปินผ่านเทคนิคภาพพิมพ์แกะไม้ได้อย่างสมบูรณ์ บรรยากาศที่เบาบางที่ศิลปินต้องการนำเสนอ ได้นำมาถ่ายทอดผ่านการแกะไม้ด้วยเทคนิคเฉพาะบุคคลในการขูด ขัด และ แกะไม้เพื่อให้เกิดลักษณะของความบางเบา ไม่คมชัดเป็นน้ำหนักขาวและดำอย่างผลงานแกะไม้ทั่วไป โดยศิลปินยังคงยึดเนื้อหาเดิมที่มุ่งถ่ายทอดพื้นที่เฉพาะซึ่งแสดงสภาวะของความสงบแต่กลับค่าน้ำหนักจากอ่อนไปเข้มได้อย่างดี ในขณะที่ผลงานของ ลดากร พวงบุปผา “ยามฝัน นิรันดร์” ภาพพิมพ์ร่องลึก 134 x 174 ซม รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 67 ปี 2564 เช่นกัน เป็นผลงานภาพพิมพ์ที่นำเสนอเรื่องราวผ่านจินตนาการที่ศิลปินได้ผสานระหว่างจินตนาการของตนเองกับจินตนาการของผู้เป็นแม่ ผสมผสานสิ่งที่ผู้เป็นแม่คิดออกมาเป็นผลงานที่ถ่ายทอดภาพที่ราวกับอยู่ในดินแดนแห่งจินตนาการและความฝัน
ใบหน้า ร่างกาย และภาพบุคคล
|
ผลงานที่สะท้อนความรู้สึกภายในจิตใจของศิลปิน บางครั้งถ่ายทอดผ่านภาพใบหน้า หรือ ร่างกาย ของตน ซึ่งนำเสนอในเชิงความคิดไปสู่ประเด็นต่างๆ เช่น ประเด็นทางสังคม ประเด็นทางวัฒนธรรม อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดภายในของตน หรือเป็นการนำภาพบุคคลมาถ่ายทอด นำเสนอในเชิงความงามของแบบเพื่อแสดงทักษะฝีมือในเทคนิคการสร้างสรรค์นั้นๆ ผลงานลักษณะนี้ในยุคแรกอาจเป็นเพียงภาพเหมือนบุคคล แต่ในยุคหลังมาผลงานมีการแสดงออกของเทคนิคที่ซับซ้อนขึ้น ศิลปินบางคนเลือกที่จะถ่ายทอดภาพเหมือนของตนเองเพื่อนำไปสู่การถ่ายทอดประเด็นที่มากไปกว่าการถ่ายทอดภาพเหมือนบุคคล |
ภาพเหมือนบุคคลที่โดดเด่นมากในเวทีการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ คือ ผลงานของจักรพันธุ์ โปษยกฤต “ภาพเหมือน (สุวรรณี สุคนธา)” สีน้ำมันบนผ้าใบ 103 x 108 ซม ได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 17 ในปี 2514 และ “ดวงตา นันทขว้าง” สีน้ำมันบนผ้าใบ 150 x 180 ซม รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 20 ในปี 2517 ผลงานจิตรกรรมทั้งคู่กลายเป็นผลงานต้นแบบที่สามารถถ่ายทอดความรู้สึกและอารมณ์ของผู้เป็นแบบผ่านสีหน้า แววตา ได้เป็นอย่างดีด้วยเทคนิคทางจิตรกรรมสีน้ำมัน
ในยุคหลังมาโดยเฉพาะในช่วงทศวรรษที่ 2540 เป็นต้นมา เมื่อศิลปินเริ่มนำเอาวัสดุสร้างสรรค์อื่นๆทาใช้ในผลงาน จึงพบเห็นการสร้างผลงานจิตรกรรมที่นำเอาวัสดุที่หลากหลายมานำเสนอ ส่วนหนึ่งคือ การถ่ายทอดภาพบุคคลเช่นเดิม แต่ใช้วัสดุที่มีความเฉพาะมาสร้าง ซึ่งลักษณะของวัสดุยังขับเน้นความหมายของเนื้อหาของบุคคลนั้นๆตามที่ศิลปินต้องการจะสื่อ และสร้างความน่าสนใจและมิติใหม่ๆให้เกิดขึ้นในผลงานอีกด้วย เช่นผลงานของอัฐพร นิมมาลัยแก้ว “ร่างกายแม่ (แม่) หมายเลข 2” เทคนิคผสมวัสดุ 175 x 120 ซม ได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 51 ปี 2548 โดยศิลปินได้ถ่ายทอดภาพของแม่ออกมาผ่านการใช้เส้นด้ายยึดโยง ออกมาเป็นผลงานลักษณะที่มีมิติ ให้ความรู้สึกถึงร่างกายที่มีการเคลื่อนไหว การใช้ชีวิตที่ผ่านการทำงาน ผ่านความสุขและความทุกข์ต่างๆ การเลือกใช้วัสดุจึงสอดคล้องกับเนื้อหาที่ต้องการนำเสนอ
ผลงานภาพพิมพ์ก็เช่นกัน นอกจากการนำเอาภาพร่างกายหรือบุคคลมาถ่ายทอดผ่านเทคนิคทางภาพพิมพ์ที่ถ่ายทอดเพียงภาพต้นแบบ แต่ยังมีการนำเอาเทคนิคใหม่ๆที่ผสมผสานออกมาเป็นผลงานที่นำเอาภาพร่างกายของตัวศิลปินเองมานำเสนอ ผลงานของกมลพันธุ์ โชติวิชัย “Self” ภาพพิมพ์ดิจิทัลและตัดกระดาษ 182.5 x 111ซม รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 57 ในปี 2554และผลงาน “Emptiness” ภาพพิมพ์ดิจิทัลและตัดกระดาษ 85 x 132 ซม รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 58 ในปี 2555 เป็นการผสานเทคนิคการพิมพ์ดิจิทัลแบบภาพถ่ายกับการตัดกระดาษเป็นเส้นที่ทำให้ผลงานเกิดมิติขึ้น การกรีดมีดลงบนภาพร่างกายตัวเองเป็นการสำรวจความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและจิตใจ และรู้เท่าทันสภาวการณ์ที่เผชิญอยู่ เสมือนการตั้งสติกับความมีตัวตน ถือได้ว่าศิลปินได้สร้างกระแสของการผสมผสานเทคนิคอื่นเข้าไปในกระบวนการภาพพิมพ์
ในยุคหลังมาโดยเฉพาะในช่วงทศวรรษที่ 2540 เป็นต้นมา เมื่อศิลปินเริ่มนำเอาวัสดุสร้างสรรค์อื่นๆทาใช้ในผลงาน จึงพบเห็นการสร้างผลงานจิตรกรรมที่นำเอาวัสดุที่หลากหลายมานำเสนอ ส่วนหนึ่งคือ การถ่ายทอดภาพบุคคลเช่นเดิม แต่ใช้วัสดุที่มีความเฉพาะมาสร้าง ซึ่งลักษณะของวัสดุยังขับเน้นความหมายของเนื้อหาของบุคคลนั้นๆตามที่ศิลปินต้องการจะสื่อ และสร้างความน่าสนใจและมิติใหม่ๆให้เกิดขึ้นในผลงานอีกด้วย เช่นผลงานของอัฐพร นิมมาลัยแก้ว “ร่างกายแม่ (แม่) หมายเลข 2” เทคนิคผสมวัสดุ 175 x 120 ซม ได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 51 ปี 2548 โดยศิลปินได้ถ่ายทอดภาพของแม่ออกมาผ่านการใช้เส้นด้ายยึดโยง ออกมาเป็นผลงานลักษณะที่มีมิติ ให้ความรู้สึกถึงร่างกายที่มีการเคลื่อนไหว การใช้ชีวิตที่ผ่านการทำงาน ผ่านความสุขและความทุกข์ต่างๆ การเลือกใช้วัสดุจึงสอดคล้องกับเนื้อหาที่ต้องการนำเสนอ
ผลงานภาพพิมพ์ก็เช่นกัน นอกจากการนำเอาภาพร่างกายหรือบุคคลมาถ่ายทอดผ่านเทคนิคทางภาพพิมพ์ที่ถ่ายทอดเพียงภาพต้นแบบ แต่ยังมีการนำเอาเทคนิคใหม่ๆที่ผสมผสานออกมาเป็นผลงานที่นำเอาภาพร่างกายของตัวศิลปินเองมานำเสนอ ผลงานของกมลพันธุ์ โชติวิชัย “Self” ภาพพิมพ์ดิจิทัลและตัดกระดาษ 182.5 x 111ซม รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 57 ในปี 2554และผลงาน “Emptiness” ภาพพิมพ์ดิจิทัลและตัดกระดาษ 85 x 132 ซม รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 58 ในปี 2555 เป็นการผสานเทคนิคการพิมพ์ดิจิทัลแบบภาพถ่ายกับการตัดกระดาษเป็นเส้นที่ทำให้ผลงานเกิดมิติขึ้น การกรีดมีดลงบนภาพร่างกายตัวเองเป็นการสำรวจความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและจิตใจ และรู้เท่าทันสภาวการณ์ที่เผชิญอยู่ เสมือนการตั้งสติกับความมีตัวตน ถือได้ว่าศิลปินได้สร้างกระแสของการผสมผสานเทคนิคอื่นเข้าไปในกระบวนการภาพพิมพ์
สุนทรียภาพแห่งพื้นที่ ที่ว่าง รูปทรง
|
ผลงานประเภทนามธรรม เป็นผลงานที่พบเห็นได้เป็นหลักในเวทีการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ในช่วงทศวรรษที่ 10 ถึงทศวรรษที่ 20 และเป็นที่นิยมอย่างมากจนอาจกล่าวได้ว่า ในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นยุคทองของศิลปะนามธรรม และเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายมาก ซึ่งผลงานที่เป็นเลิศในแบบนามธรรมนั้นจะมีความงามที่ลงตัว มีเอกภาพ และความสมบูรณ์ในตัวเอง ปราศจากการชี้นำทางความคิดหรือพรรณนาถึงวัตถุ มีเพียงความสมบูรณ์ทางทัศนธาตุที่เป็นรูปทรง เส้น สี น้ำหนัก พื้นที่ว่างที่ปรากฏในผลงาน ทำให้ผลงานศิลปะนามธรรมนั้นมีความงามอันบริสุทธิ์ นอกจากนั้น ยังปรากฎความหลากหลายในแนวทางสร้างสรรค์ทั้งการแสดงความชัดเจนของทัศนธาตุที่เน้นเส้นขอบคมชัด การนำเสนอสภาวะของอารมณ์ภายในที่สงบ เป็นระเบียบ แต่แฝงตัวอยู่ในรูปทรงที่เคลื่อนไหว ซึ่งพบได้ทั้งผลงานประเภทจิตรกรรมและภาพพิมพ์ |
ผลงานจิตรกรรมของ นิพันธ์ ผริตะโกมล “ป่า” เทคนิคผสม 170 x 170 ซม ได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 16 ปี 2513 นำเสนอภาพของป่าด้วยลักษณะของผลงานแบบนามธรรมมากกว่าจะมุ่งถ่ายทอดภาพของป่าแบบภาพเหมือน ในปี 2516 อนันต์ ปาณินท์ ได้สร้างสรรค์ผลงาน “จิตรกรรม Painting” สีน้ำมันบนผ้าใบ 73 x 73 ซม ได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 19 ซึ่งศิลปินมักสร้างสรรค์งานในแนวทางนามธรรมบริสุทธิ์ ปราศจากเรื่องราว เน้นฝีแปรงฉับไว และอาศัยเพียงทัศนธาตุที่สมบูรณ์ในผลงาน จากผลงานทั้งสองชิ้นนี้แสดงได้เห็นชัดเจนว่าในยุคนั้นนิยมสร้างผลงานนามธรรมบริสุทธิ์ที่ปราศจากเรื่องราวเพื่อเป็นทางออกของศิลปินที่ไม่สร้างงานที่พูดเรื่องการเมือง หรือ สะท้อนความขัดแย้งทางการเมือง
นอกจากผลงานจิตรกรรมแนวนามธรรมที่พบเห็นได้มากในช่วงทศวรรษที่ 10 ถึง 20 ภาพพิมพ์ที่นำเสนอแนวทางแบบนามธรรมนั้นถือได้ว่าพบเห็นได้มากมายและเป็นที่นิยม โดยการนำเสนอผ่านทัศนธาตุที่เป็นรูปทรง เส้น สี น้ำหนัก และพื้นที่ว่าง ไม่เน้นถ่ายทอดภาพเหมือน แต่นำเสนอด้วยความรู้สึก ด้วยอารมณ์ภายในของศิลปิน ไม่ว่าจะเป็นผลงานของทวน ธีระพิจิตร “องค์ประกอบ หมายเลข 2” ภาพพิมพ์แกะไม้ 93 x 79ซม รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 18 ปี 2515 ผลงานของเดชา วราชุน “ภาพพิมพ์ 1/2512 หมายเลข 2” ภาพพิมพ์ตะแกรงไหม 81 x 65ซม รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 20 ปี 2517 และผลงานของ อิทธิพล ตั้งโฉลก “ผนังอี” ภาพพิมพ์โลหะร่องลึก 60 x 79ซม รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 25 ปี 2522
นอกจากผลงานจิตรกรรมแนวนามธรรมที่พบเห็นได้มากในช่วงทศวรรษที่ 10 ถึง 20 ภาพพิมพ์ที่นำเสนอแนวทางแบบนามธรรมนั้นถือได้ว่าพบเห็นได้มากมายและเป็นที่นิยม โดยการนำเสนอผ่านทัศนธาตุที่เป็นรูปทรง เส้น สี น้ำหนัก และพื้นที่ว่าง ไม่เน้นถ่ายทอดภาพเหมือน แต่นำเสนอด้วยความรู้สึก ด้วยอารมณ์ภายในของศิลปิน ไม่ว่าจะเป็นผลงานของทวน ธีระพิจิตร “องค์ประกอบ หมายเลข 2” ภาพพิมพ์แกะไม้ 93 x 79ซม รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 18 ปี 2515 ผลงานของเดชา วราชุน “ภาพพิมพ์ 1/2512 หมายเลข 2” ภาพพิมพ์ตะแกรงไหม 81 x 65ซม รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 20 ปี 2517 และผลงานของ อิทธิพล ตั้งโฉลก “ผนังอี” ภาพพิมพ์โลหะร่องลึก 60 x 79ซม รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 25 ปี 2522
คุณค่าความงามจาก แสง และ เงา
|
ผลงานในหมวดหมู่นี้ใช้เทคนิคการสร้างสรรค์เป็นตัวนำในการแสดงออก โดยศิลปินจะเน้นไปที่การใช้เส้น สี แสง และเงา ในการนำเสนอ ซึ่งต้องอาศัยทักษะฝีมืออันเป็นเลิศ ผลงานกลุ่มนี้อาจไม่ได้ยึดโยงกับเนื้อหาประเด็นที่มีตัวละคร หรือ เรื่องราว แต่นำเสนอความสมบูรณ์ของการนำเส้น สี แสง และเงา มาใช้ พบได้ทั้งผลงานประเภทจิตรกรรมและภาพพิมพ์ |
ผลงานจิตรกรรมที่โดดเด่นและสร้างชื่อเสียงให้แก่ศิลปิน และกลายเป็นอัตลักษณ์ในการสร้างสรรค์งานคือ ผลงานของปรีชา เถาทอง ในผลงาน “แสงและเงา 4” สีอะครีลิคบนผ้าใบ 108 x 123 ซม รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 23 ปี 2520 “วัด 1” เทคนิคผสม 150 x 130 ซม รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 24 ปี 2521 และ “รูปทรงของแสงบนเนื้อที่ของเงา 1” สีอะครีลิคบนผ้าใบ 140 x 170 ซม รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 25 ปี 2522 ตามลำดับ ซึ่งเป็นการนำเอาแสง และ เงา มาเป็นหลักในการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมที่นำเอาภาพสถาปัตยกรรมวัดไทยมาเป็นแบบ ความโดดเด่นของผลงานอยู่ที่ศิลปินได้ใช้แสงและเงามาเป็นต้นทางที่ถ่ายทอดออกมาได้อย่างลงตัวและสร้างมิติของการรับรู้ให้เกิดขึ้นในผลงานจิตรกรรม ซึ่งถือเป็นความโดดเด่นและเป็นความเฉพาะตัวของศิลปินและเป็นผลงานที่ได้รับรางวัลสูงสุดติดต่อกันทั้งสามปี
ในผลงานประเภทภาพพิมพ์เอง การนำเสนอแสงและเงาอย่างชัดเจนช่วยส่งเสริมให้เห็นทักษะที่ศิลปินมีในเทคนิคนั้นๆ โดยเฉพาะการนำเสนอผ่านเทคนิคภาพพิมพ์เมซโซทินท์ ผลงานของบุญมี แสงขำ “สาระ สัจจะ ความจริง หมายเลข 20” ภาพพิมพ์เมซโซทินท์ 75 x 105 ซม ได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 59 ปี 2556 นำเอาหลักคำสอนทางศาสนาพุทธมานำเสนอ หากแต่การนำเสนอด้วยค่าน้ำหนักดำสนิทที่ตัดกับน้ำหนักขาวได้อย่างชำนาญเป็นส่วนที่โดดเด่นอย่างยิ่ง
ในผลงานประเภทภาพพิมพ์เอง การนำเสนอแสงและเงาอย่างชัดเจนช่วยส่งเสริมให้เห็นทักษะที่ศิลปินมีในเทคนิคนั้นๆ โดยเฉพาะการนำเสนอผ่านเทคนิคภาพพิมพ์เมซโซทินท์ ผลงานของบุญมี แสงขำ “สาระ สัจจะ ความจริง หมายเลข 20” ภาพพิมพ์เมซโซทินท์ 75 x 105 ซม ได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 59 ปี 2556 นำเอาหลักคำสอนทางศาสนาพุทธมานำเสนอ หากแต่การนำเสนอด้วยค่าน้ำหนักดำสนิทที่ตัดกับน้ำหนักขาวได้อย่างชำนาญเป็นส่วนที่โดดเด่นอย่างยิ่ง
สังคมและการพัฒนา
|
ผลงานในหมวดนี้แสดงถึงการสะท้อนสังคม โดยเฉพาะสังคมเมือง การพัฒนาที่ส่งผลลบหรือผลกระทบต่อสังคมในระดับต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบต่อตัวบุคคลหรือศิลปินเอง หรือ ผลกระทบในมุมกว้างในระดับสังคม หรือ ประเทศ ในประเด็นที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม หรือ ผลกระทบต่อธรรมชาติ ไปจนถึงการสะท้อนปัญหาทางสังคมต่างๆ จนถึงเรื่องของความเป็นมนุษย์ ความเห็นแก่ตัว การกระทำที่มีผลในเชิงสังคม ผลงานในประเด็นเหล่านี้จะสามารถพบเห็นได้มากในช่วง 20 ปีหลังของการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ซึ่งศิลปินนำเอาเรื่องราวรอบตัวที่ไม่ใช่ในด้านความงาม หรือ ความเป็นท้องถิ่น มานำเสนอความคิด และหลายครั้งจะพบในผลงานของศิลปินที่มีการย้ายถิ่นฐานจากชนบทเข้ามาสู่เมือง |
ผลงานภาพพิมพ์ของณัฐกมล ตั้งธนะพงศ์ “Garbage” ภาพพิมพ์แกะไม้ 135 x 195 ซม ได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 46 ปี 2543 หรือ ปี 2000 ซึ่งเป็นปีที่มีจุดเปลี่ยนหลายๆอย่างในสังคม ผู้คนเริ่มตื่นตระหนกต่อสภาวะทางสังคมต่างๆที่กระทบความเป็นอยู่ของตน ผลงานของศิลปินสะท้อนปัญหาทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากความเจริญทางวัตถุที่เข้ามามีผลต่อการเกิดขยะจำนวนมาก และนำเสนอผ่านผลงานภาพพิมพ์เทคนิคแกะไม้ที่ใช้วัสดุไฟฟ้ามาใช้ในการแกะพิมพ์ สามารถสร้างพื้นผิวและร่องรอยที่แปลกใหม่ให้แก่ผลงานได้อย่างดี
ผลงานจิตรกรรมของ เทิดเกียรติ หวังวัชรกุล “อบอุ่นในความทุกข์ยาก หมายเลข 1” สีน้ำมันบนอลูมิเนียม 184 x 245 ซม รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 47 นำเสนอภาพชีวิตของคนจนในเมืองใหญ่ ซึ่งถือเป็นเนื้อหาที่พบได้บ่อยในยุคที่สังคมเมืองเริ่มขยาย คนจนจากต่างพื้นที่เข้ามาทำมาหากินในเมืองหลวง ความแตกต่างระหว่างคนรวยและคนจน และการดิ้นรนเพื่อจะมีชีวิตอยู่ในสังคมเมือง ศิลปินเลือกใช้อลูมิเนียมแทนผืนผ้าใบโดยสร้างร่อยรอยและพื้นผิวซึ่งสามารถสะท้อนภาพแนวคิดของตัวได้อย่างดี ซึ่งจิตรกรรมแนวเทคนิคผสมถือได้ว่ามีความนิยมอย่างมากในช่วงนั้น
ยังมีผลงานที่มีเนื้อหาที่สะท้อนภาพใหญ่ที่กระทบต่อวงจรชีวิตและสิ่งแวดล้อม เช่น ความเจริญของเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการตัดต่อพันธุกรรมพืช ผ่านผลงานภาพพิมพ์ของ วีระพงษ์ ศรีตระกูลกิจการ “กลายร่าง-รุกราน-ภัยแฝง” ภาพพิมพ์แกะไม้ 160 x 350ซม รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 54 ปี 2551 ซึ่งเรื่องราวของการตัดต่อพันธุกรรมพืชเริ่มเป็นที่กล่าวถึงตามหน้าสื่อต่างๆ กลายเป็นประเด็นที่ขยับจากเรื่องของตนเองมาสู่เรื่องราวภายนอกที่เป็นประเด็นสังคม ขนาดของผลงานที่มีขนาดใหญ่มาก ส่งผลต่อการรับรู้ผลงาน ประกอบกับการเลือกเทคนิคการแกะไม้ด้วยสีสันและพื้นผิวที่สอดคล้องกับประเด็นที่นำเสนอ นอกจากนี้ยังมีศิลปินหยิบเอาเรื่องของสิ่งแวดล้อมมาใช้ ไม่เพียงแต่นำมาเป็นเนื้อหา แต่ยังผ่านกระบวนการสร้างสรรค์ด้วย ผลงานของ ญาณวิทย์ กุญแจทอง “พายุลูกเห็บ 2560”ภาพพิมพ์สีจากธรรมชาติ (คราม, ขมิ้นชัน, ตีนเป็ดฝรั่ง, น้ำผึ้ง และกาวกระถิน) และข้อมูลสร้างสรรค์ 135 x 136 x 9.5 ซม รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 63 นำเสนอให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ของสภาพแวดล้อมที่แปรปรวนจากสภาวะโลกร้อน และการพัฒนาที่ไม่มีที่สิ้นสุด หากแต่ศิลปินไม่เพียงแต่นำเอาเนื้อหาของความเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติและสภาพอากาศมานำเสนอเท่านั้น แต่ยังทดลองกระบวนการภาพพิมพ์สีธรรมชาติซึ่งนำสีมาจากพืชพรรณทางธรรมชาติต่างๆ และนำเสนอควบคู่กับสีที่ใช้และบันทึกไว้ ถือได้ว่าเป็นรูปแบบของการนำเสนอที่เน้นกระบวนการและความคิดมากกว่าสุนทรียะปลายทางของผลงาน
การเปลี่ยนแปลงของเมืองจากความเจริญเป็นหัวข้อที่ศิลปินหยิบยกมาถ่ายทอดได้เสมอ ศิลปินบางคนอาจนำเอาเรื่องราวของพื้นที่ที่ตนเองอาศัยอยู่ หรือ ประสบพบเจอมาถ่ายทอด เช่นผลงานของ สุทธิเกียรติ พุ่มพวง “เชียงใหม่ สภาวการณ์ปัจจุบัน” ทราย 200 x 280 ซม สีอะครีลิคบนผ้าใบ รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 58 ปี 2555 นำเสนอภาพความเปลี่ยนแปลงของเมืองเชียงใหม่ ไม่ว่าจะเป็นด้านวัฒนธรรม สิ่งปลูกสร้าง หรือ สภาพแวดล้อมรายรอบ ผ่านการใช้ทรายมาเป็นวัสดุสร้างสรรค์หลักที่ผสานกับสัญลักษณ์ทางจิตรกรรมไทยประเพณีและภาพของวัดวาต่างๆในเมืองเชียงใหม่
เช่นเดียวกับผลงานของ วิทยา หอทรัพย์ “สะพานพระราม 8” สีอะครีลิคและปากกาเคมี 200 x 280 ซม รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 65 ซึ่งนำเสนอภาพเมืองแบบ “ดิสโทเปีย” ซึ่งความเป็นดิสโทเปียคือสิ่งที่ตรงกันข้ามกับยูโทเปีย นั่นคือเมืองที่ไม่น่าอยู่ ที่เป็นภาพของความเลวร้ายไม่ว่าจะเป็นผลจากพัฒนาการทางสิ่งแวดล้อม หรือ การบิดเบี้ยวทางจริยธรรมและการปกครองบ้านเมือง ภาพที่ศิลปินถ่ายทอดมานั้นปะปนกันระหว่างความจริงและความไม่จริง เป็นภาพของเมืองที่เห็นจริงๆ และเมืองในอนาคตที่เป็นเพียงซากปรักหักพัง และถ่ายทอดด้วยการวาดเส้นด้วยปากกาเคมี ผลงานวาดเส้นธรรมดาๆ แต่กลับสามารถสร้างพลังการสื่อสารในแนวความคิดว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปรของสังคมได้อย่างน่าสนใจ แสดงให้เห็นความเป็นอยู่ในสังคมปัจจุบันที่ดูเหมือนสังคมกำลังจะล่มสลายกลายเป็นเศษซากต่อหน้า
ผลงานจิตรกรรมของ เทิดเกียรติ หวังวัชรกุล “อบอุ่นในความทุกข์ยาก หมายเลข 1” สีน้ำมันบนอลูมิเนียม 184 x 245 ซม รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 47 นำเสนอภาพชีวิตของคนจนในเมืองใหญ่ ซึ่งถือเป็นเนื้อหาที่พบได้บ่อยในยุคที่สังคมเมืองเริ่มขยาย คนจนจากต่างพื้นที่เข้ามาทำมาหากินในเมืองหลวง ความแตกต่างระหว่างคนรวยและคนจน และการดิ้นรนเพื่อจะมีชีวิตอยู่ในสังคมเมือง ศิลปินเลือกใช้อลูมิเนียมแทนผืนผ้าใบโดยสร้างร่อยรอยและพื้นผิวซึ่งสามารถสะท้อนภาพแนวคิดของตัวได้อย่างดี ซึ่งจิตรกรรมแนวเทคนิคผสมถือได้ว่ามีความนิยมอย่างมากในช่วงนั้น
ยังมีผลงานที่มีเนื้อหาที่สะท้อนภาพใหญ่ที่กระทบต่อวงจรชีวิตและสิ่งแวดล้อม เช่น ความเจริญของเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการตัดต่อพันธุกรรมพืช ผ่านผลงานภาพพิมพ์ของ วีระพงษ์ ศรีตระกูลกิจการ “กลายร่าง-รุกราน-ภัยแฝง” ภาพพิมพ์แกะไม้ 160 x 350ซม รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 54 ปี 2551 ซึ่งเรื่องราวของการตัดต่อพันธุกรรมพืชเริ่มเป็นที่กล่าวถึงตามหน้าสื่อต่างๆ กลายเป็นประเด็นที่ขยับจากเรื่องของตนเองมาสู่เรื่องราวภายนอกที่เป็นประเด็นสังคม ขนาดของผลงานที่มีขนาดใหญ่มาก ส่งผลต่อการรับรู้ผลงาน ประกอบกับการเลือกเทคนิคการแกะไม้ด้วยสีสันและพื้นผิวที่สอดคล้องกับประเด็นที่นำเสนอ นอกจากนี้ยังมีศิลปินหยิบเอาเรื่องของสิ่งแวดล้อมมาใช้ ไม่เพียงแต่นำมาเป็นเนื้อหา แต่ยังผ่านกระบวนการสร้างสรรค์ด้วย ผลงานของ ญาณวิทย์ กุญแจทอง “พายุลูกเห็บ 2560”ภาพพิมพ์สีจากธรรมชาติ (คราม, ขมิ้นชัน, ตีนเป็ดฝรั่ง, น้ำผึ้ง และกาวกระถิน) และข้อมูลสร้างสรรค์ 135 x 136 x 9.5 ซม รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 63 นำเสนอให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ของสภาพแวดล้อมที่แปรปรวนจากสภาวะโลกร้อน และการพัฒนาที่ไม่มีที่สิ้นสุด หากแต่ศิลปินไม่เพียงแต่นำเอาเนื้อหาของความเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติและสภาพอากาศมานำเสนอเท่านั้น แต่ยังทดลองกระบวนการภาพพิมพ์สีธรรมชาติซึ่งนำสีมาจากพืชพรรณทางธรรมชาติต่างๆ และนำเสนอควบคู่กับสีที่ใช้และบันทึกไว้ ถือได้ว่าเป็นรูปแบบของการนำเสนอที่เน้นกระบวนการและความคิดมากกว่าสุนทรียะปลายทางของผลงาน
การเปลี่ยนแปลงของเมืองจากความเจริญเป็นหัวข้อที่ศิลปินหยิบยกมาถ่ายทอดได้เสมอ ศิลปินบางคนอาจนำเอาเรื่องราวของพื้นที่ที่ตนเองอาศัยอยู่ หรือ ประสบพบเจอมาถ่ายทอด เช่นผลงานของ สุทธิเกียรติ พุ่มพวง “เชียงใหม่ สภาวการณ์ปัจจุบัน” ทราย 200 x 280 ซม สีอะครีลิคบนผ้าใบ รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 58 ปี 2555 นำเสนอภาพความเปลี่ยนแปลงของเมืองเชียงใหม่ ไม่ว่าจะเป็นด้านวัฒนธรรม สิ่งปลูกสร้าง หรือ สภาพแวดล้อมรายรอบ ผ่านการใช้ทรายมาเป็นวัสดุสร้างสรรค์หลักที่ผสานกับสัญลักษณ์ทางจิตรกรรมไทยประเพณีและภาพของวัดวาต่างๆในเมืองเชียงใหม่
เช่นเดียวกับผลงานของ วิทยา หอทรัพย์ “สะพานพระราม 8” สีอะครีลิคและปากกาเคมี 200 x 280 ซม รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 65 ซึ่งนำเสนอภาพเมืองแบบ “ดิสโทเปีย” ซึ่งความเป็นดิสโทเปียคือสิ่งที่ตรงกันข้ามกับยูโทเปีย นั่นคือเมืองที่ไม่น่าอยู่ ที่เป็นภาพของความเลวร้ายไม่ว่าจะเป็นผลจากพัฒนาการทางสิ่งแวดล้อม หรือ การบิดเบี้ยวทางจริยธรรมและการปกครองบ้านเมือง ภาพที่ศิลปินถ่ายทอดมานั้นปะปนกันระหว่างความจริงและความไม่จริง เป็นภาพของเมืองที่เห็นจริงๆ และเมืองในอนาคตที่เป็นเพียงซากปรักหักพัง และถ่ายทอดด้วยการวาดเส้นด้วยปากกาเคมี ผลงานวาดเส้นธรรมดาๆ แต่กลับสามารถสร้างพลังการสื่อสารในแนวความคิดว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปรของสังคมได้อย่างน่าสนใจ แสดงให้เห็นความเป็นอยู่ในสังคมปัจจุบันที่ดูเหมือนสังคมกำลังจะล่มสลายกลายเป็นเศษซากต่อหน้า
จะเห็นได้ว่า แนวทางและรูปแบบการสร้างสรรค์ของผลงานเหล่านี้นั้นมีการนำประเด็นต่างๆมาถ่ายทอดสลับไปมาในแต่ละปี โดยไม่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับปีที่สร้างผลงานนัก นอกจากจะเป็นประเด็นที่โดดเด่นในสังคมในยุคนั้น หรือ เป็นแนวทางที่นิยมในยุคนั้น ผลงานที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผลงานศิลปกรรมที่เป็นเลิศในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติในแต่ละปี จะต้องเป็นผลงานที่สามารถถ่ายทอดสื่อสารความคิดในประเด็นดังกล่าวได้อย่างชัดเจน ผ่านเทคนิคสร้างสรรค์ที่ศิลปินเลือกใช้ที่แสดงความชำนาญและทักษะขั้นสูงในการสร้างสรรค์ได้อย่างสมบูรณ์ |