HERITAGE BUILDING
มหาลัยศิลปากร วิทยาเขตวังท่าพระได้มีการปรับปรุงวังครั้งใหญ่ในระหว่างปีพศ.2562-2563 เป็นการปรับปรุงสภาพแวดล้อม และอาคารทั้งหมดภายในมหาวิทยาลัย รวมถึงส่วนอาคารหอศิลป์ด้วย แต่อย่างที่ทราบกันว่าอาคารของหอศิลป์นั้นเป็นอาคารโบราณ ซึ่งมีรายละเอียด และมีความแตกต่างจากการก่อสร้างอาคารในแบบปัจจุบัน จึงมีความจำเป็นต้องใช้แนวทางการซ่อมแซมอนุรักษ์โบราณสถานตามหลักวิชาการ
การบูรณะอาคารในครั้งนี้ ทางหอศิลป์ได้ทำงานร่วมกับกรมศิลปากร และสถาปนิกผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรมไทย จนได้แนวทางในการอนุรักษ์อาคารที่เหมาะสม ซึ่งหอศิลป์ได้รวบรวมข้อมูล และขั้นตอนของการอนุรักษ์และซ่อมแซมอาคารอนุรักษ์ ในส่วนของอาคารหอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยมีรายละเอียดดังนี้
การบูรณะอาคารในครั้งนี้ ทางหอศิลป์ได้ทำงานร่วมกับกรมศิลปากร และสถาปนิกผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรมไทย จนได้แนวทางในการอนุรักษ์อาคารที่เหมาะสม ซึ่งหอศิลป์ได้รวบรวมข้อมูล และขั้นตอนของการอนุรักษ์และซ่อมแซมอาคารอนุรักษ์ ในส่วนของอาคารหอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยมีรายละเอียดดังนี้
กระเบื้องหลังคา
ในส่วนของหลังคาท้องพระโรง พบว่าเกิดความเสียหายตามกาลเวลา มีบางส่วนแตก และบางส่วนหลุด หายไป จึงต้องมีการซ่อมแซมตามวิธีการดั้งเดิม กระเบื้องหลังคาท้องพระโรง ใช้วิธีการมุงหลังคาแบบโบราณ โดยวิธีการเรียงจะซ้อนวางสลับกัน แต่ละแถวจะใช้กระเบื้องในลักษณะเดียวกัน ซ้อนสลับกับอีกแถว ซึ่งกระเบื้องที่ซ้อนจะเกาะกันอยู่ด้วยสลักล็อคด้านหลัง โดยไม่มีการใช้สารเคมีใดๆช่วย โดยกระเบื้องที่นำมาซ่อมแซมจะใช้วิธีการผลิตแบบดั้งเดิม เป็นกระเบื้องเกล็ดปลา มีลักษณะ ทรงปลายโค้งมนวางเรียงซ้อนกันจนคล้ายเกล็ดปลา ในการมุงกระเบื้องเกล็ดปลาจะต้องใช้กระเบื้อง 2 แบบเรียกทั่วไปว่า แผ่นสั้นและแผ่นยาว โดยใช้แผ่นยาววางบนระแนงจากนั้นวางแผ่นสั้นซ้อนบนแผ่นยาวอีกทีจึงจะวางแผ่นยาวบนระแนงแถวถัดไปได้ และกระเบื้องทรงเหลี่ยม ตัวชายเป็นแนวตัด จะอยู่ปลายสุดของหลังคา |
ช่อฟ้า
|
ผนังภายนอกอาคารอนุรักษ์
อาคารอนุรักษ์ พบการหลุดร่อนของผิวผนังภายนอก หากปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้รับการซ่อมแซม ยิ่งทำให้โครงสร้างอาคารสึกกร่อนเร็ว และอาจทำให้เกิดความเสียหายในวงกว้างได้ ขั้นตอนในการซ่อมแซมผนังภายนอกอาคารอนุรักษ์ ช่างจะสำรวจความเสียหายของสีภายนอกสุดของอาคารซึ่งเป็นชั้นปูนตำ หากพบความเสียหายจะขูดชั้นปูนตำออก เพื่อทำการซ่อมแซม ในบางส่วนของอาคาร อาจพบความเสียหายไปถึงชั้นปูนหมัก ซึ่งเป็นชั้นฉาบทับผิวอิฐ หรืออาจเสียหายไปจนถึงชั้นอิฐโครงสร้าง ซึ่งมีทั้งความเสียหายเฉพาะบริเวณผิวหน้า และเสียหายทั้งก้อน ในกรณีที่เสียหายเฉพาะบริเวณผิวหน้า ช่างจะเซาะผิวอิฐออก แล้วตัดอิฐใหม่เติมกลับเข้าไปให้เสมอกัน แต่หากเสียหายทั้งก้อน ช่างจำเป็นต้องนำอิฐใหม่มาเสริมกลับเข้าแทนที่เป็นชิ้นๆไป โดยอิฐใหม่นี้เป็นอิฐที่มีกระบวนการเผาแบบโบราณดั้งเดิม |
ปูนหมัก ปูนตำ เนื่องจากสีภายนอกอาคารตำหนักกลาง มีการหลุดร่อน ซีดจางจากกาลเวลา และปัจจัยภายนอกต่างๆ จึงต้องซ่อมแซมผิวผนังรอบตัวอาคารทั้งหมด ปูนหมัก ปูนตำ นำมาใช้ในงานอนุรักษ์อาคารโบราณสถาน เนื่องจากมีความยืดหยุ่นสูง และระบายความชื้นได้ดี เมื่อมีการซ่อมแซมหรือจำเป็นต้องเซาะในครั้งต่อไป จะมีแรงยึดตัวอิฐเท่าปูนเคมีสำเร็จรูป และเนื่องจากมีเนื้อละเอียดไม่มากเท่า จึงสามารถเซาะออกง่าย ไม่ทำลายบริเวณผิวหน้าอิฐ และโครงสร้างอาคารในระยะยาว ซึ่งปูนหมักปูนตำเป็นขั้นตอนหลังจากการก่ออิฐ โดยจะฉาบปูนหมัก ทับผิวอิฐให้เรียบเสมอกัน จากนั้นจึงฉาบปูนตำ ซึ่งเป็นชั้นนอกสุดของตัวอาคาร แล้วจึงขัดผิวเพื่อให้เกิดความเรียบมันวาว |
สีภายนอก ในส่วนของเฉดสี จะยึดสีเหลืองจากการอนุรักษ์อาคารเมื่อครั้งล่าสุด โดยช่างจะเว้นหลักฐานของสีเหลืองบนอาคารไว้หนึ่งตำแหน่ง เพื่อใช้เปรียบเทียบกับสีที่ได้ผสมใหม่ให้ใกล้เคียงที่สุด โดยมีที่ปรึกษาจากกรมศิลปากรเป็นผู้พิจารณาเฉดสี ในการฉาบสี ช่างจะฉาบสีรองพื้นสีขาวก่อนในชั้นแรก รอจนแห้งแล้วจึงฉาบสีเหลืองให้เสมอกัน ในขั้นตอนสุดท้ายจะเป็นการเก็บผิวผนังให้เรียบเนียนสวยงาม ด้วยเทคนิคเฉพาะของช่าง |
|
ขูดสีไม้
สีบานประตูและหน้าต่างไม้ของอาคารอนุรักษ์ เกิดการหลุดร่อน จึงต้องมีการทำสีใหม่ โดยอ้างอิงจากสีเดิม โดยช่างจะเริ่มจากการทาน้ำยากัดสีไม้ทิ้งไว้ จากนั้นใช้เกรียงขูดสีชั้นเก่าออก แล้วจึงขัดเนื้อไม้อีกรอบก่อนทาสีใหม่ เพื่อให้สีที่ทาใหม่ติดทนนาน หากไม่ขูดสีก่อนทา จะทำให้สีไม่สม่ำเสมอ ยึดติดไม่ดี และอาจหลุดร่อนภายหลังได้ |
การถอด และติดไม้ฝ้าเข้าที่
ในการปรับปรุงระบบไฟฟ้าของอาคาร จำเป็นต้องถอดไม้ฝ้าบางส่วนเพื่อเดินสายไฟใต้ฝ้า จึงต้องสร้างสัญลักษณ์บนแผ่นไม้ฝ้าที่ถอดออกมา โดยการเขียนหมายเลขกำกับตำแหน่งไว้ เพื่อให้ง่ายต่อการติดตั้งกลับเข้าที่เดิม อีกทั้งการถอดไม้ออกมายังมีข้อดีตรงที่สามารถตรวจสภาพไม้ฝ้า เมื่อพบไม้ฝ้าที่ได้รับความเสียหายหรือ ชำรุด จะต้องเปลี่ยนไม้ โดยไม้ฝ้าใหม่นั้นยังคงยึดขนาดจากไม้ฝ้าชิ้นเดิม |