Screening
หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับ Documentary Club ชวนชม ‘Poetry’ ของผู้กำกับ อีชางดง เรื่องราวของหญิงชราที่ทดลองเริ่มเขียนบทกวีที่พรรณนาความงามของชีวิตประจำวัน ก่อนจะพบว่าความจริงอีกบางอย่าง ที่ทำให้ตระหนักว่าชีวิตก็ไม่ได้สวยงามอย่างที่คิด! และสารคดีที่สร้างจากชีวิตจริงเรื่อง ‘Next Sohee’ ที่พาผู้ชมไปร่วมสืบสวนและตีแผ่สภาพแวดล้อมการทำงานที่โหดร้ายในสังคมเกาหลีใต้ซึ่งเต็มไปด้วยการแข่งขันอันอยุติธรรม!
. จัดฉายที่หอศิลป์ทั้ง 2 วิทยาเขต! สามารถเลือกวันและสถานที่เข้าชมได้เลยค่ะ - Poetry - วันพุธที่ 9 ตุลาคม 2567 > หอศิลป์ฯ วังท่าพระ กทม. วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม 2567 > หอศิลป์สนามจันทร์ จ.นครปฐม เวลา 16.30 น. - Next Sohee - วันพุธที่ 16 ตุลาคม 2567 > หอศิลป์ฯ วังท่าพระ กทม. วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม 2567 > หอศิลป์สนามจันทร์ จ.นครปฐม เวลา 16.30 น. . ราคาบัตร 80 บาทต่อเรื่อง / ราคาบัตรคอมโบ 150 บาท เข้าชมได้ 2 เรื่อง! ที่นั่งจำนวนจำกัด / สามารถชำระเงินเพื่อสำรองที่นั่งล่วงหน้าได้ทางข้อความเพจค่ะ FB : ART CENTRE, SILPAKORN UNIVERSITY |
หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับ Documentary Club
ชวนชม Dune เวอร์ชั่นปี 1984 กำกับโดย เดวิด ลินช์! จัดฉายที่หอศิลป์ทั้ง 2 วิทยาเขต! สามารถเลือกวันและสถานที่เข้าชมได้เลยค่ะ วันพุธที่ 25 กันยายน 2567 > หอศิลป์ฯ วังท่าพระ กทม. วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน 2567 > หอศิลป์สนามจันทร์ จ.นครปฐม เวลา 16.30 น. ราคาบัตร 80 บาท ที่นั่งจำนวนจำกัด / สามารถชำระเงินเพื่อสำรองที่นั่งล่วงหน้าได้ทางข้อความเพจค่ะ FB : ART CENTRE, SILPAKORN UNIVERSITY ----------------------------------------------------------------------- Dune (US / 1984 / 2h 17m / Director : David Lynch / Stars : Kyle MacLachlan, Virginia MadsenF, Sean Young) ลินช์ตีความเรื่องเล่าจากนวนิยายไซ-ไฟขายดีตลอดกาลปี 1965 ของ แฟรงค์ เฮอร์เบิร์ต ที่พูดถึงการต่อกรกับจักรวรรดิเผด็จการในโลกอนาคตอันไกลโพ้นของ พอล อะเทรดิส ลูกชายของผู้ปกครองดาวคาลาแดน (รับบทโดย ไคล์ แม็กลาคแลน นักแสดงหน้าใหม่ขณะนั้นที่ต่อมาได้เล่นบทนำใน Blue Velvet และซีรีส์สุดเหวอเรื่อง Twin Peaks ของลินช์) หลังจากที่ผู้เป็นพ่อถูกจักรวรรดิสั่งการให้ไปดูแล ‘ดูน’ หรืออาร์ราคิส ดวงดาวทะเลทรายอันเต็มไปด้วยทรัพยากรล้ำค่าแห่งจักรวาล ซึ่งเขาอาจต้องประสบกับภัยอันตรายทั้งจากสภาวะทางธรรมชาติและความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างดวงดาว หนังใช้เวลาสร้างนานกว่า 6 ปี ด้วยทีมงานเกือบ 1,700 คน และนักแสดงประกอบกว่า 20,000 คน, ยกกองไปถ่ายทำฉากสำคัญในทะเลทรายที่เม็กซิโก, ลงทุนหลายสิบล้านดอลลาร์ไปกับงานสร้างแสนเว่อร์วัง, ใช้เทคนิคพิเศษแทบทุกอย่างเท่าที่เทคโนโลยีในยุคนั้นจะเอื้ออำนวย, ได้วงร็อคชั้นนำแห่งยุคอย่าง Toto มาเป็นผู้แต่งเพลงประกอบสุดล้ำให้ และมีนักแสดงหลากรุ่นมาร่วมเสริมทัพความยิ่งใหญ่ อาทิ แม็กซ์ ฟอน ซีโดว์ (นักแสดงขาประจำของ อิงมาร์ เบิร์กแมน), ลินดา ฮันต์ (เจ้าของออสการ์จาก The Year of Living Dangerously), แพทริค สจวร์ต (ที่กลายมาเป็นที่รู้จักจากแฟรนไชส์ Star Trek และ X-Men), เวอร์จิเนีย แมดเซน หรือกระทั่ง Sting นักร้องนำแห่งวง The Police ที่มารับบท เฟย์ด-รอธา ตัวร้ายคลาสสิกแห่งบ้านฮาร์คอนเนน แม้ลินช์จะดัดแปลงนวนิยายวิทยาศาสตร์ที่เต็มไปด้วยรายละเอียดสุดซับซ้อนอย่าง Dune ได้สำเร็จเป็นครั้งแรกในโลกภาพยนตร์ (หลังจากที่ผู้กำกับจำนวนหนึ่งเคยพยายามมาก่อนในช่วงยุค 70) ทั้งยังได้เข้าชิงออสการ์สาขาบันทึกเสียงยอดเยี่ยม แต่งานชิ้นนี้ก็กลายเป็น ‘แผลใจ’ เพราะเขาไม่เพียงถูกโปรดิวเซอร์ ดิโน เดอ ลอเรนติส ควบคุมทุกขั้นตอนการผลิตเท่านั้น แต่ยังถูกนักวิจารณ์และแฟนหนังสือด่ายับ (ขณะที่เจ้าของต้นฉบับอย่างเฮอร์เบิร์ตกลับค่อนข้างพอใจกับหนัง) แถมยังขาดทุนเพราะทำเงินได้แค่ 30 ล้านดอลลาร์ จากทุนสร้าง 42 ล้าน อย่างไรก็ตาม หนทางพิสูจน์ม้า กาลเวลาก็พิเศษว่าองค์ประกอบสุดจะคัลต์ทั้งหลายในเรื่อง ทำให้ Dune ค่อย ๆ สะสมสาวกมากขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่วันที่ฉายมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่ช่วยปลอบโยนความรู้สึกของลินช์ได้ไม่น้อย เขากล่าวว่า "จริงอยู่ที่เมื่อมองย้อนกลับไป ผมอาจไม่ควรได้ทำหนังเรื่องนี้ แต่ในตอนนั้นผมเห็นถึงความเป็นไปได้มหาศาล นี่คือเรื่องราวที่เปิดโอกาสให้ผมได้ทำหนังโดยใส่ทุกอย่างที่ผมหลงใหลลงไปได้ทั้งหมดในคราวเดียว" |
หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับ Documentary Club ชวนสัมผัสบรรยากาศของหนังรักๆ ในรูปแบบที่แตกต่างกัน กับเรื่อง ‘Once’ เรื่องราวความรักของชายหญิงคู่หนึ่งที่ต่างมีปัญหาในเรื่องความรักจนติดพันเป็นปมในชีวิต ได้มาเจอกันในวันที่ต่างก็ต้องการกำลังใจอย่างที่สุด และสานสัมพันธ์กันผ่านบทเพลงที่ทั้งสองได้ร้องและเล่นร่วมกัน และอีกเรื่อง ‘Once Upon a Time in a Forest’ สารคดีที่พาผู้ชมสัมผัสวิถีชีวิตของคนหนุ่มสาวที่มีความรักในธรรมชาติ แต่ในขณะเดียวกันพวกเขายังต้องต่อสู้กับอคติของสังคมและกลุ่มนายทุนที่มีรัฐบาลหนุน ที่หวังกำไรจากการทำลายผืนป่าที่พวกเขารัก!
. จัดฉายที่หอศิลป์ทั้ง 2 วิทยาเขต! สามารถเลือกวันและสถานที่เข้าชมได้เลยค่ะ - Once - วันพุธที่ 7 สิงหาคม 2567 > หอศิลป์ฯ วังท่าพระ กทม. วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม 2567 > หอศิลป์สนามจันทร์ จ.นครปฐม เวลา 16.30 น. - Once Upon a Time in a Forest - วันพุธที่ 14 สิงหาคม 2567 > หอศิลป์ฯ วังท่าพระ กทม. วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม 2567 > หอศิลป์สนามจันทร์ จ.นครปฐม เวลา 16.30 น. . ราคาบัตร 80 บาทต่อเรื่อง / ราคาบัตรคอมโบ 150 บาท เข้าชมได้ 2 เรื่อง! ที่นั่งจำนวนจำกัด / สามารถชำระเงินเพื่อสำรองที่นั่งล่วงหน้าได้ทางข้อความเพจค่ะ FB : ART CENTRE, SILPAKORN UNIVERSITY |
Y - typeหอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับ Wildtype ชวนสัมผัสโลกความรักที่เปิดกว้างผ่านมุมมองของ 4 ผู้กำกับและ 4 หนังสั้นไปกับโปรแกรม Y-TYPE ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวของเพื่อนรักรักเพื่อน ความรู้สึกคงค้างที่ยังมีกับคนคุยเก่า ไปจนถึงการ(ถูก/ไม่ถูก)กีดกันอิสระในการใช้ชีวิตจากครอบครัวและสังคม
...ซึ่งขณะที่หนังชวนดำดิ่งไปในโลกที่ผู้ชายรักกัน อาจมีอะไรมากกว่านั้นให้ค้นหา!? จัดฉายที่หอศิลป์ทั้ง 2 วิทยาเขต! สามารถเลือกวันและสถานที่เข้าชมได้เลยค่ะ • วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม 2567 > หอศิลป์สนามจันทร์ จ.นครปฐม • วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม 2567 > หอศิลป์ฯ วังท่าพระ กทม. เวลา 16.30 น. ราคาบัตร 80 บาท / ที่นั่งจำนวนจำกัด / สามารถชำระเงินเพื่อสำรองที่นั่งล่วงหน้าได้ทางข้อความเพจค่ะ FB : ART CENTRE, SILPAKORN SILPAKORN UNIVERSITY • เยลลี่ปีโป้ (ชนิดา ช่วยแก้ว, 2023, 35.28 นาที)
เยลช่วยเป็นคู่ซ้อมรำให้ปีโป้เพื่อนสนิทที่เขาแอบชอบ แม้จะรู้อยู่แก่ใจว่าปีโป้นั้นแอบชอบพี่ติณฑ์อยู่ • Suits (ฐามุยา ทัศนานุกูลกิจ, 2023, 18.03 นาที) เน็ท เป็นเกย์ออกสาวที่ต้องกลับไปงานแต่งพี่ชาย เธอชอบการแต่งกายเป็นผู้หญิงซึ่งขัดกับคำร้องของแม่ที่อยากให้แต่งลุคแมน • He's My Star พี่ดาราของผม (กิลตา เทพฉิม, 2023, 38.12นาที) เฟมไปทดลองแคสติ้งบทนักแสดงซีรีส์วาย และพบว่าบทซีรีส์ทำมาจากนิยายวายซึ่งเป็นผลงานของ "เพื่อนสมัยมัธยม" ของเขา • Gray (สรวิศ สิทธิสาร, 2022, 20.23 นาที) ในวันนัดลองฟิตติ้ง เจ๊กะเทยทำเสื้อผ้าได้พบกับนักแสดงหนุ่มหล่อที่เธอเคยแอ๊วสมัยเขาอยู่ม.ต้นอีกครั้ง |
ORLANDO / WEEKENDหอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับ Documentary Club ขอต้อนรับ Pride Month กับโปรแกรมภาพยนตร์แบบจัดเต็มฉ่ำๆ 2 เรื่อง! “Orlando” และ “Weekend” ที่จะชวนให้คุณเปิดใจยอมรับและรักในความหลากหลายมากยิ่งขึ้น
จัดฉายที่หอศิลป์ทั้ง 2 วิทยาเขต! สามารถเลือกวันและสถานที่เข้าชมได้เลยค่ะ -Orlando- วันพุธที่ 12 มิถุนายน 2567 > หอศิลป์ฯ วังท่าพระ กทม. วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน 2567 > หอศิลป์สนามจันทร์ จ.นครปฐม เวลา 16.30 น. -Weekend- วันอังคารที่ 18 มิถุนายน 2567 > หอศิลป์สนามจันทร์ จ.นครปฐม วันพุธที่ 26 มิถุนายน 2567 > หอศิลป์ฯ วังท่าพระ กทม. เวลา 16.30 น. ราคาบัตร 80 บาทต่อเรื่อง / ราคาบัตรคอมโบ 150 บาท เข้าชมได้ 2 เรื่อง! ที่นั่งจำนวนจำกัด / สามารถชำระเงินเพื่อสำรองที่นั่งล่วงหน้าได้ทางข้อความเพจค่ะ FB : ART CENTRE, SILPAKORN UNIVERSITY |
Orlando, My Political Biography
(Paul B. Preciado / France / 2023 / 1h 38m) ปี 1928 เวอร์จิเนีย วูล์ฟ เขียน Orlando ซึ่งเป็นนิยายเรื่องแรกที่ตัวละครเอกเปลี่ยนเพศกลางเรื่อง หนึ่งศตวรรษต่อมา พอล บี พรีซิอาโด นักเขียนและนักเคลื่อนไหวทรานส์ตัดสินใจเขียนจดหมายในรูปแบบภาพยนตร์ส่งถึงวูลฟ์ เพื่อบอกเล่าว่า บัดนี้ "ออร์แลนโด" ของเธอได้ก้าวออกจากนิยาย กำเนิดใหม่ในหลากหลายร่าง และกำลังดำเนินชีวิตในโลกแห่งความจริงแบบที่เธออาจไม่เคยจินตนาการถึง พรีซิอาโดรวบรวมนักแสดง 25 คน ทั้งหมดเป็นทรานส์และนอนไบนารี่ ตั้งแต่อายุ 8 ขวบถึง 70 ปี ให้สวมวิญญาณเป็นออร์แลนโดพร้อมบอกเล่าเรื่องราวชีวิตของตัวเอง กลายเป็นจดหมายเหตุบันทึกประวัติศาสตร์ทรานส์กลางศตวรรษที่ 20 อันเป็นช่วงเวลาของการต่อสู้เพื่อการยอมรับและถูกมองเห็น |
Weekend
UK / 2011 / 1h 37m / Director: Andrew Haigh / Stars: Tom Cullen, Chris New คืนวันศุกร์ หลังสังสรรค์กับเพื่อนสเตรทและครอบครัวของพวกเขา รัสเซลล์เดินเข้าบาร์เพื่อผ่อนคลายความเหนื่อยล้าในใจ ที่นั่นเขาได้พบเกล็น และนั่นคือจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ที่แม้จะยาวนานเพียงหนึ่งสุดสัปดาห์ แต่มันเป็นเวลา 48 ชั่วโมงที่จะส่งผลต่อพวกเขาทั้งสองไปตลอดชีวิต "ผมอยากเล่าเรื่องราวความรักที่ซื่อตรง จริงใจ และเป็นธรรมชาติ ผมอยากถ่ายทอดความรู้สึกทั้งกลัวและตื่นเต้นที่เกิดขึ้นเมื่อเราได้พบโอกาสใหม่ ๆ และผมก็อยากเห็นคนสองคนนี้ในโมงยามที่พวกเขาค่อย ๆ ตกหลุมรักกันและกัน" แอนดรูว์ เฮห์ ผู้กำกับ-เขียนบทที่แจ้งเกิดอย่างงดงามในผลงานชิ้นที่ 2 นี้ของเขาบอกไว้ "รัสเซลล์กับเกล็นเป็นคนสองคนที่ดำเนินชีวิตแตกต่างกันมาก แต่ทั้งคู่ก็มองหาสิ่งเดียวกัน คือหาที่ทางของตนเองในโลกใบนี้ และการค้นหานั้นนำพวกเขามาพบกัน พวกเขาหลงใหลในความแตกต่างของกันและกันราวกับกำลังค้นพบชิ้นส่วนสำคัญที่ขาดหายไปของตัวเอง ช่วงเวลาเหล่านั้นที่พวกเขาแบ่งปันและเริ่มผูกพันกันอย่างแท้จริงนี่แหละคือสิ่งที่ผมอยากเก็บบันทึกไว้" |
Ryuichi Sakamoto : Opusหอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับ Documentary Club ชวนชม " Ryuichi Sakamoto : Opus" อาจเรียกได้ว่ามีความเป็น "หนังคอนเสิร์ต" มากกว่า "หนังสารคดี" เพราะมันเป็นงานบันทึกเพลงกว่า 5 ทศวรรษ 20 บทเพลงอมตะ การแสดงครั้งสุดท้ายของ “ริวอิจิ ซากาโมโตะ” คีตกวีผู้เป็นตำนาน ซึ่งทั้งหมดได้บันทึกไว้ในรูปแบบภาพยนตร์โดยบุตรชายของเขาเอง และทีมงานทั้งหมดที่เขาไว้วางใจ ก่อนที่เขาจะเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งในเดือนมีนาคม ปี 2023
. จัดฉายที่หอศิลป์ทั้ง 2 วิทยาเขต! สามารถเลือกวันและสถานที่เข้าชมได้เลยค่ะ วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤษภาคม 2567 > หอศิลป์สนามจันทร์ จ.นครปฐม วันศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม 2567 > หอศิลป์ฯ วังท่าพระ กทม. เวลา 16.30 น. ราคาบัตร 80 บาท / ที่นั่งจำนวนจำกัด / สามารถชำระเงินเพื่อสำรองที่นั่งล่วงหน้าได้ทางข้อความเพจค่ะ FB : ART CENTRE, SILPAKORN UNIVERSITY _____________________________ Ryuichi Sakamoto : Opus - ร่ำลา / 2023 / Duration : 1h 43m / Director: Neo Sora เราจะได้เห็นและฟังบทเพลง 20 บทที่ซากาโมโตะคัดเลือกมาด้วยตัวเองเพื่อเป็นภาพแทนชีวิตบนเส้นทางดนตรีทั้งชีวิตของเขา และระหว่างแต่ละบทเราจะได้เห็นเขาทั้งพยายามเล่นให้ได้ดังใจ ทั้งหงุดหงิดตัวเองที่ทำไม่ได้ ทั้งเปล่งประกายความเหนื่อยล้าและความสุขในแววตา แวดล้อมด้วยการจัดแสงที่เปลี่ยนผ่านจากค่ำคืนสู่กลางวัน แล้วกลับสู่ค่ำคืนอีกครั้งหนึ่ง นีโอ โซระ ศิลปินซึ่งเป็นลูกชายของซากาโมโตะเอง รับหน้าที่ผู้กำกับหนังเรื่องนี้ แน่นอนว่ามันเป็นงานที่ไม่ง่ายเมื่อเขารู้อยู่แก่ใจว่าสิ่งที่กำลังถ่ายตรงหน้าอาจคือโอกาสสุดท้าย แต่ขณะเดียวกัน โซระบอกว่าเขาก็ต้องรักษาความเป็นกลางในฐานะคนทำหนังเพื่อจะบันทึกกระบวนการทำงานของพ่อเอาไว้ให้ได้ แล้วส่งมอบเป็นของขวัญชิ้นสุดท้ายแก่คนทั้งโลก…จากพ่อผู้ยิ่งใหญ่และสง่างามของเขา “แน่นอนว่าผมรักเขา และรักดนตรีของเขา แต่ในทันทีที่การทำหนังเริ่มต้น ผมก็ต้องวางความรู้สึกส่วนตัวลงก่อนแล้วทุ่มจิตใจไปกับการทำให้แง่มุมทางเทคนิคทุกอย่างถูกต้อง เพราะด้วยสภาพร่างกายของเขา เราคงมีโอกาสได้ถ่ายสิ่งนี้ไว้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น” นีโอ โซระกล่าว ... |
EGOIST / สำคัญที่ฉันมีเธอ"ความรักคือความเห็นแก่ตัวหรือเปล่า
และเมื่อเรารักใคร สิ่งที่เราทำลงไปเป็นการทำเพื่อเขาหรือเพื่อตัวเองกันแน่ !?" . หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับ Documentary Club ชวนชมภาพยนตร์ผลงานกำกับของ ไดอิชิ มัตซึนากะ ดัดแปลงจากนิยายจากชีวิตจริงของผู้เขียน ทาคายามะ มาโคโตะ โดยบอกเล่าเรื่องราวความสัมพันธ์ของโคสุเกะและเรียวตะ ที่เต็มไปด้วยความรู้สึกอันซับซ้อน การให้ ตลอดจนความเห็นแก่ตัว... ในขณะเดียวกันภาพยนตร์ก็ได้นำผู้ชมสำรวจความหมายของความรัก ความสัมพันธ์ และตีความนิยามของความเป็นครอบครัวที่ถูกครอบทับด้วยระบบสังคมและวัฒนธรรมได้อย่างลึกซึ้งและน่าติดตาม . จัดฉายที่หอศิลป์ทั้ง 2 วิทยาเขต! สามารถเลือกวันและสถานที่เข้าชมได้เลยค่ะ วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน 2567 > หอศิลป์ฯ วังท่าพระ กทม. วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน 2567 > หอศิลป์สนามจันทร์ จ.นครปฐม เวลา 16.30 น. ราคาบัตร 80 บาท / ที่นั่งจำนวนจำกัด / สามารถชำระเงินเพื่อสำรองที่นั่งล่วงหน้าได้ทางข้อความเพจค่ะ FB : ART CENTRE, SILPAKORN UNIVERSITY ---------- EGOIST / สำคัญที่ฉันมีเธอ 120 นาที / ญี่ปุ่น / 2022 / กำกับ: ไดอิชิ มัตสึนากะ / นำแสดง : เรียวเฮ ซูซุกิ, ฮิโอะ มิยาซาวะ, ซาวาโกะ อางาวะ ภาพยนตร์จากนิยายชื่อเดียวกันของ ทาคายามะ มาโคโตะ สู่หนังที่สำรวจความรักความสัมพันธ์ได้อย่างสุดลึกซึ้งร้าวรานใจ เรื่องของ โคสุเกะ (เรียวเฮ ซูซุกิ) บรรณาธิการนิตยสารแฟชั่นที่ตกหลุมรัก เรียวตะ (ฮิโอะ มิยาซาวะ) เทรนเนอร์ฟิตเนสส่วนตัวของเขาเอง ความเงียบเหงาในชีวิตดึงดูดทั้งสองให้เข้าใกล้กันและเริ่มใช้เวลาร่วมกัน ก่อนที่ปูมหลังอันแตกต่างจะค่อย ๆ แทรกตัวเข้าระหว่างพวกเขาทั้งสอง วันหนึ่ทั้งคู่นัดกันไปขับรถเล่นริมทะเลเพื่อต้องการใช้เวลาร่วมกันและหวังว่าพวกเขาจะหวนคิดถึงความสุขร่วมกันอีกครั้ง แต่แล้ว เรียวตะกลับก็ไม่มา... ภาพยนตร์การันตีด้วยรางวัล Winner Rising Star Asia Award (เรียวเฮ ซูซูกิ) New York Asian Film Festival / นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม(ฮิโอะ มิยาซาวะ) Asian Film Award / เข้าชิงสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม Tokyo International Film Festiva |
รอวัน (HOURS OF OURS)หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับ Documentary Club ชวนชมภาพยนตร์สารคดีชีวิตของครอบครัวอิบราฮิม ชาวซูดานที่ลี้ภัยมายังกรุงเทพฯ สารคดีได้สะท้อนให้เห็นถึงการรอคอยและการปรับตัวในสภาวะก้ำกึ่งในขณะที่พวกเขาต้องรอการอนุมัติให้เข้าอยู่อาศัยในประเทศที่สาม จนเวลาผ่านนานหลายปี เด็กๆ เริ่มใช้ภาษาไทยได้และความผูกพันของทั้งครอบครัวนี้และตัวผู้กำกับเริ่มก่อเกิด บนความรู้สึกหวั่นไหวต่ออนาคตเมื่อทุกคนพบว่า...ที่นี่ไม่ยินดีจะเป็น "บ้าน" ให้แก่พวกเขา
. ภาพยนตร์จัดฉายที่หอศิลป์ทั้ง 2 วิทยาเขต! สามารถเลือกวันและสถานที่เข้าชมได้เลยค่ะ วันพุธที่ 27 มีนาคม 2567 > หอศิลป์ฯ วังท่าพระ กทม. วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม 2567 > หอศิลป์สนามจันทร์ จ.นครปฐม เวลา 16.30 น. ราคาบัตร 80 บาท ที่นั่งจำนวนจำกัด สามารถชำระเงินเพื่อสำรองที่นั่งล่วงหน้าได้ทางข้อความเพจค่ะ FB : ART CENTRE, SILPAKORN UNIVERSITY ------------------------------------------------ (2023 / กำกับ: คมน์ธัช ณ พัทลุง / ประเทศไทย / 85 นาที / เรต: ทั่วไป) ครอบครัวชาวซูดานหนีออกจากประเทศมาถึงกรุงเทพฯ เพื่อขอลี้ภัย พวกเขาได้พบกับผู้กำกับหนังไทยคนหนึ่งที่เพิ่งกลับจากต่างประเทศหลังจากไปอยู่มานานถึงสิบปี ด้วยอนาคตที่ไม่แน่นอนในบ้านนี้ ความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งกับผกก. ก็ก่อเกิดเป็นภาพยนตร์ร่วมกัน “รอวัน” (Hours of Ours) ติดตามการเดินทางของครอบครัวอิบราฮีม เมื่อพวกเขาต้องผ่านการปรับตัวในสภาวะก่ำกึ่งขณะที่ต้องรอการอนุมัติให้เข้าอยู่อาศัยในประเทศที่สาม |
“A Trick of the Light”หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับ Goethe-Institut Thailand ชวนชมอีกหนึ่งภาพยนตร์ของวิม เวนเดอร์ส ผู้กำกับภาพยนตร์ “Perfect Days” ที่กำลังเป็นกระแสและได้เสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ภาพยนตร์สาขาต่างประเทศยอดเยี่ยมในปีนี้!
. “A Trick of the Light” โดย วิม เวนเดอร์ส ร่วมกับนักศึกษาภาพยนตร์แห่ง University of Television and Film Munich ชวนเราย้อนเวลาชมภาพประวัติศาสตร์การถือกำเนิดภาพยนตร์ในเบอร์ลิน เพื่อระลึกถึงผู้บุกเบิกภาพยนตร์ทั้งหลายที่ถูกหลงลืม ...หนังเคล้าคลุ้งไปด้วยอารมณ์ขัน ความเศร้า ความอ่อนโยนละมุนละไม และแน่นอนว่าเต็มเปี่ยมไปด้วยความรักอันมากมายต่อภาพยนตร์ . ภาพยนตร์จัดฉายที่หอศิลป์ทั้ง 2 วิทยาเขต! สามารถเลือกวันและสถานที่เข้าชมได้เลยค่ะ วันพุธที่ 13 มีนาคม 2567 > หอศิลป์ฯ วังท่าพระ กทม. วันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม 2567 > หอศิลป์สนามจันทร์ จ.นครปฐม เวลา 16.30 น. ราคาบัตร 80 บาท ที่นั่งจำนวนจำกัด สามารถชำระเงินเพื่อสำรองที่นั่งล่วงหน้าได้ทางข้อความเพจค่ะ FB : ART CENTRE, SILPAKORN UNIVERSITY ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- A Trick of the Light (DIE GEBRÜDER SKLADANOWSKY) ค.ศ. 1995 / ประเทศเยอรมัน / ผู้กำกับ: Wim Wenders / ความยาว 76 นาที หนังปี 1995 โดย วิม เวนเดอร์ส ร่วมกับนักศึกษาภาพยนตร์แห่ง University of Television and Film Munich ที่ผสมผสานทั้งความเป็นด็อกคิวดราม่า, การจำลองเหตุการณ์ถ่ายทำใหม่ และวิธีการแบบหนังทดลอง เพื่อเล่าประวัติศาสตร์การถือกำเนิดของภาพยนตร์ในเบอร์ลิน เมื่อ "มักซ์ สกลาดานอฟสกี" กับเอมีลน้องชายของเขาสร้างเครื่องฉายภาพยนตร์ที่มีชื่อว่า "Bioscop" |
คนทุกคนมี “คิเมร่า” เป็นของตัวเอง และคนทุกคนใฝ่ฝันอยากครอบครองมัน… แต่ยากนักที่จะหามันพบ!
. หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับ Documentary Club ชวนผู้ชมตามหา “คิเมร่า” ไปกับ อาร์ตูร์ ชายหนุ่มผู้ที่กำลังตามหาหญิงสาวผู้เป็นที่รักไปทุกแห่งหน แม้ว่าความเป็นจริงเขาสูญเสียเธอไปแล้วก็ตาม เขาพากเพียรค้นลึกสู่ใต้พื้นพิภพด้วยความหวังจะเจอประตูสักบาน ที่อาจพาเขาไปสู่อีกโลกซึ่งตำนานเคยกล่าวขานถึง ..! . ภาพยนตร์จัดฉายที่หอศิลป์ทั้ง 2 วิทยาเขต! สามารถเลือกวันและสถานที่เข้าชมได้เลยค่ะ วันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 > หอศิลป์ฯ วังท่าพระ กทม. วันพฤหัสบดีที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 > หอศิลป์สนามจันทร์ จ.นครปฐม . ราคาบัตร 80 บาท ที่นั่งจำนวนจำกัด สามารถชำระเงินเพื่อสำรองที่นั่งล่วงหน้าได้ทางข้อความเพจค่ะ FB : ART CENTRE, SILPAKORN UNIVERSITY ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- LA CHIMERA / คิเมร่าสุดขอบฟ้า (2023 / Italy-France-Switzerland / 2h 11m / Director: Alice Rohrwacher / Stars: Josh O’Connor, Carol Duarte, Isabella Rossellini) สำหรับเหล่าโจรปล้นสุสานเพื่อขโมยวัตถุและสิ่งสวยงามมหัศจรรย์ทางโบราณคดี คิเมร่าหมายถึงความฝันที่จะได้ร่ำรวยมั่งคั่งอย่างรวดเร็ว และสำหรับชายหนุ่มชื่ออาร์ตูร์ คิเมร่าอาจหมายถึงหญิงสาวผู้เป็นที่รัก ซึ่งบัดนี้เขาได้สูญเสียเธอไปแล้ว แต่อาร์ตูร์ไม่ยอมแพ้ เขายังพากเพียรตามหาเธอไปทุกแห่งหน เขาค้นลึกสู่ใต้พื้นพิภพด้วยความหวังจะเจอประตูสักบาน ที่พาเขาไปสู่อีกโลกซึ่งตำนานเคยกล่าวขานถึง… La Chimera เป็นผลงานกำกับเรื่องล่าสุดของ อลิซ โรห์วาเคอร์ ผู้กำกับหญิงผู้เป็นที่รักของเวทีหนังโลกและได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ปลุกชีวิตให้แก่วงการหนังอิตาลียุคใหม่ งานของเธอโดดเด่นด้านการผสมผสานเรื่องราวของมนุษย์ตัวเล็ก ๆ ท่ามกลางโลกอันกว้างใหญ่ เข้ากับตำนานพื้นบ้านและรากเหง้าทางประวัติศาสตร์ของอิตาลี แล้วถ่ายทอดในลีลาที่มีทั้งความเป็นดราม่า ความฝัน และความเหนือจริง ตัวอย่างหนังเรื่องเด่นของเธอได้แก่ The Wonders (2014 – ชนะรางวัลกรังด์ปรีซ์ เทศกาลหนังเมืองคานส์), Happy as Lazzaro (2018 – ชนะรางวัลเขียนบทยอดเยี่ยม เทศกาลหนังเมืองคานส์), Le pupille (2022 – หนังสั้นเข้าชิงรางวัลออสการ์สาขา Best Live Action Short Film) และ La Chimera เรื่องนี้ ซึ่งได้เข้าชิงรางวัลปาล์มทองคำในเทศกาลหนังเมืองคานส์ครั้งล่าสุด |
หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับ Documentary Club ชวนผู้ชมสำรวจแง่มุมอื่นๆ ที่สัมพันธ์กับภาพถ่าย
และเรื่องราวเบื้องลึกเบื้องหลังของคนกำกับภาพ ผ่านสารคดี 3 เรื่องแบบจัดเต็ม! . พบกับ Faces Places เรื่องราวของสองศิลปินต่างวัยที่มีผู้รักใคร่ติดตามผลงานทั่วโลก ที่ตัดสินใจออกเดินทางสร้างงานศิลปะ บนความรักที่มีต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน / The Dead Nation สารคดีแบบความเรียง เล่าถึงการเกิดขึ้นของขบวนการต่อต้านชาวยิวและเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์อันโหดร้าย จากภาพถ่ายขาว-ดำ / Cameraperson สารคดีที่จะทำให้ผู้ชมได้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างการเล่าเรื่องและเฟรมภาพ โดยเฉพาะเมื่อมันเปลี่ยนบทบาทและความหมายจากการเป็นเครื่องมือถ่ายทอดความจริงบางอย่างในหนังของคนอื่น มาเป็นบทบันทึกการเดินทาง การสร้างงานศิลปะ และการติดต่อสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์ของตัวคนถ่ายเอง . จัดฉาย ณ หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กทม. • Faces Places - พุธที่ 7 มิถุนายน 2566 • The Dead Nation - พฤหัสบดีที่ 22 มิถุนายน 2566 • Cameraperson – พุธที่ 5 กรกฎาคม 2566 **** ฉายเวลา 16.30 น. / ฉายตรงเวลา **** . ราคาบัตร 80 บาทต่อเรื่อง ที่นั่งจำนวนจำกัด สามารถชำระเงินเพื่อสำรองที่นั่งล่วงหน้าได้ทางข้อความเพจค่ะ FB : ART CENTRE, SILPAKORN UNIVERSITY |
สารคดีเรื่องที่ 1 :
FACES PLACE 2017 / French documentary film / Directed by Agnès / "คุณมองอะไรๆ ไม่ชัด คุณก็ยังมีความสุข" "เธอมองอะไรๆ ก็มืด เธอเองก็ยังมีความสุข" "นี่คือรถตู้ที่ผมขับไปทั่วโลก คนจะเข้าไปด้านหลัง เหมือนบูธถ่ายรูป แล้ว 5 วินาที ภาพก็จะไหลออกมาข้างๆ ขนาดใหญ่เบ้ง" "เธอเติมเต็มความปรารถนาสูงสุดของฉัน คือการได้พบเจอใบหน้าใหม่ๆ แล้วถ่ายเก็บไว้ เพื่อไม่ให้มันหล่นหายไปในช่องว่างแห่งความทรงจำ" "แต่ละใบหน้าล้วนมีเรื่องราว" "ใบหน้าคนเรางดงามนะ" "Faces Places ถ่ายภาพเธอไว้ ให้โลกจดจำ" เจ้าของรางวัลภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยมประจำปี 2017 จากหลากหลายสถาบันนักวิจารณ์ ผลงานกำกับสุดเอิบอิ่มหัวใจของสองศิลปินต่างวัยที่มีผู้รักใคร่ติดตามผลงานทั่วโลก หนึ่งคือ อานเญส วาร์ดา คนทำหนังวัย 89 อีกหนึ่งคือ เจอาร์ ช่างภาพ-ศิลปินวัย 33 ...เขาและเธอไม่เพียงลุ่มหลงเสน่ห์ของ “ภาพ” มาทั้งชีวิตเหมือนกัน แต่ยังมีวิธีคิด วิธีสร้าง วิธีแสดง และวิธีแบ่งปันมันแก่ผู้คนอื่นๆ คล้ายกันด้วย อานเญสสำรวจความหลงใหลผ่านการถ่ายภาพนิ่งและหนัง ส่วนเจอาร์คลุกคลีกับมันผ่านงานศิลปะภาพถ่ายจัดวางกลางแจ้งขนาดใหญ่ยักษ์ แล้วอะไรจะเกิดขึ้น? เมื่อทั้งคู่ตัดสินใจออกเดินทางสร้างงานศิลปะด้วยกัน ซึ่งอาจเป็นทั้งครั้งแรกและครั้งสุดท้าย บนความรักที่มีต่อเพื่อนมนุษย์ และต่อโลกที่คละเคล้าด้วยความสุขและความเศร้าใบนี้? |
สารคดีเรื่องที่ 2 :
THE DEAD NATION 2017 / Romania / Director : Radu Jude ภาพถ่ายขาวดำฟิล์มกระจกอันน่าตื่นตะลึงจำนวนมากจากเมืองเล็ก ๆ ในโรมาเนียทศวรรษที่ 1930-1940 ถูกนำมาร้อยเรียงเข้ากับเสียงอ่านไดอารี่ส่วนตัวของแพทย์ชาวยิวคนหนึ่งในยุคสมัยเดียวกัน ออกมาเป็นภาพยนตร์สารคดีแบบความเรียง (documentary-essay) ที่ “บอกเล่าสิ่งที่ภาพถ่ายไม่ได้เล่า” นั่นคือ การเกิดขึ้นของขบวนการต่อต้านชาวยิวและเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์อันโหดร้าย ซึ่งประวัติศาสตร์ร่วมสมัยของประเทศโรมาเนียจงใจหลงลืม |
สารคดีเรื่องที่ 3 :
Cameraperson 2016 / Director Kirsten Johnson “ความหวังของเราในการทำหนังเรื่องนี้ คือได้ถ่ายทอดความฉับไวของการใช้กล้องออกค้นหาตัวเองในดินแดนใหม่ รวมถึงการทำให้ผู้ชมได้เข้าใจว่า ยิ่งเวลาผ่านพ้นไป คนที่เป็นตากล้องหนังสารคดียิ่งเผชิญกับทั้งความสุขและความขัดแย้งมากขึ้นเรื่อย ๆ อย่างไรบ้าง และท้ายที่สุด หนังเรื่องนี้จะทำให้คุณได้เห็นความซับซ้อนของการเป็นคนถ่าย และคนที่ถูกถ่าย” - เคอร์สเตน จอห์นสัน (ผู้กำกับ) . การยกกล้องขึ้นถ่ายคนอื่นนั้นมีความหมายอย่างไร มันส่งผลอย่างไรต่อบุคคลคนนั้น และส่งผลอย่างไรต่อคนที่อยู่หลังกล้อง? เคอร์สเตน จอห์นสัน เป็นหนึ่งในผู้กำกับภาพที่โด่งดังที่สุดในแวดวงภาพยนตร์สารคดีปัจจุบัน เธอเป็นคนถ่ายสารคดีเรื่องสำคัญอย่าง CITIZENFOUR, Happy Valley, Fahrenheit 9/11, The Oath, The Invisible War และอีกมากมาย จอห์นสันนำฟุตเตจโดดเด่นจำนวนมากที่เคยถ่ายไว้มาประกอบสร้างใหม่เป็น Cameraperson เรื่องนี้ด้วยวิธีเล่าอันงดงามและลึกซึ้ง เพื่อถ่ายทอดช่วงเวลาและสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อเธอเป็นการส่วนตัว ทำให้ผู้ชมได้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างการเล่าเรื่องและเฟรมภาพ โดยเฉพาะเมื่อมันเปลี่ยนบทบาทและความหมายจากการเป็นเครื่องมือถ่ายทอดความจริงบางอย่างในหนังของคนอื่น มาเป็นบทบันทึกการเดินทาง การสร้างงานศิลปะ และการติดต่อสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์ของตัวคนถ่ายเอง |
หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับ Documentary Club ชวนผู้ชมเข้าไปสำรวจโลกภาพยนตร์สุดเซอร์ของ “เดวิด ลินช์” ผู้กำกับที่มีความหลงใหล และได้แรงบันดาลใจจากผลงานศิลปะ สะท้อนเป็นภาพยนตร์ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยสไตล์ภาพอันโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ที่สุดในวงการ!
. พบกับ Twin Peaks: Fire Walk with Me ภาพยนตร์ภาคต่อจากซีรี่ส์สุดล้ำในอเมริกาช่วงปี 1990-91 ที่อาจเป็นบทสรุปของเรื่องราวลึกลับทั้งหมด!? ว่าด้วยการสืบสวนคดีฆาตกรรมโหดของเด็กสาวชื่อ “ลอร่า พาล์มเมอร์” ที่ถูกพบเป็นศพห่อด้วยพลาสติก และนำมาสู่การเปิดเผยความโสมมของผู้คนในเมืองเล็กๆ เมืองหนึ่ง และ Lost Highway เรื่องราวความรักซ้อนซ่อนเงื่อน มิตรภาพที่ทรยศ, เซ็กส์, ฆาตกรรม, แผนลวง, ความทรงจำ และความทุกข์ทรมานบิดเบี้ยว . จัดฉาย ณ หอศิลป์สนามจันทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จังหวัดนครปฐม • Twin Peaks: Fire Walk with Me : วันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน 2566 • Lost Highway : วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤษภาคม 2566 **** ฉายเวลา 16.30 น. **** . ราคาบัตร 80 บาทต่อเรื่อง / บัตรคอมโบชมได้ทั้ง 2 เรื่องในราคา 150 บาท ที่นั่งจำนวนจำกัด สามารถชำระเงินเพื่อสำรองที่นั่งล่วงหน้าได้ทางข้อความเพจค่ะ FB : ART CENTRE, SILPAKORN UNIVERSITY |
Twin Peaks: Fire Walk with Me
1992 / 134 นาที / สหรัฐอเมริกา-ฝรั่งเศส / กำกับ: เดวิด ลินช์ / แสดง: เชอริล ลี, เรย์ ไวส์, แมดเชน เอมิค การถูกฆาตกรรมอย่างโหดร้ายของหญิงสาวชื่อ เทเรซ่า แบงค์ส นำมาสู่การสืบสวนที่เต็มไปด้วยเงื่อนงำแปลกประหลาดและเหตุการณ์พิลึกพิลั่น ...หนึ่งปีต่อมา ณ เมืองเล็ก ๆ ที่ซุกซ่อนตัวอยู่ในหุบเขาซึ่งดูผิวเผินเหมือนจะเงียบสงบ ปริศนาเกิดขึ้นอีกครั้งกับ 7 วันสุดท้ายในชีวิตของหญิงสาวนาม ลอร่า พาล์มเมอร์ ซึ่งพัวพันกับไดอารี่ลึกลับ แหวน ความฝัน ความรัก ภาพหลอน ลางสังหรณ์ ห้องสีแดง เส้นสีขาว และเปลวไฟที่พร้อมจะเผาผลาญทุกคน |
Lost Highway
1997 / 134 นาที / สหรัฐอเมริกา-ฝรั่งเศส / กำกับ: เดวิด ลินช์ / แสดง: บิลล์ พูลแมน, แพทริเซีย อาร์เคตต์, จอห์น โรเซเลียส เฟร็ด แมดิสัน นักแซกโซโฟนหนุ่ม ถูกกล่าวหาว่าเป็นคนลงมือฆ่า เรเน่ ภรรยาสาวสวยของเขาทั้ง ๆ ที่สถานการณ์เต็มไปเงื่อนงำแปลกประหลาด ศาลตัดสินประหารชีวิตเฟร็ด แต่แล้วในแดนประหารนั้นเองจู่ ๆ เขาก็กลายร่างอย่างไม่รู้สาเหตุไปเป็นชายหนุ่มชื่อ พีท เดย์ตัน ผู้มีชีวิตแตกต่างจากเฟร็ดอย่างสิ้นเชิง เมื่อพีทได้รับการปล่อยตัวออกมา เส้นทางของทั้งสองก็เริ่มโคจรมาบรรจบกัน ภายใต้แผนการพิสดารลี้ลับที่บงการโดยหัวหน้าแก๊งอาชญากรตัวเอ้นาม ดิ๊ก โลรองต์ |
รางวัลออสการ์ปีนี้จะเป็นของตัวตึงเรื่องไหน มาลุ้นกัน!!
หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับ Documentary Club ชวนร่วมลุ้นผลรางวัลออสการ์ด้วยภาพยนตร์/สารคดีคุณภาพที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงในสาขาต่างๆ ถึง 3 เรื่อง!!!! “FIRE OF LOVE” และ “ALL THE BEAUTY AND THE BLOODSHED” เสนอชื่อเข้าชิงในสาขาภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยม (Best Documentary Feature Film) และ “Aftersun อยากให้อยู่นานกว่านี้” เสนอชื่อเข้าชิงสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (Best Actor) . จัดฉายที่หอศิลป์ทั้ง 2 วิทยาเขต! สามารถเลือกวันและสถานที่เข้าชมได้เลยค่ะ • Fire of love วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ > หอศิลป์ฯ วังท่าพระ กทม. วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ > หอศิลป์สนามจันทร์ จ.นครปฐม • aftersun วันพุธที่ 1 มีนาคม > หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กทม. วันพฤหัสบดีที่ 9 มีนาคม > หอศิลป์สนามจันทร์ จ.นครปฐม • All the beauty and the Bloodshed วันพุธที่ 22 มีนาคม > หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กทม. วันพุธที่ 23 มีนาคม > หอศิลป์สนามจันทร์ จ.นครปฐม ****ทุกเรื่องฉายเวลา 16.30 น. **** . ราคาบัตร 80 บาทต่อเรื่อง ที่นั่งจำนวนจำกัด สามารถชำระเงินเพื่อสำรองที่นั่งล่วงหน้าได้ทางข้อความเพจ ART CENTRE, SILPAKORN UNIVERSITY ค่ะ |
หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับ Documentary Club ชวนชมสารคดีที่จะช่วยให้เราเห็นความสำคัญของการออกแบบเมืองเพื่อคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดีกว่าเดิม ไปกับ “THE WORLD BEFORE YOUR FEET” เรื่องราวของ “แม็ตต์ กรีน” ผู้ใช้เวลา 6 ปีเต็มในการสำรวจเส้นทางซอกซอยในมหานครนิวยอร์กกว่า 12,880 กิโลเมตรด้วยการเดิน! และ “THE HUMAN SCALE” สารคดีที่จะพาเราไปสำรวจเบื้องหลังของเมืองที่พัฒนาแล้วว่าเขามีไอเดียในการพัฒนาเมืองเพื่อคุณภาพชีวิตของประชากรให้ดีขึ้นได้อย่างไร!?
. จัดฉายที่หอศิลป์ทั้ง 2 วิทยาเขต! สามารถเลือกวันและสถานที่เข้าชมได้เลยค่ะ THE WORLD BEFORE YOUR FEET • วันพุธที่ 18 มกราคม 2566 > หอศิลป์ฯ วังท่าพระ กทม. • วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม 2566 > หอศิลป์สนามจันทร์ จ.นครปฐม THE HUMAN SCALE • วันพุธที่ 25 มกราคม 2566 > หอศิลป์ฯ วังท่าพระ กทม. • วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม 2566 > หอศิลป์สนามจันทร์ จ.นครปฐม **** ฉายเวลา 16.30 น. **** . ราคาบัตร 80 บาทต่อเรื่อง / บัตรคอมโบชมได้ทั้ง 2 เรื่องในราคา 150 บาท ที่นั่งจำนวนจำกัด สามารถชำระเงินเพื่อสำรองที่นั่งล่วงหน้าได้ทางข้อความเพจค่ะ --------------------------------------------------- รายละเอียดสารคดี THE WORLD BEFORE YOUR FEET 95 นาที / 2018 / กำกับ : เจเรมี เวิร์คแมน คุณอาจเกิดที่เมืองนี้ หรือเติบโตในเมืองนี้ หรือใช้เวลาค่อนชีวิตในเมืองนี้ …แต่คุณ “รู้จัก” เมืองของคุณดีแค่ไหน? “แม็ตต์ กรีน” ถามตัวเองด้วยคำถามนั้น และเขาตัดสินใจออกไปทำความรู้จักเมืองนิวยอร์กและผู้คนแปลกหน้า โดยใช้เวลา 6 ปีเต็มสำรวจเส้นทาง 12,880 กิโลเมตร ถนนทุกเส้นทุกซอยทุกสวนทุกสะพาน…ด้วยการ “เดิน”! รางวัล (Awards) : Special Jury Prize – Independent Film Festival of Boston . THE HUMAN SCALE :BRINGING CITIES TO LIFE: 1 ชม. 17 นาที / เดนมาร์ก / 2021 / กำกับ: อันเดรียส ดาลสการ์ด 50% ของประชากรโลกอาศัยอยู่ใน “เมือง” และจะเพิ่มเป็นถึง 80% ภายในปี 2050 แต่เราพัฒนาเมืองให้เหมาะสมกับมนุษย์จริงหรือ? หนังสำรวจการพัฒนาในเดนมาร์ก, แอลเอ, นิวยอร์ก, จีน, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ และอินเดีย พร้อมเสนอแนวคิดใหม่ผ่านสายตาสถาปนิก ยาน เกห์ล ว่า เมืองที่เห็นค่าของผู้คนควรมีหน้าตาอย่างไร รางวัล (Awards) : - Aljazeera Int. Documentary Film Festival 2013- Winner of the Child and Family Award for Long Film - Planete Doc, Warsaw 2013 – Green Cross Award - Kinookus, Croatia 2013 – Best Feature Documentary - Youth Award – Bergen International Film Festival 2013 |
ต้อนรับเดือนกันยายนกับกิจกรรมฉายหนังศิลป์ๆกับหอศิลป์ค่าาาา!
หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับ HAL และ Documentary Club ชวนผู้ชมไปสัมผัสเบื้องหน้าและเบื้องหลังของโลกแห่งศิลปะ กับธีมภาพยนตร์/สารคดีเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ศิลปะ ที่เราคัดสรรมาให้ชมกันอย่างจุใจ! เปิดตัวกันด้วยภาพยนตร์เรื่องแรก “The Square” อาร์ต ตัวแม่งงงงงง! ว่าด้วยเรื่องราวที่สะท้อนความจริงในวงการศิลปะและคนทำงานศิลปะ ที่ไม่ได้ราบรื่นเสมอไป ไม่เพียงเท่านั้น ยังแฝงแง่มุมต่างๆที่น่าสนใจให้ฉุกคิดถึงปัญหาสังคม ชนชั้นอีกด้วย และเรื่องที่ 2 สารคดี “INSIDE THE UFFIZI” ชวนไปเยือนหอศิลป์อุฟฟีซี ณ เมืองฟลอเรนซ์ ที่นับได้ว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ที่เต็มไปด้วยผลงานมาสเตอร์พีซอันน่าตื่นตาตื่นใจแห่งหนึ่งของโลก พร้อมทั้งชมเบื้องลึกเบื้องหลังของความงดงามนี้ผ่านการทำงานอย่างทุ่มเทของเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ ตั้งแต่ผู้อำนวยการ จนถึงคนเฝ้าพิพิธภัณฑ์ . สามารถเลือกวันและสถานที่เข้าชมได้เลยค่ะ “The Square” วันพุธที่ 7 กันยายน ณ หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ หรือวันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน 2565 ณ หอศิลป์สนามจันทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จังหวัดนครปฐม . Inside the Uffizi วันพุธที่ 21 กันยายน ณ หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ หรือวันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน 2565 ณ หอศิลป์สนามจันทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จังหวัดนครปฐม . ราคาบัตร 80 บาทต่อเรื่อง / บัตรคอมโบชมได้ทั้ง 2 เรื่องในราคา 150 บาท ที่นั่งจำนวนจำกัด สามารถชำระเงินเพื่อสำรองที่นั่งล่วงหน้าได้ทางข้อความเพจค่ะ * ขอให้ผู้เข้าชมทุกท่านสวมหน้ากากอนามัยระหว่างเข้าชมตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 ค่ะ --------------------- "The Square อาร์ต ตัวแม่งงงงงง!" สวีเดน / 2017 / กำกับ: รูเบน ออสลันด์ / 142 นาที 'The Square' ความชิบหายมาเยือน คริสเตียน ภัณฑารักษ์แห่งหอศิลปสุดเฉียบ X Royal เมื่องานใหม่ชิ้นใหญ่ เดอะ สแควร์ ยากเกินจะประชาสัมพันธ์จึงต้องจ้าง เอเจนซี่สุดเฮี้ยนมาช่วยโปรโมท ในขณะที่ต้องรับมือความบ้าคลั่งของนักข่าวสาวอเมริกันสุดเฟมินิส เด็กเปรดจากค่ายผู้อพยพที่เข้ามาป่วนชีวิต พบกับความบ้าคลั่งบ้าบอของโลกแห่งศิลปะ งานกองดิน ลิงเดินพล่าน สงครามถุงยาง มันคืออัลไล! “INSIDE THE UFFIZI” เยอรมนี / 2021 / กำกับ: คอรินนา เบลซ์, เอนริเก ซานเชซ แลนช์ / 1 ชม. 36 นาที หอศิลป์อุฟฟีซี ณ เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี สร้างขึ้นในปี 1561 โดยเป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์ที่เก่าแก่ที่สุด มีชื่อเสียงที่สุด และมีผลงานศิลปะสะสมจำนวนมหาศาลที่สุดของโลก แต่เบื้องหลังความงดงามนั้นคือการทำงานอย่างทุ่มเทของผู้คนมากหน้า ไม่ว่าจะเป็นผู้อำนวยการชาวเยอรมัน, บรรดาผู้ช่วยของเขา, สถาปนิก, คนเฝ้าพิพิธภัณฑ์ จนถึงเจ้าหน้าที่ทั้งหลาย ซึ่งทั้งต้องรับบทหนักในการปกป้องดูแลคอลเล็กชันสุดเลอค่าเพื่อส่งมอบมรดกทางศิลปะนี้แก่คนรุ่นต่อไป และพร้อมกันนั้นก็ยังต้องประสานต่อรองกับศิลปินใหญ่เพื่อให้ทุกการจัดแสดงปรากฏผลที่ดีที่สุดแก่ผู้เยี่ยมชม นอกจากจะพาเราเข้าไปสอดส่องเบื้องหลังแล้ว สารคดีเรื่องนี้ยังชักชวนให้เราดำดิ่งเข้าสู่ความงดงามในผลงานมาสเตอร์พีซอันหลากหลายของเหล่าศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่งทรงพลังจับใจคนรักศิลปะทุกชาติทุกวัยมาเนิ่นนาน |
โปรแกรมฉายหนังของหอศิลป์มาแล้วจ้า!
หลังจากฉายสารคดี Banksy จบไป ครั้งนี้หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับ Documentary Club ชวนชมสารคดีเกี่ยวกับศิลปินแบบจัดเต็มกันไปเลยถึง 2 เรื่อง และจัดฉายที่หอศิลป์ทั้ง 2 วิทยาเขตด้วยยยย!!! เรื่องแรก KUSAMA INFINITY พาไปรู้จักและทำความเข้าใจ “คุณป้าลายจุด” หรือ ยาโยอิ คุซามา ศิลปินหญิงญี่ปุ่นตัวแม่ผู้สร้างนามระบือลือลั่นด้วยผลงาน “ลายจุด” อันแสนจัดจ้าน และเรื่อง Van Gogh หนังคลาสสิกปี 1991 ว่าด้วยเรื่องราวใน 67 วันสุดท้ายของชีวิต ฟินเซนต์ ฟัน โคค ศิลปินผู้ยิ่งใหญ่และแสนอาภัพ . สามารถเลือกวันและสถานที่เข้าชมได้ตามตารางในรูปเลยค่ะ วันพุธที่ 24 สิงหาคม 2565 ณ หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ หรือวันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม 2565 ณ หอศิลป์สนามจันทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จังหวัดนครปฐม ราคาบัตร 80 บาทต่อเรื่อง / บัตรคอมโบชมได้ทั้ง 2 เรื่องในราคา 150 บาท ที่นั่งจำนวนจำกัด สามารถชำระเงินเพื่อสำรองที่นั่งล่วงหน้าได้ทางข้อความเพจค่ะ * ขอให้ผู้เข้าชมทุกท่านสวมหน้ากากอนามัยระหว่างเข้าชมตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 ค่ะ --------------------------- KUSAMA INFINITY 80 นาที / สหรัฐอเมริกา / 2018 / กำกับ: เฮทเธอร์ เลนซ์ 1h 20 min / US / 2018 / Director: Heather Lenz เรื่องราวของยาโยอิ นับตั้งแต่วัยเด็กที่เติบโตมาในครอบครัวหัวโบราณ, การตัดสินใจย้ายไปไล่ล่าความฝันในอเมริกาหลังสงครามโลกครั้งที่สอง (ที่ซึ่งเธอกับแอนดี้ วอร์ฮอลแข่งกันแย่งความสนใจจากสื่อ), ความมุ่งมั่นส่วนตัวซึ่งทำให้เธอก้าวสู่เวทีศิลปะระดับโลกได้สำเร็จ และชีวิตในปัจจุบันกับวัยกว่า 80 ที่เธออาศัยอยู่ในสถานบำบัดจิตแต่ยังคงสร้างสรรค์ผลงานโดดเด่นอย่างต่อเนื่อง Van Gogh (158 นาที / ฝรั่งเศส / 1991 / กำกับ : มอริซ เปียลาต์) (2h 38min / France /1991 / Director: Maurice Pialat) "บ้านผมไม่ใช่ครอบครัวรักศิลปะ สายตาพ่อเวลามองผมน่ะ เขาคงคิดว่างานของผมอัปลักษณ์โสโครกมาก ผมเห็นสายตาเขา แล้วผมก็วาดรูปตามทางของผมต่อไป ผมทำต่อไป... แต่เพื่ออะไรกัน?" * ขอขอบคุณ La Fête (the Embassy of France to Thailand), Alliance Française Bangkok และ Institut français สำหรับภาพยนตร์เรื่อง Van Gogh ด้วยค่ะ |
หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับ Documentary Club ชวนไปเยือนหอศิลป์อุฟฟีซี ณ เมืองฟลอเรนซ์ ที่นับได้ว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ที่เต็มไปด้วยผลงานมาสเตอร์พีซอันน่าตื่นตาตื่นใจแห่งหนึ่งของโลก พร้อมทั้งชมเบื้องลึกเบื้องหลังของความงดงามนี้ไปกับสารคดีเรื่อง “INSIDE THE UFFIZI”
วันพุธที่ 20 กรกฎาคม 2565 เริ่มฉายเวลา 17.30 น. ณ หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ ราคาบัตร 80 บาท ที่นั่งจำนวนจำกัด สามารถชำระเงินเพื่อสำรองที่นั่งล่วงหน้าได้ทางข้อความเพจเฟซบุ๊คของหอศิลป์ ตามลิงก์นี้ได้เลยค่ะ >>>>>>>> ART CENTRE, SILPAKORN UNIVERSITY <<<<<<<< * ขอให้ผู้เข้าชมทุกท่านสวมหน้ากากอนามัยระหว่างเข้าชม ตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 ค่ะ ------------------------------------------------------------- เกี่ยวกับสารคดี 2021 / 1 ชม. 36 นาที / เยอรมนี / กำกับ: คอรินนา เบลซ์, เอนริเก ซานเชซ แลนช์ / หอศิลป์อุฟฟีซี ณ เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี สร้างขึ้นในปี 1561 โดยเป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์ที่เก่าแก่ที่สุด มีชื่อเสียงที่สุด และมีผลงานศิลปะสะสมจำนวนมหาศาลที่สุดของโลก แต่เบื้องหลังความงดงามนั้นคือการทำงานอย่างทุ่มเทของผู้คนมากหน้า ไม่ว่าจะเป็นผู้อำนวยการชาวเยอรมัน, บรรดาผู้ช่วยของเขา, สถาปนิก, คนเฝ้าพิพิธภัณฑ์ จนถึงเจ้าหน้าที่ทั้งหลาย ซึ่งทั้งต้องรับบทหนักในการปกป้องดูแลคอลเล็กชันสุดเลอค่าเพื่อส่งมอบมรดกทางศิลปะนี้แก่คนรุ่นต่อไป และพร้อมกันนั้นก็ยังต้องประสานต่อรองกับศิลปินใหญ่เพื่อให้ทุกการจัดแสดงปรากฏผลที่ดีที่สุดแก่ผู้เยี่ยมชม นอกจากจะพาเราเข้าไปสอดส่องเบื้องหลังแล้ว สารคดีเรื่องนี้ยังชักชวนให้เราดำดิ่งเข้าสู่ความงดงามในผลงานมาสเตอร์พีซอันหลากหลายของเหล่าศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่งทรงพลังจับใจคนรักศิลปะทุกชาติทุกวัยมาเนิ่นนาน |
ต้อนรับเปิดเทอมไปกับภาพยนตร์สารคดีเกี่ยวกับศิลปะ ที่หอศิลป์คัดสรรมาให้ชมกันอย่างจุใจ!
ครั้งนี้หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับ Documentary Club ชวนไปดูอีกด้านของธุรกิจศิลปะในโลกแห่งทุนนิยม ผ่านภาพยนตร์สารคดีเรื่อง “THE MAN WHO STOLE BANKSY” “แบงค์ซี” ศิลปินกราฟฟิตี้หมายเลขหนึ่งของโลก เดินทางไปสร้างงานชิ้นเด่นบนกำแพงในปาเลสไตน์ โดยนึกไม่ถึงว่า ไม่นานต่อมา กลับมามือดีลงทุนตัดกำแพงชิ้นนั้นเพื่อส่งไปขายในประเทศตะวันตก! นี่คือเรื่องราวหลากหลายแง่มุมสุดท้าทายของสตรีตอาร์ตที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นงานเถื่อนใต้ดิน แต่กลับกลายผันตัวเป็นงานราคาแพงหูฉี่ที่ถูกค้าขายกันในตลาดมืดอย่างน่ากังขา วันพุธที่ 6 กรกฎาคม 2565 เริ่มฉายเวลา 16.00 น. ณ หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ ราคาบัตร 50 บาท ที่นั่งจำนวนจำกัด สามารถชำระเงินเพื่อสำรองที่นั่งล่วงหน้าได้ทางข้อความเพจค่ะ * ขอให้ผู้เข้าชมทุกท่านสวมหน้ากากอนามัยระหว่างเข้าชม ตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 ค่ะ |
หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับ Documentary Club ชวนชมภาพยนตร์ DRIVE MY CAR ดัดแปลงจากเรื่องสั้นของ มุราคามิ ฮารุกิ
วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม เริ่มฉายเวลา 13.00 น. ณ หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ ราคาบัตร 100 บาท ที่นั่งจำนวนจำกัด สามารถชำระเงินเพื่อสำรองที่นั่งล่วงหน้าได้ทางข้อความเพจ ————-- “ยูซูเกะ ฮาฟูกุ (ฮิเดโตชิ นิชิจิมะ) เป็นนักแสดงและผู้กำกับละครเวทีหนุ่มใหญ่ที่มีชีวิตแต่งงานแสนสุขกับ โอโตะ (เรกะ คิริชิมะ) นักเขียนบทสาว แต่แล้ววันหนึ่งโอโตะก็เสียชีวิตอย่างกะทันหัน ทิ้งไว้เพียงความลับและบาดแผล สองปีต่อมา ฮาฟูกุซึ่งยังคงไม่สามารถเยียวยาจิตใจตัวเองจากความสูญเสียได้ ตัดสินใจรับข้อเสนอไปกำกับละครเรื่องหนึ่งในเทศกาลที่ฮิโรชิมาและขับรถออกเดินทางไปตามลำพัง ที่นั่นเขาได้พบมิซากิ (โทโกะ มิอุระ) หญิงสาวเงียบขรึมผู้ได้รับมอบหมายให้มาเป็นคนขับรถของเขา ทั้งคู่ซึ่งแตกต่างกันในทุกด้านจำต้องใช้เวลาร่วมกันบนรถสีแดงคันเล็ก โดยหารู้ไม่ว่ามันจะกลายเป็นทั้งสถานที่เผยความลับและเป็นช่วงเวลาที่เปลี่ยนแปลงชีวิตของพวกเขาไปอย่างสิ้นเชิง” Drive My Car ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลใน ‘เทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์’ ปี 2021 ถึง 4 สาขา รวมถึงรางวัลสูงสุดอย่าง ปาล์มทองคำ (Palme d'Or) และปรากฎว่าสามารถคว้ารางวัลไปครองได้ 3 สาขา ได้แก่ บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, International Federation of Film Critics’ Prize (FIPRESCI Prize) และรางวัล Ecumenical Jury Prize |
หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากรร่วมกับ Eyedropper Fill ชวนชมภาพยนตร์สารคดีมันส์ๆ เรื่อง "School Town King" ที่จะพาทุกคนไปสำรวจอีกแง่มุมหนึ่งของกลุ่มเยาวชนผู้มีความฝัน พร้อมชวนผู้ชมตั้งคำถามถึงประเด็นปัญหาสังคมที่กดทับความฝันและความหวังของเยาวชนไว้
หลังฉายภาพยนตร์จบแล้ว ชวนผู้ชมล้อมวงพูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างเป็นกันเองกับบุ๊ค ธนายุทธ ณ อยุธยา หรือ A.K.A. Elevenfinger เจ้าของเรื่องราวในสารคดีเรื่องนี้ ในวันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2564 เริ่มฉายเวลา 16.00 น. ณ หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร (วังท่าพระ) กรุงเทพฯ ไม่เสียค่าเข้าชม! | รับจำนวนจำกัด ลงทะเบียนได้ที่ https://forms.gle/nnLAYCJKzcvxWWyr5 (หอศิลป์จะยืนยันสิทธิ์การเข้าชมผ่านอีเมลภายในวันที่ 12 พฤศจิกายน) * เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 หอศิลป์จึงจำกัดจำนวนผู้เข้าชม และขอให้ผู้เข้าชมทุกท่านสวมหน้ากากอนามัยระหว่างเข้าชม * กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการ Keep in the dark เกี่ยวกับภาพยนตร์ School Town King / แร็ปทะลุฝ้า ราชาไม่หยุดฝัน กำกับ: วรรจธนภูมิ ลายสุวรรณชัย / 2563 / ความยาว 120 นาที . ภาพยนตร์สารคดีที่จะพาทุกคนไปเข้าใจโลกของเด็กสลัมคลองเตยที่ห่วยเรียนแต่เซียนแรป! เมื่อความยากจนเป็นแรงผลักดัน พวกเขาจึงฝันจะเลี้ยงดูครอบครัวจากการเป็นแรปเปอร์อาชีพ แต่ในความเป็นจริง เขาต้องฝ่าฟันในสมรภูมิที่โหดขิงของระบบการศึกษาไทย คำดูถูกจากเพื่อนและพ่อแม่ บวกแรงกดทับจากสังคม ภารกิจพิสูจน์ฝันนี้สำหรับคุณอาจจะดูเป็นเรื่องเล็ก แต่สำหรับพวกเขาทั้งสอง หากจะเฟี้ยวได้ มันต้องจ่ายด้วยการเดิมพันกับชีวิต! |
“ลุงบุญมีระลึกชาติ” โดย อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล
ในวันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2563 เวลา 17.00 น. ณ ห้องกิจกรรมชั้น M หอศิลป์สนามจันทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จ.นครปฐม บัตรราคา 80 บาทต่อเรื่อง เปิดขายบัตรตั้งแต่ 16.00 น. เป็นต้นไป * ขอให้ผู้เข้าชมทุกท่านสวมหน้ากากอนามัยระหว่างเข้าชม ตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 เกี่ยวกับภาพยนตร์ ลุงบุญมีระลึกชาติ / Uncle Boonmee Who Can Recall His Past Lives (1h 53 min) เรื่องราวของชายวัยกลางคนชื่อบุญมี อาศัยอยู่ในป่าและกำลังจะตายจากความเจ็บป่วย มีชีวิตอยู่ได้ไม่ถึง 48 ชั่วโมง เย็นวันหนึ่งระหว่างที่หลานมาเยี่ยม บุญมีก็ได้เจอผีของเมียที่ตายจากไปนานแล้ว กับผีลูกชายที่หายสาบสูญไปในคราบของลิง พวกเขาคุยกันถึงความรู้สึกแปลกแยกหลังจากตาย แทรกด้วยการพูดถึงการมีชีวิตอยู่ |
ต้อนรับเดือนพฤศจิกายน กับกิจกรรมฉายหนังของหอศิลป์!
ซึ่งในเดือนนี้เรามากับธีมหนังหาดูยาก ของผู้กำกับหนังชื่อดังอย่าง “อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล” ที่คัดมาให้คอหนังหอศิลป์ได้ชมกันถึง 3 เรื่อง ส่วนใครที่เป็นแฟนคลับหนังของอภิชาติพงศ์ บอกเลยว่าห้ามพลาด! . เปิดตัวกันด้วยเรื่องแรก “หัวใจทรนง / THE ADVENTURE OF IR0N PUSSY” ว่าด้วยเรื่องของสายลับสาวเจ้าเสน่ห์ ผู้มีรูปโฉมเฉกเช่นกุลสตรีไทย และเพียบพร้อมไปด้วยกิริยามารยาทงดงาม กับภารกิจระดับชาติที่มอบหมายให้เธอแฝงกายเป็นสาวใช้เข้าไปสืบสวนความไม่ชอบมาพากลของเบื้องหลังธุรกิจพันล้านในคฤหาสน์ของสาวสังคมชั้นสูง มาดามปอมปาดอย และมิสเตอร์เฮนรี่ ว่าที่คู่หมั้นใหม่ของเธอ! . ในวันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2563 เวลา 17.00 น. ณ ห้องกิจกรรมชั้น M หอศิลป์สนามจันทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จ.นครปฐม . บัตรราคา 80 บาทต่อเรื่อง เปิดขายบัตรตั้งแต่ 16.00 น. เป็นต้นไป * ขอให้ผู้เข้าชมทุกท่านสวมหน้ากากอนามัยระหว่างเข้าชม ตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 . ส่วนเรื่องต่อไปจะเป็นหนังเรื่องไหน ติดตามได้ในอาทิตย์หน้าค่ะ |
ภายใต้สถานการณ์ความขัดแย้งในสังคมปัจจุบัน "อินเตอร์เน็ต และสื่อออนไลน์" เป็นอีกหนึ่งตัวขับเคลื่อนสำคัญในการเผยแพร่ประเด็นต่างๆ ที่เกิดขึ้น ให้ประชาชนรับรู้ ในทางกลับกันประชาชนอย่างเรา ก็สามารถใช้สื่อเหล่านี้ในการขับเคลื่อนอุดมการณ์ รวมถึงเป็นเครื่องมือในการต่อต้านความอยุติธรรมได้เช่นกัน!
ในวันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม 2563 นี้ หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับ Documentary Club ชวนชมเรื่องราวของคนกลุ่มหนึ่งที่ใช้สื่อในการเรียกร้องความถูกต้อง จากสารคดี 2 เรื่อง WE ARE LEGION : THE STORY OF THE HACKTIVISTS เวลา 17.00 น. และ CITY OF GHOSTS เวลา 19.00 น. ณ ห้องกิจกรรมชั้น M หอศิลป์สนามจันทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จ.นครปฐม บัตรราคา 50 บาทต่อเรื่อง / บัตรคอมโบ ราคา 80 บาท ชมได้ทั้ง 2 เรื่อง เปิดขายบัตรตั้งแต่ 16.00 น. เป็นต้นไป * ขอให้ผู้เข้าชมทุกท่านสวมหน้ากากอนามัยระหว่างเข้าชม ตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 ---------- เกี่ยวกับสารคดี WE ARE LEGION (1h 33min) Director: Brian Knappenberger /2012 ร่วมสำรวจวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์อันแสนซับซ้อนของกลุ่ม “Anonymous” แฮ็กติวิสต์สุดทรงอิทธิพลผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ประท้วงครั้งสำคัญของผู้คนตัวเล็กๆ ทั่วโลกนับครั้งไม่ถ้วน พร้อมทั้งพูดคุยกับสมาชิกซึ่งมีตั้งแต่นักเขียน นักวิชาการ บุคคลสำคัญมากมายผู้เชื่อในการผลักดันและเปลี่ยนโลกด้วยอาวุธใหม่แห่งการต่อสู้แบบอารยะขัดขืน : อินเทอร์เน็ต ---------- City of Ghosts (1h 32min) Director: Matthew Heineman /2017 ท่ามกลางซากปรักหักพัง พวกเขายังมีความหวัง ในวันเวลาที่คล้ายจะสิ้นหวัง พวกเขายังมีพลังสู้! มาร่วมกันพิสูจน์ให้เห็นกับตา ว่าพลังของ "วารสารศาสตร์" นั้นยิ่งใหญ่เพียงใด ทำไมคนหนุ่มไม่กี่คนที่มีเพียงความจริงและอินเทอร์เน็ตเป็นอาวุธ จึงสามารถสร้างแรงสั่นสะเทือนให้แก่ ISIS ได้ไม่น้อยไปกว่าแรงระเบิดที่ทั้งอเมริกา และรัสเซียถล่มใส่เมืองรักกาแทบทุกวัน! |
หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับ Documentary Club
ชวนชมมุมมองของ "ผู้กระทำ" และ "ผู้ถูกกระทำ" มนุษยธรรมของผู้กระทำอยู่ตรงไหน? และอะไรคือความถูกต้องสำหรับพวกเขา? ร่วมค้นหาคำตอบจาก สารคดี 2 เรื่อง . “THE ACT OF KILLING” วันพุธที่ 21 ตุลาคม 2563 เวลา 16.30 น. . และ “THE LOOK OF SILENCE” วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม 2563 เวลา 16.30 น. . ณ ห้องกิจกรรมชั้น M หอศิลป์สนามจันทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จ.นครปฐม . บัตรราคา 50 บาทต่อเรื่อง | เปิดขายบัตรตั้งแต่ 15.30 น. เป็นต้นไป! *ขอให้ผู้เข้าชมทุกท่านสวมหน้ากากอนามัย ตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 __________ เกี่ยวกับสารคดี THE ACT OF KILLING / (159 mins) Director: Joshua Oppenheimer /2012 การรวมตัวกันอีกครั้งของกองกำลังทรงอิทธิพลท้องถิ่น เพื่อบอกเล่าให้โลกรับรู้ถึงสิ่งที่ทำไว้ในอดีตของการเป็น “ผู้กระทำ” อย่างภาคภูมิใจ โดยการจำลองออกมาในรูปแบบ “หนัง” ซึ่งกลับกลายเป็นการฉายภาพสะท้อนประวัติศาสตร์อันซับซ้อนในมุมที่ไม่เคยมีใครได้รับรู้! __________ THE LOOK OF SILENCE (103 mins) Director: Joshua Oppenheimer /2014 มุมมองของ “ผู้ถูกกระทำ” ในยุคไล่ล่าคอมมิวนิสต์กลางทศวรรษ 1960 กับการเผชิญหน้าเพื่อสนทนากับเหล่ามือสังหารตัวจริง เพื่อหาคำตอบว่าจะมี “ผู้กระทำ” สักคนไหมกล้ายอมรับความผิดพลาดในอดีตของตน |
หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับ HAL
ชวนพบกับ ภาพยนตร์เรื่องแรก เรื่องเดียว เรื่องสุดท้าย ของผู้กำกับ หู โบ ที่คว้ารางวัลผู้กำกับน่าจับตาจากเทศกาลเบอร์ลิน Berlin International Film Festival ครั้งที่ 68 รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม บทดัดแปลงยอดเยี่ยม รางวัลขวัญใจมหาชน จากGolden Horse Awards ครั้งที่ 55 . An Elephant Sitting Still : เมืองอนาคตหมด (234 นาที) ติดตามชีวิตของตัวละคร 4ตัวที่ดิ้นรนหาทางต่ออนาคตตัวเอง ในเมืองที่ชีวิตไร้ทางออก วันที่แสนวิปโยคของ เว่ยปู หนุ่มวัยรุ่นผู้เข้ากับสังคมที่บ้านเกิดไม่ได้ หลังจากผลักเพื่อนร่วมห้องที่ชอบกลั่นแกล้งเขาตกบันได เว่ยปูจึงหมดความคิดจะอยู่เมืองนี้ต่อและหาทางหนีออกจากเมืองเพื่อขึ้นเหนือไปยังเมืองหม่านโจวลี เมืองที่เขาคิดว่าอนาคตที่ดีกว่ารอเขาอยู่ ชมตัวอย่างภาพยนตร์ > https://tinyurl.com/wjc7g8g . วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม 2563 เวลา 17.00 น. ณ ห้องกิจกรรมชั้น M หอศิลป์สนามจันทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จ.นครปฐม . บัตรราคา 80 บาท (เปิดขายบัตรตั้งแต่ 16.00 น.) * เนื่องจากภาพยนตร์มีความยาว 234 นาที แนะนำให้ผู้ชมทานอาหารมาก่อน หรือนำขนมขบเคี้ยวเข้ามาทานได้นะคะ |
วาเลนไทน์นี้ต้องมีหนังรัก!
หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับ Documentary Club ชวนคุณมาดูหนังเกี่ยวกับความสัมพันธ์แสนลี้ลับ หลอกหลอน และร้อนระอุ! พบกับ "Burning" (มือเพลิง) ภาพยนตร์ที่ได้รับเสียงตอบรับดีเยี่ยมจากผู้ชม บ้างว่าเป็นหนังที่บาดลึก ทั้งหน่วง และชวนให้คิดไปได้หลายประเด็น แค่มาดูวิธีใช้มุมกล้องก็อิ่มเอมแล้ว จนบางคนต้องดูซ้ำแล้วซ้ำอีก! . พบกันก่อนวาเลนไทน์นี้ วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 17.00 น. ณ ห้องกิจกรรมชั้น M หอศิลป์สนามจันทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จ.นครปฐม . บัตรราคา 80 บาท มาเป็นคู่เหลือ 150 บาท พิเศษโดยเฉพาะ! มา 3 คน เพียง 220 บาท (เปิดขายบัตรตั้งแต่ 16.00 น.) --------------------------------------------------- "Burning" (148 นาที) สร้างจากเรื่องสั้น "Barn Burning" ของ ฮารูกิ มูราคามิ สู่ผลงานกำกับลือลั่นของ อีชางดง (แห่ง Peppermint Candy, Secret Sunshine, Oasis, Poetry) เรื่องราวของชายหนุ่มยากไร้ (ยูอาอิน) ผู้หวนมาสานสัมพันธ์กับหญิงสาวเพื่อนเก่า (ชอนจงซอ) แต่ชีวิตของเขาต้องพลิกผันไปตลอดกาลเมื่อเธอชักนำบุรุษลึกลับอีกคน (สตีเฟน ยอน) เข้ามา อันเป็นจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์แสนประหลาด-หลอกหลอน-ร้อนระอุ ระหว่างหนึ่งหญิง สองชาย และไฟที่แผดเผาทุกอย่าง |
หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับ HAL Distribution ชวนชม ‘THE SQUARE’ อาร์ต ตัวแม่งงงงงง ภาพยนตร์ตลกร้ายสัญชาติสวีเดน ดีกรีภาพยนตร์ที่ได้เข้าชิงรางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์ต่างประเทศยอดเยี่ยม และเจ้าของรางวัล ปาล์มทองคำ เทศกาลหนังเมืองคานส์ปี 2017 ภายในเนื้อเรื่องสะท้อนความจริงในวงการศิลปะและคนทำงานศิลปะ ที่ไม่ได้ราบรื่นเสมอไป ไม่เพียงเท่านั้น ยังแฝงแง่มุมต่างๆที่น่าสนใจให้ฉุกคิดถึงปัญหาสังคม ชนชั้นอีกด้วย
วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม 2563 เวลา 17.00 น. ณ ห้องกิจกรรม ชั้น M หอศิลป์สนามจันทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จังหวัดนครปฐม บัตรราคา 80 บาท *ขายบัตรหน้างาน เวลา 16.00 น. เป็นต้นไป ------------ สวีเดน / 2017 / กำกับ: รูเบน ออสลันด์ Swedish / 2017 / Director: Ruben Östlund ความยาว 142 นาที โหด มันส์ ฮากับภาพยนตร์ตลก โดยผู้กำกับ รูเบน ออสลันด์ 'The Square' ความชิบหายมาเยือน คริสเตียน ภัณฑารักษ์แห่งหอศิลปสุดเฉียบ X Royal เมื่องานใหม่ชิ้นใหญ่ เดอะ สแควร์ ยากเกินจะประชาสัมพันธ์จึงต้องจ้าง เอเจนซี่สุดเฮี้ยนมาช่วยโปรโมท ในขณะที่ต้องรับมือความบ้าคลั่งของนักข่าวสาวอเมริกันสุดเฟมินิส เด็กเปรดจากค่ายผู้อพยพที่เข้ามาป่วนชีวิต พบกับความบ้าคลั่งบ้าบอของโลกแห่งศิลปะ งานกองดิน ลิงเดินพล่าน สงครามถุงยาง มันคืออัลไล! . ชมตัวอย่างภาพยนตร์ https://www.youtube.com/watch?v=JyS5ZTWvmQI |
หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับ Documentary Club ขอต้อนรับปี 2563 ด้วยสารคดีคุณภาพเช่นเคยค่ะ! ครั้งนี้ชวนชม BREAKING HABITS
ภาพยนตร์สารคดีที่บันทึกเรื่องราวของกลุ่มคนผู้ดื้อแพ่งต่อมาตรฐานความคิดของสังคม และยืนยันต่อสู้เพื่อความอยู่รอดและด้วยความหวังในท่ามกลางโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง! วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม 2563 เวลา 17.00 น. ณ ห้องกิจกรรม ชั้น M หอศิลป์สนามจันทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จังหวัดนครปฐม บัตรราคา 50 บาท *ขายบัตรหน้างาน เวลา 16.00 น. เป็นต้นไป ------------ สหราชอาณาจักร / 2018 / กำกับ: โรเบิร์ต ไรอัน UK / 2018 / Director: Robert Ryan หลังถูกสามีที่อยู่กินด้วยกันมาถึง 17 ปีหลอกลวงและหักหลังอย่างเจ็บแสบ “คริสทีน มิวเซน” อดีตผู้บริหารหญิงคนเก่งก็จำต้องหอบลูกๆ หนีออกมาตั้งต้นชีวิตใหม่ โดยไม่มีเงินติดตัว ไม่มีที่ซุกหัวนอน และแทบไม่มีความหวังใดๆ หลงเหลือ แต่ด้วยจิตใจที่แข็งแกร่งไม่ธรรมดา คริสทีนมุ่งมั่นจะนำพาครอบครัวของเธอให้รอด และเป็นช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อนั้นเองที่เธอค้นพบโอกาสทำกำไรจากธุรกิจปลูกกัญชาเป็นยา อันเป็นจุดเริ่มต้นของการก่อตั้งอาณาจักร “แม่ชีแห่งหุบเขา” หรือ Sisters of the Valley ซึ่งมีภารกิจในการเผยแพร่ยาชนิดนี้แก่ทุกคนที่ต้องการ ทว่า เป้าหมายของคริสทีน หรือบัดนี้คือ “ซิสเตอร์เคต” ก็ใช่จะบรรลุโดยง่าย เพราะเธอยังต้องผจญกับการถูกจับจ้องของนายอำเภอและเหล่าตำรวจผู้ต้องการกำจัดกัญชาให้หมดไป พร้อมๆ กับที่ยังต้องพยายามปกป้องพืชพันธุ์ของเธอจากการถูกลักลอบปล้นไปขายในตลาดมืด |
หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับ Documentary Club ชวนชม Hail Satan?
สารคดีฮาเจ็บแห่งปี ติดตามการแจ้งเกิดอันไม่ธรรมดาของหนึ่งในขบวนการเคลื่อนไหวทางศาสนาที่เปี่ยมสีสัน อื้อฉาว
และบ้าบอคอแตกที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา!
วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน 2562 เวลา 17.00 น.
ณ ห้องกิจกรรม ชั้น M หอศิลป์สนามจันทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จังหวัดนครปฐม
บัตรราคา 50 บาท
สารคดีฮาเจ็บแห่งปี ติดตามการแจ้งเกิดอันไม่ธรรมดาของหนึ่งในขบวนการเคลื่อนไหวทางศาสนาที่เปี่ยมสีสัน อื้อฉาว
และบ้าบอคอแตกที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา!
วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน 2562 เวลา 17.00 น.
ณ ห้องกิจกรรม ชั้น M หอศิลป์สนามจันทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จังหวัดนครปฐม
บัตรราคา 50 บาท
-----------
Hail Satan? 95 นาที / 2019 / สหรัฐอเมริกา / กำกับ: เพนนี เลน 1h 35min / 2019 / USA / Director: Penny Lane เพนนี เลน ผู้กำกับหญิงผู้โด่งดังจากผลงานเลื่องชื่ออย่าง Nuts! และ Our Nixon พาเราไปตามรอยเหล่าสาวกผู้อยู่เบื้องหลังข่าวแสบสันมากมายของ “โบสถ์ซาตาน” (Satanic Temple) ซึ่งอุทิศตนให้แก่การเรียกร้องเสรีภาพอันเท่าเทียมในการนับถือศาสนา พร้อมๆ กับเดินหน้าปะทะท้าทายบรรดาผู้มีอำนาจจอมฉ้อฉล การแสดงออกที่ดูผิวเผินเหมือนโง่เง่า เป็นอันตราย ไร้สาระ ของกลุ่มคนที่ถูกเข้าใจผิดมาช้านานเหล่านี้ กลับซุกซ่อนไว้ซึ่งแนวคิดสุดชาญฉลาด, อารมณ์ขันร้ายกาจชวนจุก มิตรภาพน่าซาบซึ้ง และพลังมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงโลก ด้วยเรื่องราวสุดประหลาด ผสมกับฝีมือในการเขียนบทและกำกับ ส่งผลให้ Hail Satan? กลายเป็นสารคดีที่ทั้งเจาะลึก ขบขัน และท้าทายความคิด …ชนิดที่อาจทำให้ผู้ชมต้องแปลกใจเมื่อพบว่า มันได้เปลี่ยนความคิดและความเชื่อที่เราเคยมีต่อ “คนนอกรีต” ไปได้อย่างเหลือเชื่อ! |
หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร ชวนชมภาพยนตร์กันอีกแล้วค่า ครั้งนี้เราพาผลงานภาพยนตร์จากฝีมือของ คุณเต๋อ นวพล ธํารงรัตนฤทธิ์
Die Tomorrow - วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม และ 36 - วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน เริ่มฉายเวลา 17.00 น. (หนังฉายตรงเวลา เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนผู้อื่น และจะไม่เปิดให้เข้าชมหลังหนังเริ่มฉายแล้ว 10 นาทีค่ะ) ณ ห้องกิจกรรม ชั้น M หอศิลป์สนามจันทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จังหวัดนครปฐม บัตรราคา 80 บาทต่อเรื่อง หรือชมภาพยนตร์ทั้ง 2 เรื่อง ในราคา 150 บาท! -------- Die Tomorrow (75 นาที) "ก่อนวันที่เราตายมักจะเป็นวันธรรมดา ๆ วันหนึ่ง" ว่าด้วยเรื่องราวที่สร้างมาจากเหตุการณ์การเสียชีวิตของคนจากหนังสือพิมพ์ ในปี 2555-2559 เล่าเรื่องราวใน 24 ชั่วโมงก่อนตัวละครในเรื่องจะตาย -------- 36 (68 นาที) "บางอย่างพอไม่มีรูปแล้ว ก็เหมือนมันไม่เคยมีอยู่จริงเลย" ทรายเป็นคนหาสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ อุ้มเป็นฝ่ายกำกับศิลป์ ดูแลฉากในกองถ่าย ทั้งสองคนทำงานที่บริษัทเดียวกัน ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง สองปีต่อมา ทรายยังเป็นคนหาสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์เช่นเดิม สิ่งที่ต่างไปคืออุ้ม และไฟล์ต่างๆ ในฮาร์ดดิสก์ของทราย คนบางคนผ่านเข้ามาในชีวิตเราแค่ช่วงระยะเวลาสั้นๆ ถ้าเราไม่มีสิ่งเตือนความจำ เราจะยังจำเขาคนนั้นได้หรือเปล่า ถ้าเราไม่เห็น เราจะจำได้ไหม |
หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับ Documentary Club
|
หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดกิจกรรมฉายภาพยนตร์เนื่องใน
|