PAST 2018
|
|
การแสดงศิลปะเครื่องปั้นดินเผาแห่งชาติ ครั้งที่ 19
เปิดโอกาสให้ศิลปินไทยสร้างสรรค์ผลงานเครื่องปั้นดินเผา สะท้อนถึงแนวคิด และแรงบันดาลใจ ด้วยรูปแบบ เทคนิคที่หลากหลาย โดยแบ่งประเภทผลงานออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ประเภทศิลปกรรมร่วมสมัย ประเภทหัตถกรรม และประเภทผลิตภัณฑ์ต้นแบบอุตสาหกรรม โดยมีศิลปินได้รับรางวัลทั้งสิ้น 13 ราย และมีผลงานที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมแสดงในนิทรรศการอีก 103 ชิ้น และมีผู้ได้รับยกย่องเป็นศิลปินเครื่องปั้นดินเผาเกียรติคุณ 1 ราย ตามเงื่อนไขที่ว่า เป็นศิลปินผู้ได้รับรางวัลยอดเยี่ยม 2 ครั้ง และรางวัลดีเด่น 2 ครั้งในประเภทเดียวกัน นอกจากนี้มหาวิทยาลัยศิลปากรยังได้อัญเชิญผลงานเครื่องปั้นดินเผาฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาร่วมแสดงพร้อมผลงานจากศิลปินรับเชิญ โดย สมลักษณ์ ปันติบุญ โดยผลงานดังกล่าวจะมีการจัดแสดงนิทรรศการ ณ ชั้น 1 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม ระหว่างวันที่ 1 - 20 ธันวาคม 2561 เวลา 10.00 – 16.00 น. (ไม่เว้นวันหยุด) ในการนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิดงานนิทรรศการและพระราชทานรางวัล ในวันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม 2561 ทั้งนี้ ในวันดังกล่าวบุคคลทั่วไปจะสามารถเข้าชมนิทรรศการได้หลังเสร็จสิ้นพิธี เวลา 16.00 - 18.00 น. สามารถนำรถยนต์เข้าได้ทางประตูทรงพล และจอดได้ที่ลานจอดรถ อาคาร 50 ปี (มีรถรางรับส่งมายังบริเวณงานพิธี) The National Ceramics Exhibition was established in 1986. The exhibition has been showcasing continuously until it came to the 19th this year. This project is to encourage Thai artists to create ceramics in different forms and techniques that can reflect concept and inspiration, as well as potential and uniqueness. The competition is divided into three categories of works, which are Contemporary Ceramic Art, Ceramic Handicraft and Ceramic Industrial Prototype. This year, 13 artists are granted award-winning entries and 103 sets of works are selected to showcase together. This year, there is the 1st Honorable Artist of Ceramics in Contemporary Ceramic Art, in which he has been awarded with the first prize for 2 times and the second prize for 2 times (under the same type of work). The exhibition also features Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn hand-painted ceramics and works from guest artists, Somluk Pantiboon. The exhibition will be on view from 1 - 20 December 2018 (daily) at the Art and Cultural Center Commemorating the 6th Cycle Birthday Anniversary of His Majesty the King Bhumibol Adulyadej, Silpakorn University, Sanamchandra Campus, Nakorn Pathom Province. Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn has graciously consented to preside over the Opening Ceremony of the 19th National Ceramics Exhibition on Saturday 15 December 2018 at 2 pm. (The exhibition will open to public at 4 - 6 pm) |
OCTOBER
การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 64
การแสดงศิลปกรรมแห่งชาตินับเป็นเวทีการประกวดระดับชาติที่มีประวัติความเป็นมายาวนานที่สุดในประเทศไทย และจัดการแสดงอย่างต่อเนื่องโดยมหาวิทยาลัยศิลปากร จนถึงปัจจุบันนับเป็นครั้งที่ 64 เพื่อเป็นการสนับสนุนและเปิดโอกาสให้ศิลปินไทยได้มีเวทีแห่งการสร้างสรรค์ในระดับชาติ โดยการส่งผลงานศิลปกรรมประเภทจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ และสื่อประสม เข้าประกวดโดยมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิร่วมตัดสิน ในปีนี้มีศิลปินได้รับรางวัลประเภทต่างๆ รวมทั้งสิ้น 16 ราย และศิลปินได้รับคัดเลือกผลงานเข้าร่วมแสดงทั้งสิ้น 54 ราย และมีผู้ได้รับยกย่องเป็นศิลปินชั้นเยี่ยม 1 ราย โดยจะจัดแสดงผลงานดังกล่าวเพื่อเปิดโอกาสให้สาธารณชนได้ชื่นชมผลงานศิลปกรรมอย่างกว้างขวางทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคอีกด้วย
โดยผลงานดังกล่าวจะมีการจัดแสดงนิทรรศการ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพฯ ในระหว่างวันที่ 9 – 28 ตุลาคม พ.ศ.2561 เปิดให้เข้าชมทุกวันพุธ-อาทิตย์ ระหว่างเวลา 09.00 – 16.00 น. (ยกเว้นวันจันทร์และวันอังคาร) หลังจากนั้นจะนำไปจัดแสดง ณ สถาบันศิลปะในส่วนภูมิภาคต่อไป
ในการนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ นาย จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ในพิธีเปิดนิทรรศการการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 64
ซึ่งจะมีพิธีเปิดนิทรรศการในวันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ.2561 เวลา 14.00 น.
ทั้งนี้ ในวันดังกล่าวบุคคลทั่วไปจะสามารถเข้าชมได้หลังเสร็จสิ้นพิธี ตั้งแต่เวลา 16.00 น.
The National Exhibition of Art has been established continuously to encourage Thai people to learn and understand modern art and submit works for competition. This year, the exhibition has come to its 64th. The competition and exhibition have divided artworks into four categories, which are painting, sculpture, printmaking and mixed media. All of the artworks have been selected by honorable jurors from various fields of fine arts. This year, 16 pieces of work are selected for award-winning entries, while 54 artists are selected to showcase together on the exhibition. Especially, there is an artist honored as an Artist of Distinction in Painting. The exhibition aims to enhance the art creativity and also promote knowledge of art appreciation to the public.
The exhibition will be on view from 9 - 28 October 2018 at the National Gallery in Bangkok, 9 am to 4 pm daily (closed on Mondays and Tuesdays).Then, they will be exhibited in provincial institutes.
HIS MAJESTY THE KING has graciously designated His Excellency Chirayu Isarangkun Na Ayuthaya Privy Councillor as His Majesty the King’s Representative to preside over the opening ceremony of the 64th National Exhibition of Art 2018, on Tuesday 9th October 2018 at 2 pm.
(The exhibition will open to public at 4 pm)
การแสดงศิลปกรรมแห่งชาตินับเป็นเวทีการประกวดระดับชาติที่มีประวัติความเป็นมายาวนานที่สุดในประเทศไทย และจัดการแสดงอย่างต่อเนื่องโดยมหาวิทยาลัยศิลปากร จนถึงปัจจุบันนับเป็นครั้งที่ 64 เพื่อเป็นการสนับสนุนและเปิดโอกาสให้ศิลปินไทยได้มีเวทีแห่งการสร้างสรรค์ในระดับชาติ โดยการส่งผลงานศิลปกรรมประเภทจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ และสื่อประสม เข้าประกวดโดยมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิร่วมตัดสิน ในปีนี้มีศิลปินได้รับรางวัลประเภทต่างๆ รวมทั้งสิ้น 16 ราย และศิลปินได้รับคัดเลือกผลงานเข้าร่วมแสดงทั้งสิ้น 54 ราย และมีผู้ได้รับยกย่องเป็นศิลปินชั้นเยี่ยม 1 ราย โดยจะจัดแสดงผลงานดังกล่าวเพื่อเปิดโอกาสให้สาธารณชนได้ชื่นชมผลงานศิลปกรรมอย่างกว้างขวางทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคอีกด้วย
โดยผลงานดังกล่าวจะมีการจัดแสดงนิทรรศการ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพฯ ในระหว่างวันที่ 9 – 28 ตุลาคม พ.ศ.2561 เปิดให้เข้าชมทุกวันพุธ-อาทิตย์ ระหว่างเวลา 09.00 – 16.00 น. (ยกเว้นวันจันทร์และวันอังคาร) หลังจากนั้นจะนำไปจัดแสดง ณ สถาบันศิลปะในส่วนภูมิภาคต่อไป
ในการนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ นาย จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ในพิธีเปิดนิทรรศการการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 64
ซึ่งจะมีพิธีเปิดนิทรรศการในวันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ.2561 เวลา 14.00 น.
ทั้งนี้ ในวันดังกล่าวบุคคลทั่วไปจะสามารถเข้าชมได้หลังเสร็จสิ้นพิธี ตั้งแต่เวลา 16.00 น.
The National Exhibition of Art has been established continuously to encourage Thai people to learn and understand modern art and submit works for competition. This year, the exhibition has come to its 64th. The competition and exhibition have divided artworks into four categories, which are painting, sculpture, printmaking and mixed media. All of the artworks have been selected by honorable jurors from various fields of fine arts. This year, 16 pieces of work are selected for award-winning entries, while 54 artists are selected to showcase together on the exhibition. Especially, there is an artist honored as an Artist of Distinction in Painting. The exhibition aims to enhance the art creativity and also promote knowledge of art appreciation to the public.
The exhibition will be on view from 9 - 28 October 2018 at the National Gallery in Bangkok, 9 am to 4 pm daily (closed on Mondays and Tuesdays).Then, they will be exhibited in provincial institutes.
HIS MAJESTY THE KING has graciously designated His Excellency Chirayu Isarangkun Na Ayuthaya Privy Councillor as His Majesty the King’s Representative to preside over the opening ceremony of the 64th National Exhibition of Art 2018, on Tuesday 9th October 2018 at 2 pm.
(The exhibition will open to public at 4 pm)
NOVEMBER
The 2nd SYNC artist-in-residence in NarathiwatSYNC artist-in-residence 2018
โครงการศิลปินในพำนัก SYNC artist-in-residence ครั้งที่ 2 โดย หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับ เดอ ลาแป อาร์ทสเปซ นราธิวาส sync หรือ synchronize คือ การเชื่อมโยง เชื่อมต่อ เป็นหนึ่งเดียวกัน ไปในทางเดียวกัน เปรียบได้กับ การเชื่อมโยงสองวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน การเรียนรู้ซึ่งกันและกันผ่านการสร้างสรรค์งานศิลปะร่วมสมัย โครงการศิลปินในพำนัก SYNC artist-in-residence เกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือของหอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร และ เดอ ลาแป อาร์ทสเปซ จังหวัดนราธิวาส เพื่อคัดเลือกศิลปินร่วมสมัยให้ไปพำนักและสร้างสรรค์ผลงานร่วมกับศิลปินในพื้นที่ ณ เดอ ลาแป อาร์ทสเปซ จังหวัดนราธิวาส โดยในปี 2561 นี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 ขณะนี้ศิลปินที่ผ่านการคัดเลือกทั้งคู่ ได้สิ้นสุดระยะเวลาพำนักไปเมื่อสิ้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา และได้นำผลงานที่ร่วมกันสร้างสรรค์มานำเสนอ! โดยจะมีพิธีเปิดนิทรรศการและเสวนาแลกเปลี่ยนมุมมองของสองศิลปินและภัณฑารักษ์จากทั้งสองฝั่ง วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน 2561 ระหว่าง 14.00-16.00น. ณ เดอ ลาแป อาร์ทสเปซ จังหวัดนราธิวาส เปิดให้เข้าชมผลงานจนถึง 28 กุมภาพันธ์ 2562 ณ เดอ ลาแป อาร์ทสเปซ จังหวัดนราธิวาส |
SEPTEMBER - OCTOBER
ขยายเวลาจัดแสดงถึง 31 ตุลาคม
นิทรรศการศิลปะที่นำเสนอศิลปินชั้นเยี่ยม ผ่าน 5 ศิลปินชั้นเยี่ยมคนล่าสุดจากเวทีการเเสดงศิลปกรรมเเห่งชาติ ได้แก่ อนุพงษ์ จันทร อัฐพร นิมมาลัยแก้ว ประสิทธิ์ วิชายะ ญาณวิทย์ กุญแจทอง และ ประดิษฐ์ ตั้งประสาทวงศ์ เพื่อเเสดงให้เห็นถึงพัฒนาการทางศิลปะในพื้นที่การเเสดงศิลปกรรมเเห่งชาติ เเละนำเสนอถึงเส้นทางการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะของศิลปินชั้นเยี่ยม
ร่วมเรียนรู้วัสดุที่ใช้ในการสร้างสรรค์งานศิลปะ และการวาดภาพร่างกายมนุษย์ในแบบต่างๆในห้องกิจกรรมการเรียนรู้
จัดแสดง 3 กันยายน - 31 ตุลาคม 2561 ณ อาคารนิทรรศการหลัก หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร (วังท่าพระ)
Exhibition extended to 31 October
An art exhibition presenting Artists of Distinction through five latest Artists of Distinction from the National Exhibition of Art : Anupong Chantorn, Uttaporn Nimmalaikaew, Prasit Wichaya, Yanawit Kunchaethong, Pradit Tungprasartwong. The exhibition aims to illustrate the development of art creation seen in the National Exhibition of Art and the path of Artists of Distinction.
Visit the exhibition and understand about the materials and human figure in art creation, together with learning about the timeline of Artists of Distinction in Play + Learn rooms.
The exhibition is on view 3 September - 31October 2018 at the Main Exhibition Hall of the Art Centre Silpakorn University
นิทรรศการศิลปะที่นำเสนอศิลปินชั้นเยี่ยม ผ่าน 5 ศิลปินชั้นเยี่ยมคนล่าสุดจากเวทีการเเสดงศิลปกรรมเเห่งชาติ ได้แก่ อนุพงษ์ จันทร อัฐพร นิมมาลัยแก้ว ประสิทธิ์ วิชายะ ญาณวิทย์ กุญแจทอง และ ประดิษฐ์ ตั้งประสาทวงศ์ เพื่อเเสดงให้เห็นถึงพัฒนาการทางศิลปะในพื้นที่การเเสดงศิลปกรรมเเห่งชาติ เเละนำเสนอถึงเส้นทางการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะของศิลปินชั้นเยี่ยม
ร่วมเรียนรู้วัสดุที่ใช้ในการสร้างสรรค์งานศิลปะ และการวาดภาพร่างกายมนุษย์ในแบบต่างๆในห้องกิจกรรมการเรียนรู้
จัดแสดง 3 กันยายน - 31 ตุลาคม 2561 ณ อาคารนิทรรศการหลัก หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร (วังท่าพระ)
Exhibition extended to 31 October
An art exhibition presenting Artists of Distinction through five latest Artists of Distinction from the National Exhibition of Art : Anupong Chantorn, Uttaporn Nimmalaikaew, Prasit Wichaya, Yanawit Kunchaethong, Pradit Tungprasartwong. The exhibition aims to illustrate the development of art creation seen in the National Exhibition of Art and the path of Artists of Distinction.
Visit the exhibition and understand about the materials and human figure in art creation, together with learning about the timeline of Artists of Distinction in Play + Learn rooms.
The exhibition is on view 3 September - 31October 2018 at the Main Exhibition Hall of the Art Centre Silpakorn University
หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับ เดอ ลาแป อาร์ทสเปซ จังหวัดนราธิวาส นำเสนอ
โครงการศิลปินในพำนัก SYNC artist-in-residence 2017 เป็นความร่วมมือระหว่างหอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร และ เดอ ลาแป อาร์ทสเปซ จังหวัดนราธิวาส เพื่อคัดเลือกศิลปินร่วมสมัยไม่จำกัดสาขาการสร้างสรรค์ ให้ไปพำนักและทำงานร่วมกับศิลปินในพื้นที่ ณ จังหวัดนราธิวาส เป็นเวลา 1 เดือน และเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาพำนัก จึงนำผลงานสร้างสรรค์ของศิลปินทั้งสองมาจัดแสดง
sync หรือ synchronize คือ การเชื่อมโยง เชื่อมต่อ เป็นหนึ่งเดียวกัน ไปในทางเดียวกัน เปรียบได้กับ การเชื่อมโยงสองวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน การเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ผ่านการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันมุมมองและประสบการณ์ระหว่างศิลปินจากสองพื้นที่ เพื่อสร้างความเข้าใจในการอยู่ร่วมกันท่ามกลางความแตกต่าง
การเดินทางไปยังที่ที่ไม่คุ้นเคยและอยู่ท่ามกลางวัฒนธรรมที่ไม่คุ้นชิน การทำความรู้จักและเรียนรู้ผ่านสิ่งรอบตัวและผู้คนที่พบเจอ หนึ่งเดือนในการอยู่ร่วมกัน หนึ่งเดือนแห่งการแบ่งปัน ทั้งความคิด มุมมอง และการทำงานศิลปะของ สองศิลปิน ปุญญิศา ศิลปรัศมี และอัมรู ไทยสนิท
จัดแสดง 29 สิงหาคม - 30 กันยายน 2561
ณ ชั้น 1 อาคารนิทรรศการหลัก หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร (วังท่าพระ)
-----------------------------------
The Art Centre, Silpakorn University and De’ Lapae Art Space proudly present SYNC artist-in-residence 2017 project presentation.
SYNC artist-in-residence 2017 is a collaboration between the Art Centre, Silpakorn University and De’ Lapae Art Space, Narathiwat. The project is open for contemporary artists in any fields of art to apply for a one-month-residency in Narathiwat to work with the selected local artist. At the end of the residency, works from both artists are showcased at De’ Lapae Art Space, Narathiwat.
sync / synchronize (v.) cause to happen at the same time ; coordinate ; connect, is like connecting two different cultures and learning about each other through exchanging and sharing thoughts and experiences between artists that come from two different places, in order to learn to live in harmony despite the differences.
Travelling to an unfamiliar place and culture, and getting to know and learn from things and people encountered, this one month together is a month of sharing - the sharing of different thoughts, perspectives, and working approach between two artists, Punyisa Silparassamee and Amru Thaisnit.
The exhibition is on view 29 August – 30 September 2018
at 1st floor, Main Exhibition Hall of the Art Centre, Silpakorn University (Wangthapra)
โครงการศิลปินในพำนัก SYNC artist-in-residence 2017 เป็นความร่วมมือระหว่างหอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร และ เดอ ลาแป อาร์ทสเปซ จังหวัดนราธิวาส เพื่อคัดเลือกศิลปินร่วมสมัยไม่จำกัดสาขาการสร้างสรรค์ ให้ไปพำนักและทำงานร่วมกับศิลปินในพื้นที่ ณ จังหวัดนราธิวาส เป็นเวลา 1 เดือน และเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาพำนัก จึงนำผลงานสร้างสรรค์ของศิลปินทั้งสองมาจัดแสดง
sync หรือ synchronize คือ การเชื่อมโยง เชื่อมต่อ เป็นหนึ่งเดียวกัน ไปในทางเดียวกัน เปรียบได้กับ การเชื่อมโยงสองวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน การเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ผ่านการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันมุมมองและประสบการณ์ระหว่างศิลปินจากสองพื้นที่ เพื่อสร้างความเข้าใจในการอยู่ร่วมกันท่ามกลางความแตกต่าง
การเดินทางไปยังที่ที่ไม่คุ้นเคยและอยู่ท่ามกลางวัฒนธรรมที่ไม่คุ้นชิน การทำความรู้จักและเรียนรู้ผ่านสิ่งรอบตัวและผู้คนที่พบเจอ หนึ่งเดือนในการอยู่ร่วมกัน หนึ่งเดือนแห่งการแบ่งปัน ทั้งความคิด มุมมอง และการทำงานศิลปะของ สองศิลปิน ปุญญิศา ศิลปรัศมี และอัมรู ไทยสนิท
จัดแสดง 29 สิงหาคม - 30 กันยายน 2561
ณ ชั้น 1 อาคารนิทรรศการหลัก หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร (วังท่าพระ)
-----------------------------------
The Art Centre, Silpakorn University and De’ Lapae Art Space proudly present SYNC artist-in-residence 2017 project presentation.
SYNC artist-in-residence 2017 is a collaboration between the Art Centre, Silpakorn University and De’ Lapae Art Space, Narathiwat. The project is open for contemporary artists in any fields of art to apply for a one-month-residency in Narathiwat to work with the selected local artist. At the end of the residency, works from both artists are showcased at De’ Lapae Art Space, Narathiwat.
sync / synchronize (v.) cause to happen at the same time ; coordinate ; connect, is like connecting two different cultures and learning about each other through exchanging and sharing thoughts and experiences between artists that come from two different places, in order to learn to live in harmony despite the differences.
Travelling to an unfamiliar place and culture, and getting to know and learn from things and people encountered, this one month together is a month of sharing - the sharing of different thoughts, perspectives, and working approach between two artists, Punyisa Silparassamee and Amru Thaisnit.
The exhibition is on view 29 August – 30 September 2018
at 1st floor, Main Exhibition Hall of the Art Centre, Silpakorn University (Wangthapra)
June
"นัยแสง" (Luminous)
Exhibition extended to 28 June!
(Open to public until 12 am on 29 June)
Exhibition extended to 28 June!
(Open to public until 12 am on 29 June)
“นัยแสง Luminous” นิทรรศการที่คัดสรรและจัดแสดงโดยหอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของผลงานศิลปะที่ให้สาระสำคัญต่อ “แสง” ผ่านผลงานของ 6 ศิลปิน ในคลังสะสมของมหาวิทยาลัยศิลปากร ได้แก่ จักรพันธุ์ โปษยกฤต ปรีชา เถาทอง สุวิชาญ เถาทอง ผ่อง เซ่งกิ่ง อารยา ราษฎร์จำเริญสุข และ อัศนีย์ ชูอรุณ ภายใต้โครงการนิทรรศการศิลปกรรมสะสมมหาวิทยาลัยศิลปากรครั้งที่ 3
ชมนิทรรศการและทำความเข้าใจกับแสงรอบตัวเราที่มีผลต่อการสร้างสรรค์พร้อมเรียนรู้เส้นทางประวัติศาสตร์ศิลปะของไทยในห้องกิจกรรมการเรียนรู้
4-27 มิถุนายน 2561
ณ ห้องนิทรรศการหลัก หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ
"Luminous" exhibition is curated by the Art Centre, Silpakorn University to illustrate the development of artworks that gives an importance upon “light”, showcasing works from 6 leading artists from Silpakorn University Art Collections, namely Chakrabhand Posayakrit, Preecha Thaothong, Suvichan Thaothong, Phong Sengking, Araya Rasdjarmrearnsook and Asanee Chooarun. This exhibition is part of the Art Collection from Silpakorn Unversity season 3.
Visit the exhibition and understand about the light that affects art creation, together with learning about the timeline of Thai art history in Play + Learn rooms.
4-27 June 2018
at the Main Exhibition Hall of the Art Centre, Silpakorn University (Wangthapra)
EXHIBITIONS
& EVENTS
APR - MAY
Struggling Cities: from Japanese Urban Projects in the 1960s
เมืองต้องสู้: โครงการผังเมืองของญี่ปุ่นในทรรศวรรษ 1960
เมืองต้องสู้: โครงการผังเมืองของญี่ปุ่นในทรรศวรรษ 1960
พิธีเปิดนิทรรศการ วันอังคารที่ 24 เมษายน เวลา 19.00 น.
บรรยายพิเศษในวันพิธีเปิด เวลา 17:30 น.
ในหัวข้อ ”โตเกียว กรุงเทพฯ : สร้างบ้านเปลี่ยนเมืองอย่างยั่งยืนได้อย่างไร"
โดย ผศ.ดร. นิรมล กุลศรีสมบัติ ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดำเนินรายการ โดย ผศ.คมกริช ธนะเพทย์ อ.ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง จุฬาฯ / ที่ปรึกษา UddC
นิทรรศการจัดแสดงระหว่างวันอังคารที่ 24 เมษายน ถึงวันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม 2561
Opening exhibition on 24 April 2018 at 7pm
Special lecture at 5.30pm, "Tokyo Bangkok: How sustainable cities can be shaped?" by
(Speaker) Asst. Prof. Dr. Niramon Kulsrisombat
Director of Urban Design and Development Center (UDDC), Chulalongkorn University
[Moderator] Asst. Prof. Komgrit Thanapet
CU. ARCH. DEPARTMENT OF URBAN AND REGIONAL PLANNING
เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ ร่วมกับ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในการนำเสนอนิทรรศการสัญจรระหว่างประเทศ ที่มีชื่อว่า “เมืองต้องสู้: โครงการผังเมืองของญี่ปุ่นในทรรศวรรษ 1960 (Struggling Cities: from Japanese Urban Projects in the 1960s)” นิทรรศการนี้มุ่งแสดงให้เห็นภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ของเมืองทั้งในญี่ปุ่นและประเทศอื่น ๆ จนถึงปัจจุบันและชี้ให้เห็นถึงแง่มุมเฉพาะของภาวะแวดล้อมดังกล่าวตามที่ปรากฏในโตเกียวปัจจุบัน ทั้งนี้ นิทรรศการเริ่มต้นด้วยการจัดแสดงแนวคิดทดลองเกี่ยวกับเมือง ซึ่งมีการนำเสนออย่างมากมายในญี่ปุ่นช่วงทศวรรษ 1960 โดยอาศัยสื่อและโสตทัศนูปกรณ์หลากหลาย เช่น โมเดลสถาปัตยกรรม รูปถ่าย สไลด์ ตลอดจนแอนิเมชั่น มาช่วยในการจัดแสดง
The Japan Foundation, Bangkok, in collaboration with the Art Centre, Silpakorn University (Wang Thapra) proudly co-organize the international traveling exhibition entitled “Struggling Cities: from Japanese Urban Projects in the 1960s.” The exhibition will be in Bangkok from 24th April to 18th May. Before the opening ceremony, there will be a special talk session by special guests.
Taking as its point of departure the various experimental ideas on the city that flourished in Japan in the 1960s and using a combination of diverse media — from architectural scale models to photographs and slides, along with animations and other audio-visuals — the exhibition examines various circumstances of Japanese and other cities up to the present day, and identifies in particular the distinctive aspects of those circumstances as they are manifested in present-day Tokyo.
The Japan Foundation, Bangkok, in collaboration with the Art Centre, Silpakorn University (Wang Thapra) proudly co-organize the international traveling exhibition entitled “Struggling Cities: from Japanese Urban Projects in the 1960s.” The exhibition will be in Bangkok from 24th April to 18th May. Before the opening ceremony, there will be a special talk session by special guests.
Taking as its point of departure the various experimental ideas on the city that flourished in Japan in the 1960s and using a combination of diverse media — from architectural scale models to photographs and slides, along with animations and other audio-visuals — the exhibition examines various circumstances of Japanese and other cities up to the present day, and identifies in particular the distinctive aspects of those circumstances as they are manifested in present-day Tokyo.
MAR
|
JAN - FEB
MONGKUT by Arin Rungjang
นิทรรศการมงกุฏ โดย อริญชย์ รุ่งแจ้ง
พิธีเปิดนิทรรศการวันศุกร์ที่ 12 มกราคม 2561 เวลา 19.00 น.
* ศิลปินเสวนา เวลา 16.30 น.
Opening exhibition on 12 January 2018 at 7pm
with Artist's Talk on 4.30pm
“MONGKUT” โดย อริญชย์ รุ่งแจ้ง สะท้อน ความสัมพันธ์สยาม-ฝรั่งเศสในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 (ค.ศ. 1851-1868) กับจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 (ค.ศ. 1852-1870) ในช่วงเวลาที่โลกตะวันตกขยายอาณานิคมครอบครองพื้นที่จำนวนมากในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในวันที่ 27 มิถุนายน 1861 มงกุฎจำลององค์ที่สองถูกนำมาถวายแด่จักรพรรดินโปเลียนที่ 3 โดยคณะราชทูตของสยามที่พระราชวังฟงแตนโบล
ศิลปะจัดวาง วีดีโอและประติมากรรมชุด “MONGKUT” นี้ ศิลปินจำลองเครื่องมงคลราชบรรณาการจากรัชกาลที่ 4 เพื่อเปิดเผยประวัติศาสตร์ที่น้อยคนจะรู้เกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยในความสัมพันธ์ของสยามและฝรั่งเศส นิทรรศการนี้ได้จัดแสดงมาแล้วที่ The Jeu de Paume, the Maison d'Art Bernard Anthonioz และ The CAPC musee d'art contemporarain de Bordeaux ประเทศฝรั่งเศสในปี 2015 และ Kyoto City University of Arts Art Gallery @KCUA ประเทศญี่ปุ่น ในปี 2017 "Mongkut" puts one of Thailand’s cherished symbolic forms at the axis of his inquiry. Rungjang’s research recalls Franco-Thai relations during the parallel reigns of King Rama IV (1851–68) and Napoleon III (1852–70), a period marked by the expansion of the European colonial enterprise in much of the geographic region known today as Southeast Asia. On June 27, 1861 the second replica was offered to Napoleon III by the Siamese ambassador at the Château de Fontainebleau. In the video installation and sculpture Mongkut, Rungjang uses the present as a context for reopening a little-known history concerning Siam’s relative sovereignty. The exhibition was held at The Jeu de Paume, the Maison d'Art Bernard Anthonioz and The CAPC Musee d'Art Contemporarain de Bordeaux, France in 2015 and Kyoto City University of Arts Art Gallery @KCUA, Japan, in 2017. Photo on poster by Takeru Koroda, courtesy of Kyoto City University of Arts and Arin Rungjang ....... อริญชย์ รุ่งแจ้ง เกิดปี 2518 ใช้ชีวิตและทำงานที่กรุงเทพมหานคร เป็นที่รู้จักในฐานะศิลปินร่วมสมัยแนวหน้าของประเทศไทย อริญชย์จบการศึกษาศิลปบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยศิลปากรในปี 2545 และยังได้ร่วมทำงานในสตูดิโอของ Christian Boltanski ณ Ecole des Beaux Arts in Paris ในปี 2543 เป็นเวลา1ปี การแสดงนิทรรศการล่าสุดของเขา ได้แก่ “Streamlines” Deichtorhallen Hamburg ประเทศเยอรมนี (2558) , “Signature Art Prize Finalists Exhibition,” Singapore Art Museum, ประเทศสิงคโปร์ (2558), “FIELDS: An Itinerant Inquiry Across the Kingdom of Cambodia ” SA SA BASSAC ประเทศกัมพูชา และ ST PAUL ST Gallery ประเทศนิวซีแลนด์ (2557), “Golden Teardrop,” Thai Pavilion, the 55th Venice Biennale, ประเทศอิตาลี (2556), “All Our Relations,” 18th Biennale of Sydney, ประเทศออสเตรเลีย (2555), “246247596248914102516... And then there were none” documenta 14 ประเทศเยอรมนี (2560) and “And then there were none (Tomorrow we will become Thailand.)” ประเทศกรีซ (2560) Arin Runjang Born 1975 in Bangkok where he lives and works today. Arin Rungjang is one of Thailand’s leading contemporary artists. He graduated with a Bachelor of Fine Arts from Silpakorn University in 2002, including one year in the atelier of Christian Boltanski at the Ecole des Beaux Arts in Paris, in 2000. His recent exhibitions and projects include “Streamlines,” Deichtorhallen Hamburg, Germany (2015), “Signature Art Prize Finalists Exhibition,” Singapore Art Museum, Singapore (2015), “FIELDS: An Itinerant Inquiry Across the Kingdom of Cambodia,” SA SA BASSAC, Phnom Pen, Cambodia, and ST PAUL ST Gallery, Auckland, New Zealand (2014), “Golden Teardrop,” Thai Pavilion, the 55th Venice Biennale, Italy (2013), “All Our Relations,” 18th Biennale of Sydney, Australia (2012), “246247596248914102516... And then there were none,” documenta 14, Kassel Germany (2017) and “And then there were none (Tomorrow we will become Thailand.),” Greece (2017). |
EXHIBITION SERIES
|