art-centre silpakorn university
  • HOME หน้าแรก
  • News & Activities ข่าวสาร
    • Workshops
    • Conversations
    • Shout and Announce
    • Art Camp
    • Screening
    • Media Features >
      • 2015
      • 2013
      • 2012
  • Exhibitions นิทรรศการ
    • Current
    • Past >
      • 2020
      • 2019
      • 2018
      • 2017 >
        • สองคนยลตามช่อง #2 Two men look out through the same bar:
      • 2016
      • 2015
      • 2014
      • 2013
      • 2012
  • EX SPACE
  • Publication สิ่งพิมพ์
    • Art Catalogues
    • Art & Art Centre Journal
  • Learn เรียนรู้
    • Art Centre Channel
    • Timeline: Road to Artist of Distinction​
    • Timeline : The National Exhibition of Art
    • Materials in Art : วัสดุในงานศิลปะ
    • AA : Art Centre Silpakorn University Artist-in-residence
    • Sculpture Park
    • The Open-Air Art Museum at Suan Kaew
    • Collections
    • Conservation and Care >
      • Heritage building >
        • Roof ornamental ช่อฟ้า
  • Visit Us มาเยือนเรา
    • Art Centre (Wang Thapra) >
      • Visit
      • Space
      • Shop >
        • Articles & Documents
    • Sanamchandra Art Gallery >
      • Visit
      • Space

ช่อฟ้า

อาคารท้องพระโรง จัดเป็นหนึ่งในสถานที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ จากการเป็นที่ประทับของเจ้านายองค์ต่างๆ และที่ทำราชการสำคัญหลายอย่าง ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 จึงมีการตกแต่งประดับประดาอาคารให้มีความคล้ายเคียงกับอาคารพระราชวัง  ซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงสถานะของสถานที่แห่งนี้ได้เป็นอย่างดี 

​​​ช่อฟ้านับเป็นหนึ่งในสิ่งตกแต่งอาคาร และเป็นหนึ่งในองค์ประกอบของชุดเครื่องบนชิ้นสำคัญ โดยช่อฟ้า หมายถึง ช่อที่ยื่นขึ้นไปบนท้องฟ้า เป็นเครื่องไม้สำหรับประดับบนยอดสุดของหน้าบันทั้งสองด้าน หรือบริเวณที่ลำยองมาบรรจบกัน มักนำมาประดับไว้บนอาคารหลวง เช่น อาคารพระราชวัง โบสถ์ วิหาร และสิ่งก่อสร้างอื่นๆ บางประเภทในวัดเท่านั้น โดยช่อฟ้ามีหลายรูปแบบ แตกต่างกันไปตามความเชื่อ ที่มา ซึ่งในส่วนของช่อฟ้าบนอาคารท้องพระโรง จัดอยู่ในประเภท ช่อฟ้าแบบปากนก หรือ ปากหงส์ มีลักษณะรูปทรงชะลูดสูง หงอนเพรียว ปากงุ้มเข้า มีใบระกาและหางหงส์ที่ปลายล่างของหลังคา มีความเชื่อว่ามาจากลักษณะปากของหงส์ ที่เป็นพาหนะของพระพรหม 

​เพื่อให้เข้าใจในกระบวนการซ่อม จะต้องรู้จักองค์ประกอบอื่น ๆ ของเครื่องลำยองที่มีความเกี่ยวข้องกับช่อฟ้า ซึ่งประกอบด้วยส่วนต่างๆดังภาพนี้ ​
Picture

Picture
เนื่องจากช่อฟ้าเดิมมีความเสียหาย ส่วนยอดหักไม่สามารถซ่อมคืนสภาพได้ จึงเห็นควรให้ดำเนินการจัดทำช่อฟ้าไม้ใหม่ เพื่อให้องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของอาคารท้องพระโรงกลับคืนสู่สภาพสมบูรณ์ตามแนวทางการอนุรักษ์โบราณสถาน โดยยึดต้นแบบเดิม ซึ่งการทำช่อฟ้าใหม่นี้ มีช่างที่ดูแลในแต่ละส่วนงาน ประกอบด้วยช่างไม้ ช่างปูน และช่างทาสี
​
ลำดับแรกจะเป็นการกระสวน หมายถึง การถอดรายละเอียด และขนาดไม้ หรือที่เรียกว่าการขยายแบบ 1:1 คัดลอกลงกระดาษทั้งรูปทรง ขนาด และลวดลาย ซึ่งเป็นหน้าที่ของช่างไม้ในการวัดขนาดจากช่อฟ้าต้นแบบ

เมื่อได้รายละเอียด และขนาดของช่อฟ้าที่เหมาะสมแล้ว ช่างจึงจัดทำตัวอย่างด้วยวิธีการคัดลอกลงแผ่นไม้ ทั้งด้านหน้าและด้านข้างของช่อฟ้า  แล้วนำมาประกอบ จากนั้นนำไปลองวางยังตำแหน่งที่ตั้งช่อฟ้า เพื่อพิจารณาขนาดและสัดส่วนให้สัมพันธ์กับตำแหน่งที่ตั้ง
Picture

Picture
ไม้ที่ใช้ทำช่อฟ้า คือไม้ตะเคียน เนื่องจากเป็นไม้ตามรูปแบบเดิมที่บูรณะมาก่อนหน้า ทั้งยังมีความแข็งแรง เหนียว ทนทาน และทนปลวกได้ดี โดยในงานไม้เริ่มจาก การฟันไม้ หรือ ฟันช่อฟ้า หมายถึงการนำไม้ท่อนใหญ่มาฟันออกให้เป็นรูปร่างตามที่ต้องการ โดยฟันไม้ในส่วนของโครงช่อฟ้าก่อน แล้วจึงเก็บรายละเอียดองค์ประกอบเพิ่มเติม โดยการเกลา หรือตกแต่งด้วยเครื่องมือให้เหมือนตามต้นแบบ 

ในส่วนของพุงนกกระจาบทั้งสองข้าง จะมีวิธีเข้าไม้การตามลำดับดังภาพ เริ่มจาก 1. การเจาะช่องข้างลำตัวช่อฟ้า 2.ทากาวผสานไม้ 3. ประกบเข้าไม้ทั้งสอง และ4. ปรับแต่งให้เข้ารูปทรง พร้อมทั้งเจาะช่องที่ด้านหลังของช่อฟ้า สำหรับใส่เดือยยึดกับโครงหลังคา หรือที่เรียกว่า คันบวย และช่องที่ด้านล่างสำหรับสวมรวย ชิ้นที่ปลายสุดของเครื่องลำยอง

Picture

Picture
เมื่อนำไปติดตั้ง ช่างจะต้องตรวจสอบระยะกิ่ง แอ่น ชะโงก ให้สอดคล้องกับช่อฟ้าเดิมที่มีอยู่ โดยยึดท้องด้านข้างของช่อฟ้า เข้ากับตัวรวยของชุดเครื่องลำยอง โดยให้ส่วนท้อง หรือพุงนกกระจาบเข้าระยะพอดีกับใบระกาใบสุดท้าย

จากนั้นจึงยึดช่อฟ้ากับสันหลังคาด้วยโครงไม้คันบวย เมื่อใส่ไม้เข้าช่องแล้วกดหรือเข็นลงให้เข้าตำแหน่งพอดี ส่วนปลายอีกด้านของไม้คันบวย จะไปแนบไปสันหลังของอกไก่
Picture

Picture

​จากนั้นช่างปูนจะทำปูนหลบหลังสันหลังคาให้แอ่นรับไปจนถึงบริเวณคอของช่อฟ้า ซึ่งส่วนนี้จะช่วยทำให้ตัวช่อฟ้ายึดติดกับอกไก่อย่างแน่นหนา และเป็นจุดที่มีความมั่นคงแข็งแรงมาก จากนั้นช่างสีจะทำการรองพื้น ด้วยน้ำยาเคลือบเนื้อไม้ และเก็บรายละเอียดโดยการทาสีปูนครอบด้วยสีขาว และทาสีช่อฟ้าด้วยสีแดงน้ำหมาก เป็นอันเสร็จสมบูรณ์

News & Media ข่าวสาร กิจกรรม เสวนา เวิร์คช้อป
Current exhibition นิทรรศการปัจจุบัน
Visit Us at Art Centre Wang Thapra มาเยือนเราที่วังท่าพระ
Visit Us at Sanamchandra Art Gallery มาเยือนเราที่สนามจันทร์
Contact us ติดต่อเรา
All rights reserved, 
Silpakorn University
Picture