[un]forgotten อยากลืมกลับจำ อยากจำกลับลืม
ความทรงจำ ... หลายครั้งเราสามารถที่จะจดจำบางสิ่งที่ต้องการจดจำได้ดี และลืมเลือนความทรงจำที่ไม่ต้องการได้ แต่ในประสบการณ์จริงของใครหลายๆคนกลับเเตกต่างออกไป สิ่งที่ควรจะลืมกลับจดจำ และสิ่งที่อยากคำนึงถึงกลับลืมเลือน นี่คือคำกล่าวที่ชัดเจนที่สุดในนิทรรศการภาพถ่าย “อยากลืมกลับจำ อยากจำกลับลืม [un] forgotten” ของ เล็ก เกียรติศิริขจร เเละ สเตฟานี บอร์คาร์/ นิโคลา เมโทร ที่พูดถึงประเด็นเรื่องความทรงจำ ที่มิได้เป็นเรื่องส่วนตัว หากเเต่เป็นความทรงจำร่วมกับสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเรา
นิทรรศการในครั้งนี้เป็นการโคจรมาพบกันระหว่างศิลปินภาพถ่ายจากคนละซีกโลก คนหนึ่งเป็นคนไทยที่ไปศึกษาต่อยังซีกโลกตะวันตก อีกฝ่ายหนึ่งเป็นคนในเเถบซีกโลกตะวันตกที่พำนักอยู่ในประเทศไทย การทำงานของศิลปินภาพถ่ายทั้งสองนี้ตั้งอยู่บนฐานความคิดเรื่องประสบการณ์ร่วมกับสังคมที่ว่าด้วยความจริงที่ทำให้กลายเป็นความทรงจำ (ที่เจ็บปวด)
ในปี 2554 ประเทศไทยได้ประสบกับภาวะวิบัติทางธรรมชาติ (ที่ผสานปนเปกับภาวะการเมือง) เมื่อเกิดน้ำท่วมใหญ่ในหลายๆจังหวัด เเละโดยเฉพาะกรุงเทพฯที่เป็นเมืองหัวใจของประเทศไทย ความเจริญอย่างไม่เป็นระเบียบในโลกทุนนิยมเสรีทำให้เมืองหลวงของไทยเติบโตเเละขยายออกไปอย่างผิดหูผิดตา ความเจริญที่มากับความไม่พร้อมในหลายๆด้านทำให้เมื่อเกิดภัยพิบัติ ความพินาศจึงมาเยือน
เมื่อครั้งนั้น เล็ก เกียรติศิริขจร ได้บันทึกภาพเเห่งความเจริญที่พินาศไว้ด้วยภาพถ่ายที่เรียบเงียบสงบ ราวกับชีวิตที่เคยมีลมหายใจอย่างรุนเเรงได้หยุดหายใจไปชั่วขณะ เมืองหลวงที่ก่อนเคยวุ่นวายเหลือเพียงเเค่ภาพ 30% ของด้านบนของวัตถุ ส่วนด้านล่างนั้นหลงเหลือเพียงระดับน้ำที่สูงจนเเทบไม่เห็นพื้นดิน ในผลงานนั้นเเม้จะเป็นเพียงเเค่การบันทึกภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น เเต่ในรายละเอียดของภาพกลับเเฝงลึกไปด้วยสาระที่เจ็บเเสบที่เกิดขึ้นกับบ้านเมืองเราทั้งจากสาเหตุของการคอรัปชั่น ผลประโยชน์ทางการเมือง ทนุนิยม รวมทั้งเสียงลมหายใจที่เเผ่วเบาของสิ่งมีชีวิตที่ลอยคออยู่ ณ ที่นั้นๆ ภาพถ่ายที่ดูเหมือนปราศจากชีวิตนั้นกลับมีสิ่งที่เรียกว่าความหวังที่จะกลับมามีชีวิตอย่างเดิม เเละความปรารถนาที่จะให้ความทรงจำที่เลวร้ายต่างๆนี้ผ่านพ้นไป สุดท้ายแล้ว ถึงระดับน้ำจะลดผ่านและแห้งเหือดไป เเต่คราบน้ำที่ยังฝังลึกในจิตใจก็ยังคงยากที่จะลืมเลือน
สำหรับ สเตฟานี บอร์คาร์/ นิโคลา เมโทร ศิลปินคู่ชาวสวิสเซอร์เเลนด์ที่พำนักอยู่ในไทยนั้นมีความสนใจในบ้านพักฟื้นผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม (อัลไซเมอร์) แห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ บ้านพักแห่งนี้ก่อตั้งโดยชายชาวสวิสซึ่งมีบุคคลในครอบครัวที่ต้องเผชิญโรคนี้ ผู้ป่วยที่อาศัยอยู่ในบ้านพักแห่งนี้ล้วนเป็นผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องความทรงจำในระดับต่างๆกัน เขาเหล่านั้นถูกลูกหลานส่งมาจากประเทศบ้านเกิดเพื่อมาพำนักอยู่ที่นี่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดจากผู้ดูแลชาวไทย ที่ดูแลผู้ป่วยราวกับบุคคลในครอบครัว
ภาพความสลดเศร้าของผู้ป่วย สลับกับภาพความเอื้ออาทรของการพยาบาลดูแล ถูกถ่ายทอดผ่านสายตาของศิลปินชาวสวิสเซอร์เเลนด์ ที่ดูเหมือนจะเป็นการบันทึกวิถีชีวิตประจำวันง่ายๆไม่ซับซ้อน หากเเต่เรื่องราวที่ภาพได้จับไว้เพียงชั่วขณะนั้นกลับกลายเป็นอดีตโดยสมบูรณ์เเบบของผู้ป่วย ที่ซึ่งความทรงจำนั้นได้จางหายลงในทุกๆวัน เวลาได้ผ่านไปอย่างเงียบสงบในบ้านพักดังกล่าว ร่องรอยเหี่ยวย่นได้เพิ่มขึ้นทุกวันโดยที่ปราศจากอดีต ปัจจุบัน เเละความทรงจำ ถึงเเม้ในจิตใจลึกๆของเขาเหล่านั้นอยากที่จะจดจำสิ่งต่างๆในอดีตมากมายเพียงใด
นิทรรศการนี้จึงเป็นการฉายภาพปรากฏการณ์หนึ่งของความทรงจำที่เเฝงด้วยนัยคู่ตรงข้ามที่ว่าด้วยการ “อยากลืมกลับจำ” และ ”อยากจำกลับลืม” ภาพที่ถ่ายทอดออกมานั้นเป็นเสมือนการบันทึกเรื่องราวจริงที่เกิดขึ้นในสังคมเมืองที่กำลังเจริญอย่างไม่หยุดหย่อน สภาวะดังกล่าวได้สร้างความทรงจำใหม่พร้อมทั้งสร้างกลไกในการลืมเลือนความทรงจำด้วยเช่นกัน
Memory…
We often memorize what we would like to remember and forget unwanted memory. In real life, actually, of what should not have been reminded was stuck while what should have been memorized was forgotten. This might be the most appropriate description for this photo exhibition “[un] forgotten” by Lek Kiatsirikajorn and Stephanie Borcard / Nicolas Metraux who aimed to present aspects about memory which does not belong to them, but communally associates with our surroundings.
This exhibition is based on the belief in (painful) social experiences, which express some facts. The photographers are from different parts of the world—one is the Thai who studied abroad and the other is a couple of foreigners residing in Thailand.
In 2011 Thailand faced the natural disaster, along with political issues. Flood devastated many provinces including Bangkok, the capital. Civilization without direction brought by capitalism led Bangkok to peculiar growth and expansion. When the flood, punishment by nature, came, tragedy became the conclusion.
Lek Kiatsirikajorn kept all the devastation in form of photographs. The real conditions of an agitating capital became the substance, which could survive for 30%. In other words, the rest proportion was unable to survive due to the flood. Despite the fact that they are just photographs, they truly portray sorrow caused by political corruption and benefits. The breath of the survivor could be heard from the photos. Hope and wish might be the only factors during such torturing period. Flood finally became the painful past; however, stain still last in the memory.
Stephanie Borcard / Nicolas Metraux are the Swiss couple who are residing in Thailand. They have interests in a nursing home for patients with Alzeimer in Chiangmai, found by a Swiss guy whose family member also suffered from this disease. All residents are foreign elderly who face problems of memory loss at different levels. These patients all were led here by the members of their family into the warm hands of local staff, who took very good care of them as if they were relatives.
Grief and mercy were paradoxically portrayed through the eyes of the photographers. These daily acts are recorded, just like a simple diary. What have been recorded; on the contrary, have become a complete past for these patients, whose memories are now fading away. As the time goes by, wrinkles on their faces seem to replace their past, present, and also memory, day by day.
Hence, this exhibition reflects the opposition between “the wish to forget but remember” and “the wish to remember but forget”. These photos are to reflect the facts of what is happening in big cities, which has not only awoken the new memory but also created a method to forget it.
นิทรรศการในครั้งนี้เป็นการโคจรมาพบกันระหว่างศิลปินภาพถ่ายจากคนละซีกโลก คนหนึ่งเป็นคนไทยที่ไปศึกษาต่อยังซีกโลกตะวันตก อีกฝ่ายหนึ่งเป็นคนในเเถบซีกโลกตะวันตกที่พำนักอยู่ในประเทศไทย การทำงานของศิลปินภาพถ่ายทั้งสองนี้ตั้งอยู่บนฐานความคิดเรื่องประสบการณ์ร่วมกับสังคมที่ว่าด้วยความจริงที่ทำให้กลายเป็นความทรงจำ (ที่เจ็บปวด)
ในปี 2554 ประเทศไทยได้ประสบกับภาวะวิบัติทางธรรมชาติ (ที่ผสานปนเปกับภาวะการเมือง) เมื่อเกิดน้ำท่วมใหญ่ในหลายๆจังหวัด เเละโดยเฉพาะกรุงเทพฯที่เป็นเมืองหัวใจของประเทศไทย ความเจริญอย่างไม่เป็นระเบียบในโลกทุนนิยมเสรีทำให้เมืองหลวงของไทยเติบโตเเละขยายออกไปอย่างผิดหูผิดตา ความเจริญที่มากับความไม่พร้อมในหลายๆด้านทำให้เมื่อเกิดภัยพิบัติ ความพินาศจึงมาเยือน
เมื่อครั้งนั้น เล็ก เกียรติศิริขจร ได้บันทึกภาพเเห่งความเจริญที่พินาศไว้ด้วยภาพถ่ายที่เรียบเงียบสงบ ราวกับชีวิตที่เคยมีลมหายใจอย่างรุนเเรงได้หยุดหายใจไปชั่วขณะ เมืองหลวงที่ก่อนเคยวุ่นวายเหลือเพียงเเค่ภาพ 30% ของด้านบนของวัตถุ ส่วนด้านล่างนั้นหลงเหลือเพียงระดับน้ำที่สูงจนเเทบไม่เห็นพื้นดิน ในผลงานนั้นเเม้จะเป็นเพียงเเค่การบันทึกภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น เเต่ในรายละเอียดของภาพกลับเเฝงลึกไปด้วยสาระที่เจ็บเเสบที่เกิดขึ้นกับบ้านเมืองเราทั้งจากสาเหตุของการคอรัปชั่น ผลประโยชน์ทางการเมือง ทนุนิยม รวมทั้งเสียงลมหายใจที่เเผ่วเบาของสิ่งมีชีวิตที่ลอยคออยู่ ณ ที่นั้นๆ ภาพถ่ายที่ดูเหมือนปราศจากชีวิตนั้นกลับมีสิ่งที่เรียกว่าความหวังที่จะกลับมามีชีวิตอย่างเดิม เเละความปรารถนาที่จะให้ความทรงจำที่เลวร้ายต่างๆนี้ผ่านพ้นไป สุดท้ายแล้ว ถึงระดับน้ำจะลดผ่านและแห้งเหือดไป เเต่คราบน้ำที่ยังฝังลึกในจิตใจก็ยังคงยากที่จะลืมเลือน
สำหรับ สเตฟานี บอร์คาร์/ นิโคลา เมโทร ศิลปินคู่ชาวสวิสเซอร์เเลนด์ที่พำนักอยู่ในไทยนั้นมีความสนใจในบ้านพักฟื้นผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม (อัลไซเมอร์) แห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ บ้านพักแห่งนี้ก่อตั้งโดยชายชาวสวิสซึ่งมีบุคคลในครอบครัวที่ต้องเผชิญโรคนี้ ผู้ป่วยที่อาศัยอยู่ในบ้านพักแห่งนี้ล้วนเป็นผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องความทรงจำในระดับต่างๆกัน เขาเหล่านั้นถูกลูกหลานส่งมาจากประเทศบ้านเกิดเพื่อมาพำนักอยู่ที่นี่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดจากผู้ดูแลชาวไทย ที่ดูแลผู้ป่วยราวกับบุคคลในครอบครัว
ภาพความสลดเศร้าของผู้ป่วย สลับกับภาพความเอื้ออาทรของการพยาบาลดูแล ถูกถ่ายทอดผ่านสายตาของศิลปินชาวสวิสเซอร์เเลนด์ ที่ดูเหมือนจะเป็นการบันทึกวิถีชีวิตประจำวันง่ายๆไม่ซับซ้อน หากเเต่เรื่องราวที่ภาพได้จับไว้เพียงชั่วขณะนั้นกลับกลายเป็นอดีตโดยสมบูรณ์เเบบของผู้ป่วย ที่ซึ่งความทรงจำนั้นได้จางหายลงในทุกๆวัน เวลาได้ผ่านไปอย่างเงียบสงบในบ้านพักดังกล่าว ร่องรอยเหี่ยวย่นได้เพิ่มขึ้นทุกวันโดยที่ปราศจากอดีต ปัจจุบัน เเละความทรงจำ ถึงเเม้ในจิตใจลึกๆของเขาเหล่านั้นอยากที่จะจดจำสิ่งต่างๆในอดีตมากมายเพียงใด
นิทรรศการนี้จึงเป็นการฉายภาพปรากฏการณ์หนึ่งของความทรงจำที่เเฝงด้วยนัยคู่ตรงข้ามที่ว่าด้วยการ “อยากลืมกลับจำ” และ ”อยากจำกลับลืม” ภาพที่ถ่ายทอดออกมานั้นเป็นเสมือนการบันทึกเรื่องราวจริงที่เกิดขึ้นในสังคมเมืองที่กำลังเจริญอย่างไม่หยุดหย่อน สภาวะดังกล่าวได้สร้างความทรงจำใหม่พร้อมทั้งสร้างกลไกในการลืมเลือนความทรงจำด้วยเช่นกัน
Memory…
We often memorize what we would like to remember and forget unwanted memory. In real life, actually, of what should not have been reminded was stuck while what should have been memorized was forgotten. This might be the most appropriate description for this photo exhibition “[un] forgotten” by Lek Kiatsirikajorn and Stephanie Borcard / Nicolas Metraux who aimed to present aspects about memory which does not belong to them, but communally associates with our surroundings.
This exhibition is based on the belief in (painful) social experiences, which express some facts. The photographers are from different parts of the world—one is the Thai who studied abroad and the other is a couple of foreigners residing in Thailand.
In 2011 Thailand faced the natural disaster, along with political issues. Flood devastated many provinces including Bangkok, the capital. Civilization without direction brought by capitalism led Bangkok to peculiar growth and expansion. When the flood, punishment by nature, came, tragedy became the conclusion.
Lek Kiatsirikajorn kept all the devastation in form of photographs. The real conditions of an agitating capital became the substance, which could survive for 30%. In other words, the rest proportion was unable to survive due to the flood. Despite the fact that they are just photographs, they truly portray sorrow caused by political corruption and benefits. The breath of the survivor could be heard from the photos. Hope and wish might be the only factors during such torturing period. Flood finally became the painful past; however, stain still last in the memory.
Stephanie Borcard / Nicolas Metraux are the Swiss couple who are residing in Thailand. They have interests in a nursing home for patients with Alzeimer in Chiangmai, found by a Swiss guy whose family member also suffered from this disease. All residents are foreign elderly who face problems of memory loss at different levels. These patients all were led here by the members of their family into the warm hands of local staff, who took very good care of them as if they were relatives.
Grief and mercy were paradoxically portrayed through the eyes of the photographers. These daily acts are recorded, just like a simple diary. What have been recorded; on the contrary, have become a complete past for these patients, whose memories are now fading away. As the time goes by, wrinkles on their faces seem to replace their past, present, and also memory, day by day.
Hence, this exhibition reflects the opposition between “the wish to forget but remember” and “the wish to remember but forget”. These photos are to reflect the facts of what is happening in big cities, which has not only awoken the new memory but also created a method to forget it.
About Artists
เล็ก เกียรติศิริขจร จบการศึกษาในสาขาจิตรกรรม จากคณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร ก่อนที่จะเปลี่ยนความสนใจไปศึกษาทางด้านภาพถ่ายเขาเดินทางไปศึกษาต่อทางด้านภาพถ่ายที่ The Arts Institute at Bournemouth ในประเทศอังกฤษ เล็กกลับมาเมืองไทยในปี พ.ศ. 2551 หลังจากใช้เวลาเกือบ 7 ปี ให้กับการศึกษาและการทำงานเป็นผู้ช่วยช่างภาพให้กับช่างภาพแฟชั่นชั้นนำที่นั่น
ช่วงเวลาสองปีสุดท้ายในประเทศอังกฤษ เล็กมีความสนใจในงานภาพถ่ายของช่างภาพชื่อดังชาวอเมริกันเป็นอย่างมาก วิธีการบันทึกสังคมอเมริกันที่เป็นเอกลักษณ์ในงานของแต่ละคน สร้างแรงบันดาลใจให้เล็กมองกลับมาที่รากฐานของตัวเอง การใช้ชีวิตอยู่ในต่างแดนเป็นเวลานานทำให้ทัศนคติในการมองสิ่งต่างๆในที่ที่เค้าเคยอยู่เปลี่ยนไป และทำให้สามารถทำงานภาพถ่ายด้วยรูปแบบที่เป็นสากลมากขึ้น ในช่วงเวลานี้เล็กเกิดแรงบันดาลใจในการสร้างงานภาพถ่ายที่เกี่ยวข้องกับสังคมไทยซึ่งเป็นรากฐานของตัวเอง ปัจจุบัน เล็กใช้ชีวิตและทำงานอยู่ในกรุงเทพฯ และแสดงงานภาพถ่ายอย่างสม่ำเสมอทั้งในและต่างประเทศ ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2556 เล็กเป็นหนึ่งในช่างภาพ 20 คนจากทั่วโลกที่ถูกคัดเลือกให้ร่วมโครงการภาพถ่ายชื่อ ”The Russian Moment” โครงการนี้ เป็นกิจกรรมหนึ่งที่เกิดขึ้นเนื่องจากการประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่ม G20 ที่เมืองเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก ประเทศรัสเซีย งานภาพถ่ายของเขาชุด ”Restoration from Within” ได้ถูกนำไปแสดงในพิพิธภัณฑ์ The State Russian Museum ร่วมกับงานของช่างภาพที่มีชื่อเสียง นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2555 เล็กได้รับการคัดเลือกให้รับทุนสนับสนุนในการสร้างงานภาพถ่ายจากพิพิธภัณฑ์ Quai Branly Museum ในปารีส ประเทศฝรั่งเศส ภาพถ่าย 13 ภาพจาก 22 ภาพ ที่เล็กสร้างขึ้นจากทุนสนับสนุนได้ถูกรวมเข้ากับคอลเล็คชั่นภาพถ่ายของทางพิพิธภัณฑ์อย่างถาวร ชมผลงานของเขาได้ทาง http://lekkiatsirikajorn.com/ Lek Kiatsirikajorn studied painting at Silpakorn University in Bangkok before switching to photography, which interested him with its potential for outreach. In 2001 he decided to move to England and study photography at The Arts Institute at Bournemouth. He returned to Thailand in 2008 after spending almost seven years studying and working as a fashion photography assistant in the UK. During his last two years in England, Lek became fascinated with great American documentary photographers. The way they managed to project a strong visual documentation of American society through a personal vision inspired him to look back to his own roots. As an expatriate, he came to think he could understand his home country better than when he lived there. He became aware of aspects of it which he has not seen before, and this enables him to portray it in a more universal way through images of daily life. This new period of his life has been inspiring him to produce photography projects which are directly related to his own society. Lek is now based in Bangkok. He has been exhibiting internationally. In September 2013, He was one of the 20 photographers selected for a photography project called ”The Russian Moment”. The project was in the conjuction with the G20 Summit in St. Petersburg. Lek’s work ”Restoration from Within” was exhibited at The State Russian Museum, together with works from different renowned photographers. He was also selected by the Quai Branly Museum in Paris for the 2012 photography grant. 13 of 22 images from the series, ”Lost in Paradise” which he produced with the grant were included to the museum’s permanent photography collection. Visit his homepage to view his previous works and profile.http://lekkiatsirikajorn.com/ |
ศิลปินคู่ชาวสวิสในนิทรรศการ "อยากลืมกลับจำ อยากจำกลับลืม [un]forgotten" สเตฟานี บอร์คาร์และนิโคลา เมโทร เป็นช่างภาพชาวสวิสที่พำนักในประเทศไทย ทั้งสองทำงานส่วนตัว โดยได้รับอิทธิพลจูงใจจากการเดินทางและการแสดงออกทางด้านความคิดในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวรรณคดี งานศิลปะ และภาพยนตร์ พวกเขาสนใจในการสำรวจเรื่องเส้นแบ่งหรือพรมแดนเกี่ยวกับประเด็นทางสังคม งานล่าสุดของพวกเขาเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกและสังคม ซึ่งสิ่งเหล่านั้นทำให้พวกเขาเข้าใจโลกมากขึ้น และยังนำไปสู่การตั้งคำถามว่าพวกเขาคือใคร
ความสงสัยใคร่รู้และความหลงใหลในบุคคลอื่นๆ ชักนำพวกเขาไปยังประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชีย และล่าสุดคือบอสเนียและเฮอร์เซโกวินา หนังสือที่ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ BENTELI ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เป็นโครงการระยะยาวล่าสุดของพวกเขาเกี่ยวกับคาบสมุทรบอลข่าน ซึ่งจะเปิดตัวในปี 2015 เข้าไปดูผลงานของเขาทั้งคู่ได้ทางเวปไซท์ด้านล่างนี้เลยค่ะ http://www.bm-photo.ch/ Stephanie Borcard and Nicolas Metraux are two Swiss photographers based in Bangkok, Thailand. They work on personal projects, influenced by their travels and by different forms of expression such as literature, art and cinema. They are interested in exploring the margins of social issues. Their recent series focus on the relation between individual and society, helping them not only to have a better understanding of the world we are living in, but also to question who they are. Curiosity and passion for others led them to different countries around Asia and most recently to Bosnia-and-Herzegovina. A book published by BENTELI Publishers, Switzerland, will finalize their long-term project in the Balkans and will be released in 2015. Visit their homepage to view their previous works. http://www.bm-photo.ch/ |
ศิลปินภาพถ่ายทั้งคู่จากนิทรรศการ "อยากลืมกลับจำ อยากจำกลับลืม [un]forgotten" : เล็ก เกียรติศิริขจร และ สเตฟานี บอร์คาร์/นิโคลา เมโทร พูดคุยเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ผลงานภาพถ่ายของเขา ในกิจกรรม Behind the Photos : Artist's Talk กิจกรรมศิลปินเสวนา ส่วนหนึ่งของนิทรรศการ ในวันพฤหัสที่ 12 กุมภาพันธ์ 2558 เวลาบ่ายสองโมง ณ ท้องพระโรง หอศิลป์ศิลปากร (วังท่าพระ)
( มีการแปลเป็นภาษาไทย)
Lek Kiatsirikajorn and Stephanie Borcard/Nicolas Metraux, artists from [un]forgotten photography exhibition talked about their creativity in photography work in our activity, Behind the Photos : Artist's Talk, as part of the exhibition. The talk will be on Thursday 12 February 2015 at 2pm, Main Hall of the Art Centre Silpakorn University (Wang Thapra).